การกำกับดูแลกิจการ (ตอนที่ 4)

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

พัฒนาการการกำกับดูแลกิจการในประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้รณรงค์และส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยเสนอหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี จำนวน 15 ข้อ ในปี พ.ศ.2545 ให้แก่บริษัทจดทะเบียนเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติในขั้นเริ่มแรก ต่อมาในปี พ.ศ. 2549 ได้มีการปรับปรุงหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียน โดยแบ่งออกเป็น 5 หมวด ได้แก่ 1) สิทธิของผู้ถือหุ้น 2) การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน 3) บทบาทของ            ผู้มีส่วนได้เสีย 4) การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส และ 5) ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ โดยเทียบเคียงกับหลักการกำกับดูแลกิจการของ…

Continue Readingการกำกับดูแลกิจการ (ตอนที่ 4)

การกำกับดูแลกิจการ (ตอนที่ 3)

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

ใน Blog นี้จะได้อธิบายความหมายและวัตถุประสงค์ของการกำกับดูแลกิจการ ความหมายของการกำกับดูแลกิจการ ความหมายเดิมที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำหนดไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 เป็นดังนี้ “การกำกับดูแลกิจการ หมายถึง ระบบที่จัดให้มีโครงสร้างและกระบวนการของความสัมพันธ์ระหว่างคณะกรรมการ ฝ่ายจัดการ และผู้ถือหุ้น เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน นำไปสู่ความเจริญเติบโตและเพิ่มมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้นระยะยาว โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสีย” แต่สำหรับความหมายของการกำกับดูแลกิจการที่ปรากฎในหลักการกำกับดูแลกิจการสำหรับบริษัทจดทะเบียน ปี พ.ศ. 2560 (Corporate Governance Code for Listed Companies 2017 หรือเรียกโดยย่อว่า CG Code)…

Continue Readingการกำกับดูแลกิจการ (ตอนที่ 3)

การกำกับดูแลกิจการ (ตอนที่ 2)

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

Blog ที่แล้วได้อธิบายทฤษฎีที่ใช้เป็นพื้นฐานหรืออ้างอิงคือ ทฤษฎีตัวแทน โดยกลุ่มคนที่มีบทบาทสำคัญในการบริหารงานคือ คณะกรรมการบริษัท (BODs) โดยใน Blog นี้จะอธิบายบทบาทหน้าที่ของกลุ่มคนดังกล่าว คณะกรรมการมีบทบาทหน้าที่ดังนี้           1. กำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมายของกิจการที่เป็นไปเพื่อสร้างคุณค่าให้กิจการอย่างยั่งยืน           2. ดำเนินการให้บรรลุเป้าหมาย ด้วยการมีคณะกรรมการที่เอื้อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนด ดูแลและพัฒนาผู้บริหาร (ฝ่ายจัดการ) และพนักงานในองค์กรให้มีความสามารถ ส่งเสริมนวัตกรรมและการประกอบธุรกิจอย่างรับผิดชอบ           3. ติดตามและเปิดเผยข้อมูล โดยดูแลให้มีระบบการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม การรักษาความน่าเชื่อถือทางการเงินและการเปิดเผยข้อมูล ตลอดจนการมีส่วนร่วมของผู้ถือหุ้นและการสื่อสารกับผู้ถือหุ้น จะเห็นได้ว่าบทบาทของ BODs…

Continue Readingการกำกับดูแลกิจการ (ตอนที่ 2)