Insights from the CAS International Management Program – Bridging Theory with Global Practice

As I reflect on my time during the CAS International Management program, one of the most valuable lessons I’ve learned is the importance of effectively adapting global strategies to diverse…

Continue ReadingInsights from the CAS International Management Program – Bridging Theory with Global Practice

ความเสี่ยงด้านระบบัญชีการเงิน (3)

แนวทางการจัดการความเสี่ยงด้านระบบบัญชีการเงิน หมายถึง นโยบายและวิธีการต่างๆ ที่จะสนับสนุนกิจกรรมที่จะป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ การแบ่งแยกหน้าที่อย่างเหมาะสม การอนุมัติรายการบัญชีและการปฏิบัติงาน การมีระบบเอกสารหลักฐานที่เหมาะสมและเพียงพอ การควบคุมทรัพย์สินและบันทึกรายการข้อมูลต่างๆ และการตรวจสอบการปฏิบัติงานโดยอิสระ ดังรายละเอียดดังนี้ การแบ่งแยกหน้าที่อย่างเหมาะสม ลักษณะหน้าที่งานบางอย่างควรมีการแบ่งแยกกันทำ เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดหรือการทุจริตที่อาจเกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น การแบ่งแยกหน้าที่การดูแลรักษาทรัพย์สินออกจากหน้าที่งานบัญชี ตามหลักการแบ่งแยกหน้าที่กันทำ พนักงานที่มีหน้าที่ดูแลรักษาทรัพย์สินไม่ควรเป็นผู้จัดทำหรือบันทึกรายการที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้น เช่น พนักงานการเงินที่มีหน้าที่ในการรับเงินไม่ควรเป็นผู้บันทึกรายการรับเงิน รายการขาย หรือการตัดบัญชีลูกหนี้การค้า พนักงานที่มีหน้าที่ดูแลสินค้าคงเหลือ ไม่ควรเป็นผู้บันทึกบัญชีคุมสินค้า เป็นต้น การแบ่งแยกหน้าที่การอนุมัติรายการออกจากหน้าที่การดูแลรักษาทรัพย์สิน เช่น พนักงานดูแลรักษาเงินสดย่อยไม่ควรเป็นผู้ที่มีอำนาจในการลงนามอนุมัติการจ่ายเงินสดย่อย พนักงานดูแลรักษาสินค้าคงเหลือไม่ควรเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติการเบิกจ่ายสินค้าคงเหลือออกจากคลังสินค้า เป็นต้น…

Continue Readingความเสี่ยงด้านระบบัญชีการเงิน (3)

ความเสี่ยงด้านระบบบัญชีการเงิน (2)

ปัจจัยเสี่ยงด้านระบบบัญชีการเงิน สถานการณ์หรือสัญญาณเตือน (Red Flags) ที่อาจเพิ่มความเสี่ยงเกิดการทุจริตและข้อผิดพลาด สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทดังนี้ 1.ปัจจัยความเสี่ยงด้านระบบบัญชีการเงิน มีสาเหตุเกิดจาก คน เช่น ผู้บริหารปฏิบัติตนอยู่เหนือระบบการควบคุมภายใน และเป็นเหตุแห่งความล้มเหลวของระบบการควบคุมภายในโดยใช้อำนาจสั่งการเป็นอย่างอื่น เพื่อปกปิดความผิดพลาดในการบริหาร การให้ความไว้วางใจ หรือให้อำนาจแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งมากเกินไป จนทำให้บุคคลนั้นทำรายการผิดพลาดโดยเจตนาได้พนักงานไม่ยอมใช้สิทธิลาพักผ่อนประจำปี หรือหลีกเลี่ยงการเลื่อนตำแหน่ง เนื่องจากเกรงว่าผู้มาทำหน้าที่แทนจะพบข้อผิดพลาดของตนที่ปิดบังไว้ หรือเนื่องจากสามารถหาผลประโยชน์จากตำแหน่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน สัญญาณเตือนอื่นๆ เช่น พนักงานมีขวัญและกำลังใจที่ตกต่ำ พนักงานขาดความรู้ความชำนาญในหน้าที่งาน พนักงานทำงานล่วงเวลามากเกินไป ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ผู้บริหารรวบอำนาจไว้ เป็นต้น 2.ปัจจัยความเสี่ยงด้านระบบบัญชีการเงิน…

Continue Readingความเสี่ยงด้านระบบบัญชีการเงิน (2)