การกำหนดเป้าหมายหลักของธุรกิจที่เป็นไปเพื่อความยั่งยืน (Promote Sustainable Value Creation)

ตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และแนวคิดการจัดการสมัยใหม่ กิจการควรกำหนดวัตถุประสงค์ หรือ เป้าหมายหลัก (Objectives) ที่เป็นไปเพื่อความยั่งยืน หมายถึง การมีเป้าหมายที่สอดคล้องกับการสร้างคุณค่าให้ทั้งกิจการ ลูกค้า ผู้มีส่วนได้เสีย และสังคมโดยรวม โดยกิจการต้องตั้งเป้าหมายหลักที่เหมาะสม ชัดเจน โดยกำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) สื่อสารให้ทุกคนในองค์กรขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน โดยอาจจัดทำเป็นวิสัยทัศน์ และ ค่านิยมร่วมขององค์กร โดยพิจารณาถึงสภาพแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงปัจจัยต่างๆ รวมทั้งการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้อย่างเหมาะสม คำนึงถึงความต้องการของลูกค้าและผู้มีส่วนได้เสีย ความพร้อมความชำนาญ ความสามารถในการแข่งขันของกิจการ โดยอาจกำหนดตัวอย่างคำถามที่กิจการใช้เพื่อการกำหนดเป้าหมายหลัก ตลอดจน รูปแบบธุรกิจขององค์กร…

Continue Readingการกำหนดเป้าหมายหลักของธุรกิจที่เป็นไปเพื่อความยั่งยืน (Promote Sustainable Value Creation)

กระบวนการตรวจสอบภายใน

การปฎิบัติงานงานตรวจสอบภายในมีขั้นตอนการดำเนินงานแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ประกอบไปด้วย ขั้นตอนที่ 1 การวางแผนและเตรียมการสำหรับการตรวจสอบภายใน  ขั้นตอนที่ 2 การปฎิบัติงานตรวจสอบภายใน และขั้นตอนที่ 3 การรายงานและติดตามผลการตรวจสอบภายใน ขั้นตอนที่ 1 การวางแผนและเตรียมการสำหรับการตรวจสอบภายใน               1.1 การวางแผนการตรวจสอบภายใน             หัวหน้างานตรวจสอบภายใน (Chief Audit Executive: CAE) ทำการวางแผนการตรวจสอบตามความเสี่ยง (Risk based Plan) ทั้งการวางแผนการตรวจสอบประจำปี และการวางแผนการตรวจสอบระยะยาว ซึ่งกระบวนการวางแผนการตรวจสอบภายในมีดังนี้ กำหนดวิธีการคัดเลือกผู้รับการตรวจสอบระบุผู้รับการตรวจสอบจัดอันดับผู้รับการตรวจสอบ เลือกผู้รับการตรวจสอบ                การเตรียมการสำหรับการตรวจสอบ ประกอบด้วยการศึกษาข้อมูลของหน่วยงานที่จะทำการตรวจสอบกำหนดวัตถุประสงค์และขอบเขตของงาน เลือกทีมตรวจสอบ การจัดทำแนวการตรวจสอบ การแจ้งผู้รับการตรวจสอบและบุคคลที่เกี่ยวข้องการกำหนดบุคคลที่ต้องส่งมอบผลรายงานการตรวจสอบ การขออนุมัติการตรวจสอบ ศึกษารายละเอียดขั้นตอนการวางแผนและการเตรียมการสำหรับการตรวจสอบภายใน ได้จากหน่วยที่ 10 ขั้นตอนที่ 2 การปฎิบัติงานตรวจสอบภายใน             การปฎิบัติงานตรวจสอบภายใน ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ การสำรวจเบื้องต้น และการสอบทานการควบคุมภายใน โดยมีขั้นตอนของแต่ละส่วนดังนี้             2.1 การสำรวจเบื้องต้นและการสอบทานการควบคุมภายใน                         2.1.1 การหาข้อมูลและทำความเข้าใจกระบวนการขอบเขตของหน่วยที่รับการตรวจสอบ…

Continue Readingกระบวนการตรวจสอบภายใน

ประเภทของการตรวจสอบภายใน

การตรวจสอบภายในถือได้ว่าเป็นกระบวนการหนึ่งที่สำคัญในการนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมาย ซึ่งมุ่งเน้นการสร้างและรักษาคุณค่าขององค์กรโดยการให้ความเชื่อมั่น คำแนะนำ ความเข้าใจที่เที่ยงธรรมและเป็นไปตามความเสี่ยง ดังนั้นการให้บริการตรวจสอบภายในได้จำแนกประเภทตามลักษณะการให้บริการ ประกอบด้วย 1) การให้บริการความเชื่อมั่น (Assurance Service) และ 2) การให้บริการคำปรึกษา (Consulting Service) ลักษณะการให้บริการการตรวจสอบภายใน             การบริการของการตรวจสอบภายใน มี 2 ลักษณะคือ การบริการให้ความเชื่อมั่น และการบริการให้คำปรึกษา ซึ่งไม่ว่าจะบริการในรูปแบบใดผู้ตรวจสอบภายในต้องยึดหลักการปฎิบัติงานวิชาชีพตรวจสอบภายใน (Core Principle for Professional Practice of Internal Auditing) นั่นก็คือ การปฎิบัติหน้าที่ทำด้วยความซื่อสัตย์ เที่ยงธรรม เป็นอิสระ มีความสามารถที่เหมาะสมกับงาน ระมัดระวังเยี่ยงวิชาชีพ ให้บริการที่สอดคล้องกับเป้าหมายและความเสี่ยงขององค์กร ซึ่งผลงานต้องแสดงให้เห็นถึงคุณภาพ…

Continue Readingประเภทของการตรวจสอบภายใน