ภาวะซีด

ในทางธุรกิจ คำว่าซีด ถูกนำมาใช้ในความหมายของอาการขาดแคลนปัจจัยการผลิตด้านการเงิน หรือที่เรียกกันว่า เป็นวิตามิน M การจัดการแก้ไขภาวะซึดย่อมต้องอาศัยเครื่องมือทางการจัดการการเงินมาใช้ให้เหมาะสมกับสาเหตุอันเป็นที่มาของอาการซีดนั้น ผู้เขียนในฐานะผู้สอนในหลักสูตรบริหารธุรกิจมิได้ประกอบการจึงไม่มีประสบการณ์ในเรื่องภาวะซีดทางธุรกิจ  หากแต่เป็นภาวะซีดทางร่างกายหรือเป็นปัญหาสุขภาพซึ่งในฐานะเจ้าของร่างกายจึงต้องจัดการตัวเอง  บทความนี้จึงจะกล่าวถึงการประยุกต์หลักการจัดการตนเองมาใช้ในการจัดการภาวะซีดของร่างกาย                ปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา หลังจากไปท่องเที่ยวในตอนเหนือของอินเดียมาเมื่อปลายเดือนเมษายนและต้นพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงการระบาดของโควิดสายพันธ์ใหม่ในอินเดียซึ่งผู้เขียนเองก็ไม่รอดได้รับเชื้อโควิดสายพันธุ์ดังกล่าวมาด้วย โควิดสายพันธุ์นี้ติดง่ายและอยู่ในระหว่างเดินทางท่องเที่ยวในต่างประเทศแต่โชคดีที่เพื่อนผู้รับหน้าที่เป็น Tour Leader ของกลุ่มได้จัดเตรียมยาฟ้าทะลายโจร ยาแก้ไข และยาแก้ไอมาพร้อมทั้งนี้การเตรียมยาดังกล่าวได้รับการแนะนำจากแพทย์แผนปัจจุบันมาเป็นอย่างดี ดังนั้นเมื่อกลับมาประเทศไทยผู้เขียนก็ตรวจ ATK เหลือขีดเดียวแล้ว ในตอนที่ไปพบแพทย์จึงไม่คาดคิดว่าผลเลือดที่ตรวจจะมีปัญหา เรียกได้ว่าไม่เตรียมใจมาก่อน การเจาะเลือดในครั้งนี้นอกจากเจาะตามคำสั่งแพทย์ที่รักษาโรคประจำตัวแล้วยังได้เจาะเลือดเพื่อเตรียมการผ่าตัดด้วย  แพทย์ด้านอายุรกรรมที่เป็นเจ้าของไข้ได้กรุณาอ่านผลการเจาะเลือดให้ทราบรวมทั้งแจ้งว่าผู้เขียนมีภาวะซีดและจะให้เจาะเลือดตรวจซ้ำในเดือนมิถุนายน แต่ผู้เขียนแจ้งว่าไม่สะดวกเนื่องจากจะผ่าตัดในเดือนมิถุนายน การผ่าตัดครั้งนี้เป็นการผ่าตัดครั้งแรกในชีวิตซึ่งออกจะมีอาการวิตกจริตอยู่มากแล้วขอเลื่อนการตรวจไปอีกสามเดือน  การได้รับทราบว่าตนเองอยู่ในภาวะซีดทำให้วิตกกังวลมาก…

Continue Readingภาวะซีด

The Direction from Strategic Planning

The Direction from Strategic Planning: การกำหนดทิศทางจากการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์               การกำหนดทิศทางจากการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ของหน่วยงานมีประเด็นสำคัญ ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ และ เป้าประสงค์หลักของหน่วยงาน โดยมีรายละเอียด ดังนี้               1. วิสัยทัศน์ (Vision)               วิสัยทัศน์ เป็นข้อความซึ่งแสดงภาพที่หน่วยงานอยากจะเป็นในช่วง 4-5 ปีข้างหน้าและเกิดจากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกและการวิเคราะห์ศักยภาพของหน่วยงาน  โดยมีข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพสนับสนุนการวิเคราะห์ ซึ่งไม่ใช่ข้อความที่เป็น “คำขวัญ” ของหน่วยงาน หรือข้อความที่แสดงภาพเพ้อฝันที่ไม่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมจริง              …

Continue ReadingThe Direction from Strategic Planning

The Stakeholders for Planning

The Stakeholders for Planning:  ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อการวางแผน               การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders  Analysis)  เพื่อการวางแผนที่เกี่ยวข้องกับองค์การมีส่วนช่วยในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์หลักของหน่วยงานได้ถูกต้อง เนื่องจากหน่วยงานไม่เพียงแต่มีความผูกพันธ์กับหน่วยงานต้นสังกัดและผู้รับบริการเท่านั้น แต่ยังมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ อีกด้วย               ผู้มีส่วนได้เสียต่อองค์การ (Stakeholder   Influence)  ซึ่งมีอิทธิพลต่อการวางแผนและ การดำเนินงานของหน่วยงาน จำแนกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้               (1) ผู้มีส่วนได้เสียภายในองค์การ (Internal Stakeholders)…

Continue ReadingThe Stakeholders for Planning