ผู้ลงทุนรายใหญ่

                เวลาอ่านบทความ หรือได้ฟังข่าวที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในหลักทรัพย์มักจะได้ยินคำว่า “ผู้ลงทุนรายใหญ่” กับ “ผู้ลงทุนรายย่อย” หลายท่านอาจจะสงสัยว่า ผู้ลงทุนรายใหญ่หมายถึงใคร หรือผู้ลงทุนที่มีคุณสมบัติแบบใดถึงเรียกว่าผู้ลงทุนรายใหญ่ ซึ่งผู้ลงทุนรายใหญ่นอกจากจะเป็นผู้ที่มีเงินทุนที่สามารถใช้ลงทุนเป็นจำนวนมากแล้วยังรวมถึงขีดความสามารถในการรับความเสี่ยงจากการลงทุนด้วย                 สำนักงาน ก.ล.ต. ได้ทำการปรับปรุงนิยามของผู้ลงทุนรายใหญ่โดยได้นำคุณสมบัติด้านความรู้หรือประสบการณ์ของผู้ลงทุนเข้ามาพิจารณาเพิ่มเติมร่วมกับฐานะทางการเงิน เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสการลงทุนให้กับผู้ที่มีความรู้และเข้าใจระดับความเสี่ยงของการลงทุนแต่มีฐานะทางการเงินไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะผู้ลงทุนรายใหญ่ที่เป็นบุคคลธรรมดา จะกำหนดคุณสมบัติของผู้ลงทุนรายใหญ่ไว้ดังนี้ คุณสมบัติด้านฐานะการเงินจะพิจารณาจากเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้ มีรายได้ต่อปีไม่น้อยกว่า 4 ล้านบาทมีเงินลงทุนในหลักทรัพย์ไม่น้อยกว่า 8 ล้านบาท และเมื่อนับรวมกับเงินฝากแล้วจะต้องไม่น้อยกว่า 15 ล้านบาทมีทรัพย์สินสุทธิไม่น้อยกว่า 30 ล้านบาท และจะต้องมีคุณสมบัติด้านความรู้หรือประสบการณ์ซึ่งจะพิจารณาจากเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง…

Continue Readingผู้ลงทุนรายใหญ่

การลงทุนทำธุรกิจในช่วงที่เศรษฐกิจถดถอย

                ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ประชากรมีรายได้ลดลง ธุรกิจต่างๆมีรายได้ลดลงประสบกับภาวะขาดทุน ล้มละลาย และปิดกิจการลง มีคนที่ต้องประสบปัญหาว่างงานเพิ่มมากขึ้นจึงอาจต้องมองหาอาชีพใหม่ ซึ่งคงจะต้องหาช่องทางในการลงทุนทำการค้า แต่จะสามารถทำธุรกิจอะไรได้บ้างในช่วงภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ หรือเศรษฐกิจถดถอยที่ประชากรส่วนใหญ่มีอำนาจซื้อลดลง                 ในทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาคจะพบว่ามีสินค้าบางชนิดที่ผู้บริโภคมีความต้องการซื้อสินค้ามากขึ้นเมื่อระดับรายได้ของผู้บริโภคลดลง เราเรียกสินค้านี้ว่า “สินค้าด้อยคุณภาพ (Inferior goods)” สินค้าด้อยคุณภาพเป็นสินค้าที่ใช้ประโยชน์ได้ในลักษณะเดียวกับสินค้าปกติ (Normal goods) แต่ภาพลักษณ์ของสินค้าด้อยคุณภาพในสายตาของผู้บริโภคจะถูกมองว่ามีคุณค่าหรือมูลค่าต่ำกว่าสินค้าปกติ (สินค้าปกติคือสินค้าที่ความต้องการซื้อของผู้บริโภคจะเปลี่ยนแปลงในทิศทางเดียวกับการเปลี่ยนแปลงของรายได้) ดังนั้นโดยทั่วไปแล้วสินค้าด้อยคุณภาพจึงมีราคาต่ำกว่าสินค้าปกติที่อยู่ในกลุ่มสินค้าเดียวกัน เช่น กรณีกลุ่มอาหารสำเร็จรูป อาหารในร้านอาหารขนาดใหญ่เป็นสินค้าปกติ ในขณะที่ข้าวกล่องจากร้านริมถนนเป็นสินค้าด้อยคุณภาพ หรือกรณีกลุ่มบริการรถยนต์สาธารณะ บริการรถแท็กซี่เป็นสินค้าปกติในขณะที่บริการรถประจำทางเป็นสินค้าด้อยคุณภาพเป็นต้น                 สินค้าด้อยคุณภาพ…

Continue Readingการลงทุนทำธุรกิจในช่วงที่เศรษฐกิจถดถอย

พันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ

พันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ (Inflation Linked Bond) คือพันธบัตรรัฐบาลที่ให้อัตราผลตอบแทนที่ยืดหยุ่นเปลี่ยนแปลงตามค่าดัชนีอัตราเงินเฟ้อโดยผู้ถือพันธบัตรจะได้รับอัตราผลตอบแทนใน 3 รูปแบบคือ อัตราดอกเบี้ยที่ระบุไว้หน้าตั๋ว ส่วนชดเชยเงินเฟ้อของดอกเบี้ย และส่วนชดเชยเงินเฟ้อของเงินต้นหรือเงินลงทุน พันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อจะให้ส่วนชดเชยทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยแก่ผู้ถือพันธบัตรเมื่ออัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นเพื่อรักษาระดับอำนาจซื้อของเงินลงทุนและผลตอบแทนของผู้ถือพันธบัตร และเมื่อพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อครบกำหนดไถ่ถอนแล้วถ้าอัตราเงินเฟ้อมีค่าสูงผู้ถือพันธบัตรจะได้มูลค่าไถ่ถอนเท่ากับมูลค่าตามหน้าตั๋วบวกด้วยค่าชดเชยเงินเฟ้อ แต่ผู้ถือพันธบัตรจะได้รับเงินค่าไถ่ถอนคืนพันธบัตรไม่น้อยกว่ามูลค่าหน้าตั๋วแม้กว่าอัตราเงินเฟ้อจะติดลบก็ตาม                 พันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อในประเทศไทยในปี พ.ศ.2565 มีมูลค่าคงค้างเพียง 1.07 แสนล้านบาท คิดเป็น 1.5%ของมูลค่าคงค้างของมูลค่าคงค้างของพันธบัตรรัฐบาลไทย ซึ่งถือว่ามีสัดส่วนน้อยมาก อย่างไรก็ตามภาวะที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอย่างมากและรวดเร็วตั้งแต่ต้นปี พ.ศ.2565 ทำให้พันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อได้รับความนิยมอย่างมาก จึงมีแนวโน้มที่จะมีการออกพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ แหล่งข้อมูลอ้างอิง สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย. (2565). ทางเลือกการลงทุนในยุคเงินเฟ้อสูง...พันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ…

Continue Readingพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ