หุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

                หุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน ถูกนำมาใช้ในการจัดหาเงินทุนโดยธนาคารพาณิชย์ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งในปี 2540 เพื่อรองรับกับภาระการกันสำรองสินทรัพย์จัดชั้นที่เพิ่มขึ้นและเพื่อรองรับกับธุรกรรมการดำเนินงานของสถาบันการเงิน รวมทั้งต้องดำรงเงินกองทุนตามอัตราที่กำหนดของธนาคารแห่งประเทศไทย                 หลังจากผ่านช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ.2540 มาแล้วมีบริษัทหลายแห่งใช้ตราสารหนี้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน (Hybrid Bond) หรือ หุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน (Perpetual Bond) กลับมาใช้ในการจัดหาเงินทุนอีกครั้ง ปี พ.ศ.2559 ยอดคงค้างหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนรวม 4 รุ่น มูลค่ารวม 22,440 ล้านบาท และมีการเพิ่มขึ้นอย่างมากโดยในเดือนกันยายน พ.ศ.2562 มียอดคงค้างของหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนมูลค่ารวม 7.7 หมื่นล้านบาท…

Continue Readingหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน

หุ้นบุริมสิทธิ

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

หุ้นบุริมสิทธิ เป็นตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนกล่าวคือมีลักษณะกล้ำกึ่งระหว่างตราสารหนี้และตราสารทุนทั้งในมุมมองของผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ และในมุมมองของบริษัทผู้ออกหุ้นบุริมสิทธิ ในมุมของผู้ถือหุ้นบุริมสิทธินั้นถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับผลตอบแทนในรูปเงินปันผลในอัตราคงที่จึงคล้ายกับการได้รับดอกเบี้ยจากการลงทุนในหุ้นกู้ อย่างไรก็ตามเงินปันผลหุ้นบุริมสิทธิอาจมีการงดจ่ายปันผลได้เมื่อบริษัทไม่มีกำไรแต่อาจจะสะสมไว้จ่ายในปีถัดไปได้ แต่เนื่องจากการจ่ายเงินปันผลจ่ายจากกำไรสุทธิหลังภาษีของบริษัทจึงถือเสมือนผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิมีส่วนเป็นเจ้าของบริษัท หากบริษัทไม่สามารถจ่ายเงินปันผลได้จริงๆแล้ว ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิก็ไม่สามารถฟ้องร้องให้บริษัทจ่ายเงินปันผลที่ค้างจ่าย ซึ่งต่างจากผู้ถือหุ้นกู้ซึ่งสามารถฟ้องร้องให้บริษัทชำระคืนดอกเบี้ยที่ค้างจ่ายได้ นอกจากนี้เมื่อบริษัทเลิกกิจการและทำการชำระบัญชี ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะมีสิทธิเรียกร้องต่อบริษัทในการชำระคืนมูลค่าเงินลงทุนหลังเจ้าหนี้ทุกประเภท แต่มีสิทธิเรียกร้องก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ อย่างไรก็ตามผู้ถือหุ้นสามัญไม่สามารถที่จะออกเสียงลงมติต่างๆในการควบคุมการดำเนินกิจการในที่ประชุมผู้ถือหุ้นเหมือนอย่างผู้ถือหุ้นสามัญได้ ดังนั้นในมุมของผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะมีความเสี่ยงมากกว่าการลงทุนในตราสารหนี้ แต่มีความเสี่ยงน้อยกว่าการลงทุนในตราสารทุน ดังนั้นผู้ลงทุนจึง ในมุมของบริษัทผู้ออกหุ้นบุริมสิทธิ จะมีภาระต้องจ่ายเงินปันผลในอัตราคงที่คล้ายกับการจ่ายดอกเบี้ยของผู้ออกตราสารหนี้ แม้ว่าจะสามารถงดจ่ายปันผลได้ในปีที่ไม่มีกำไร แต่การงดจ่ายปันผลอาจทำให้บริษัทเสียเครดิตได้ นอกจากนี้การจ่ายผลตอบแทนจ่ายเป็นเงินปันผลจากกำไรสุทธิหลังภาษีซึ่งไม่สามารถใช้เงินปันผลจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับลดภาระภาษีเงินได้นิติบุคคลได้เหมือนอย่างดอกเบี้ยจ่ายของผู้ออกตราสารหนี้ได้ ดังนั้นผู้ออกหุ้นบุริมสิทธิจึงมีความเสี่ยงทางการเงินน้อยกว่าผู้ออกหุ้นกู้ แต่มีต้นทุนทางการเงินสูงกว่า ในสถานการณ์ปกติบุริมสิทธิจะไม่ได้รับความนิยมทั้งจากผู้ลงทุน และบริษัทที่เป็นผู้จัดหาเงินทุน แต่ในสถานการณ์เศรษฐกิจถดถอย บริษัทนิยมจัดหาเงินทุนโดยการออกหุ้นบุริมสิทธิ เนื่องจากราคาหุ้นสามัญจะลดลงอย่างมากทำให้การออกหุ้นสามัญจะมีต้นทุนสูงมาก ในขณะที่การออกหุ้นกู้ทำให้บริษัทมีสัดส่วนของหนี้สินต่อทุนสูงขึ้นจึงมีความเสี่ยงสูงขึ้นทำให้มีต้นทุนทางการเงินสูงขึ้นด้วยเช่นกัน ในขณะที่การออกหุ้นบุริมสิทธิจะถือว่าทุนหุ้นบุริมสิทธิอยู่ในส่วนของเจ้าของ…

Continue Readingหุ้นบุริมสิทธิ