สถาบันและตัวแสดง (Actor) ต่างๆที่สำคัญในการควบคุมระบบราชการ

นักวิชาการคนสำคัญ อองรี ฟาโยล์ (Henri Fayol) ได้อธิบายว่า การควบคุม(Control คือการตรวจสอบดูว่าทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินการไปได้สอดคล้องเป็นไปตามแผน (Plan) คำสั่งและหลักการที่ได้จัดทำไว้หรือไม่ วัตถุประสงค์ของการควบคุมก็เพื่อเป็นการค้นหาจุดอ่อนและข้อบกพร่องเพื่อนำไปแก้ไขและป้องกันมิให้ผลงานที่เกิดขึ้นคลาดเคลื่อนไปจากวัตถุประสงค์ หน้าที่ของการควบคุมนั้นเกี่ยวข้องกับทุก ๆ สิ่งไม่ว่าจะเป็นเรื่องของคนหรือเรื่องของงาน สำหรับบริบทของการบริหารราชการไทย อาจกล่าวได้ว่า แผน (Plan) คำสั่งและหลักการที่ได้จัดทำไว้ของระบบราชการมีที่มาและมีความสอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์ชาติชาติ 20 ปี (2561-2580) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ และแผนปฏิปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน รวมถึงนโยบายของรัฐบาล การดำเนินงานการควบคุมจึงมีขอบข่ายที่กว้าง ทั้งในระบบประเทศ ส่วนราชการระดับกระทรวง กลุ่มจังหวัดจังหวัด…

Continue Readingสถาบันและตัวแสดง (Actor) ต่างๆที่สำคัญในการควบคุมระบบราชการ

 การวางนโยบายและแผนในการบริหารราชการไทย

 การวางนโยบายและแผนในการบริหารราชการไทย[1] ในที่นี้มีขอบข่ายและมีหน่วยในการวิเคราะห์ (Unit of Analysis) ในระดับชาติหรือในระดับประเทศเป็นหลัก ซึ่งมีลักษณะการอธิบายอยู่ในระดับมหภาค อนึ่งลักษณะสำคัญของนโยบายในลักษณะนี้จะอยู่ในรูปของแนวนโยบายหลักของรัฐ (State Policy) ร่วมกับแนวนโยบายของรัฐบาล(Government Policy)ในแต่ละยุคที่ชนะการเลือกตั้ง โดยส่วนแรกมักปรากฏในรัฐธรรมนูญ ส่วนที่สองมาจากนโยบายของพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลเป็นหลัก ทั้งนี้ นโยบายทั้งสองส่วนนี้จะมีลักษณะครอบคลุมและส่งผลต่อการบริหารราชการแผ่นดินทั้งประเทศและมีทิศทางการขับเคลื่อนที่ชัดเจนไปสู่เจตจำนงแห่งรัฐและเจตจำนงทางการเมือง (Political Will)ในแต่ละสมัย   รวมถึงมีอิทธิพลและส่งผลต่อกิจกรรมทางการบริหารของรัฐและระบบราชการ มากกว่า “นโยบายของหน่วยงาน” (Agency Policy) ที่ใช้ในระดับองค์กรของรัฐหรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง (ซึ่งมีลักษณะการศึกษานโยบายในระดับหน่วยงานหรืออยู่ในระดับ “จุลภาค”เท่านั้น) สำหรับแผนในการบริหารราชการไทย สามารถจำแนกการศึกษาในส่วนนี้ออกเป็น 2 ส่วน…

Continue Reading การวางนโยบายและแผนในการบริหารราชการไทย

กฎหมายที่เกี่ยวกับการบริหารราชการที่สำคัญ และใช้เป็นกลไกพื้นฐานในการบริหารราชการไทย

          สำหรับกฎหมายที่เกียวกับการบริหารราชการที่สำคัญ และใช้เป็นกลไกพื้นฐานในการบริหารราชการ ได้แก่ กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน (รังสรรค์ ประเสริฐศรี, 2558) นอกจากนี้ยังมีกฎหมายที่ใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน กฎหมายที่เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ และกฎหมายที่เกี่ยวกับการบริหารอื่นๆ ซึ่งมีสาระที่สำคัญ ดังนี้ 1. กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน           สำหรับกฎหมายที่ใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน ได้แก่ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 (และที่แก้ไขเพิ่มเติมมาจนถึงฉบับปัจจุบัน)[1] ซึ่งได้กำหนดโครงสร้างและระเบียบปฏิบัติราชการที่ใช้เป็นหลักอยู่ขณะนี้ กล่าวคือ ในส่วนของโครงสร้าง ได้จัดแยกระเบียบบริหารราชการออกเป็น…

Continue Readingกฎหมายที่เกี่ยวกับการบริหารราชการที่สำคัญ และใช้เป็นกลไกพื้นฐานในการบริหารราชการไทย