การคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

ถ้าบุคคลธรรมดาที่ได้รับเงินได้พึงประเมินเป็นรายเดือน เดือนๆ ละเท่ากันตลอดปีภาษี ให้คำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามลำดับขั้นตอนดังนี้ ขั้นที่ 1.ให้คำนวณหาจำนวนเงินได้พึงประเมินเสมือนว่าได้จ่ายทั้งปี โดยนำเงินได้พึงประเมินที่จ่ายแต่ละคราวคูณด้วย จำนวนคราวที่ต้องจ่ายเงินได้ต่อปี เช่น กิจการจ่ายค่าจ้างเป็นรายเดือน ให้คูณด้วย 12 จ่ายถ้ากิจการค่าจ้างเป็นรายสัปดาห์ ให้คูณด้วย 52 ถ้ากิจการจ่ายค่าจ้างเป็นรายวันให้คูณด้วย 365 กรณีเข้าทำงานในระหว่างปีซึ่งเป็นปีเริ่มแรกของการทำงาน ให้คูณเงินได้พีงประเมินที่จ่ายแต่ละคราวในปีที่เข้าทำงานด้วยจำนวนคราวที่ต้องจ่ายเงินได้จริงสำหรับปีนั้น เช่น นายหมอชิต เข้าทำงานเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม และกิจการได้จ่ายเงินได้เป็นรายเดือน ดังนั้นก็ให้คูณจำนวนคราวที่จ่ายเงินได้เพียง 3 เดือนเท่านั้น…

Continue Readingการคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

1. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย  ได้แก่ บริษัทจำกัด  บริษัทมหาชนจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด  ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน          2. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งตามกฎหมายต่างประเทศ         บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเนื่องจากมีแหล่งเงินได้ในประเทศไทย  ได้แก่                             2.1 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งตามกฎหมายต่างประเทศและกระทำกิจการในที่อื่นๆ รวมทั้งในประเทศไทย                             2.2 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งตามกฎหมายต่างประเทศมีลูกจ้างหรือผู้แทนหรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการในประเทศไทย                             2.3 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย  แต่ได้รับเงินได้พึงประเมินบางประเภทตามมาตรา  40(2)   (3)   (4)  …

Continue Readingผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

การประกอบกิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

          การประกอบกิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสามารถแบ่งได้ 5 กลุ่ม ดังนี้ 1. การขายสินค้าหรือให้บริการธุรกิจขนาดย่อม           ปัจจุบันกฏหมายได้กำหนดขนาดของธุรกิจขนาดย่อมไว้ว่าจะต้องมีรายรับไม่เกิน 1,800,000 บาทต่อปี ซึ่งจะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม อย่างไรก็ดี หากผู้ประกอบการดังกล่าวมีความประสงค์จะขอเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มก็สามารถกระทำได้โดยแจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากรเพื่อขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.01) ภายใน 30 วันนับแต่วันแจ้ง           2. การขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้รับการยกเว้นและไม่มีสิทธิเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม           การประกอบกิจการดังต่อไปนี้ได้รับการยกเว้นและไม่มีสิทธิเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ 2.1  การให้บริการการศึกษาของสถานศึกษาของทางราชการ สถานศึกษาตามกฏมายว่าด้วย สถานอุดมศึกษาเอกชน หรือโรงเรียนเอกชนตามกฏหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน…

Continue Readingการประกอบกิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม