การปรับตัวของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีต่อการเปลี่ยนแปลง

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

ในทุกๆ สาขาวิชาชีพมักต้องเผชิญกับสิ่งท้าทายตลอดเวลา วิชาชีพบัญชีก็เช่นกัน ต้องเผชิญกับสิ่งใหม่ ๆ ที่นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงของกระบวนการทางธุรกิจ ทำให้นักบัญชีต้องลดบทบาทจากการทำหน้าที่เป็นเพียงผู้ลงบัญชี (Bookkeeper) กลายมาเป็นนักวิเคราะห์มากขึ้น นักบัญชีจะต้องเพิ่มพูนความรู้และการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อผสมผสานเข้ากันได้กับความต้องการของธุรกิจ กระบวนการทำงาน และแม้แต่ความต้องการของลูกค้า ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีจึงต้องสร้างพลังเชิงรุกเพื่อเดินไปข้างหน้าให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ซึ่งสิ่งที่ต้องปรับตัว ได้แก่ 1. การเรียนรู้ทักษะใหม่ (Reskill) ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีควรฝึกอบรมและพัฒนาทักษะใหม่เพื่อให้สามารถทำงานที่แตกต่างไปจากงานเดิมที่ทำอยู่ได้ หรือกล่าวได้ว่าเป็นการเปลี่ยนทักษะโดยเรียนรู้ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับสายงานเดิม เพื่อให้ก้าวทันต่อความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น พนักงานที่ทำหน้าที่บันทึกบัญชี ได้รับการฝึกฝนความรู้ใหม่เกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analytics) รวมทั้งความรู้ใหม่เกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ…

Continue Readingการปรับตัวของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีต่อการเปลี่ยนแปลง

“IMPACT cycle” กระบวนการของวิทยาการวิเคราะห์ข้อมูล

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

  วิทยาการวิเคราะห์ข้อมูล หรือ ดาต้า อนาไลติกส์ (Data Analytics) เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ข้อมูล โดยนำข้อมูลมาประมวลผลด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การจำแนกกลุ่ม การดำเนินการทางสถิติ การวิเคราะห์แนวโน้ม การค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะประจำของข้อมูล ซึ่งอาจจะไม่ปรากฏชัดเจนนัก (สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, 2019) องค์กรธุรกิจจำนวนมากได้นำ Data Analytics มาใช้เนื่องจากประโยชน์หลายประการ เช่น การสร้างตัวแบบการพยากรณ์ทางธุรกิจได้อย่างแม่นยำ การวิเคราะห์ข้อมูลทำให้ทราบถึงความไม่มีประสิทธิภาพในการดำเนินงานของกิจการ การติดตามลูกค้าเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า เป็นต้น ทำให้องค์กรธุรกิจต่างๆ มีความต้องการนักวิเคราะห์ข้อมูล (Data…

Continue Reading“IMPACT cycle” กระบวนการของวิทยาการวิเคราะห์ข้อมูล

Predictive analytics

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

Predictive analytics เป็นการวิเคราะห์เพื่อตอบคำถามที่ว่า What is likely to happen อะไรจะเกิดขึ้นในอนาคต เป็นการพยากรณ์ไปข้างหน้า (Foresight) การวิเคราะห์เพื่อการพยากรณ์มีหลายแบบ เช่น การวิเคราะห์การถดถอย (Regression) โดยนำข้อมูลที่เกิดขึ้นแล้วมาวิเคราะห์ตามแบบจำลองทางสถิติเพื่อพยากรณ์สิ่งที่สนใจ เช่น การประมาณการหรือพยากรณ์ต้นทุนการผลิตในอนาคต เป็นต้น   การใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในการพยากรณ์ เช่น การพยากรณ์ยอดขาย การพยากรณ์ผลประชามติ เป็นต้น การแบ่งประเภท (Classification) เพื่อพยากรณ์จากการจัดข้อมูลที่คล้ายคลึงกันไว้ด้วยกัน เช่น พยากรณ์หนี้สูญจากกลุ่มลูกหนี้ที่ค้างชำระเป็นเวลานานเกิน…

Continue ReadingPredictive analytics