ทางเลือกในการลงทุน

ผู้คนมักคุ้นเคยกับการออมเงินโดยวิธีการฝากเงินไว้กับธนาคารซึ่งถือว่าเป็นวิธีการเก็บออมที่ปลอดภัยที่สุด แม้ว่าจะได้ผลตอบแทนต่ำก็ตาม อย่างไรก็ตามการคุ้มครองเงินฝากตาม พ.ร.บ. สถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. 2551 จะลดการคุ้มครองเงินฝากเหลือ 1 ล้านบาท/คน/สถาบันการเงิน ตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ.2563 เป็นต้นไป ซึ่งทำให้ผู้ที่มีเงินออมจำนวนมากมีความเสี่ยเพิ่มงมากขึ้นสำหรับเงินฝากส่วนที่เกิน 1 ล้านบาท แต่ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นนี้ไม่ได้ให้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเพื่อชดเชยความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นเลย ดังนั้นผู้ออมจึงต้องการช่องการการเก็บออมอื่นที่แม้จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นแต่ควรให้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นในระดับที่ผู้ลงทุนยอมรับได้ ซึ่งอาจมีทางเลือกดังต่อไปนี้ การลงทุนในตราสารหนี้ เป็นการลงทุนที่คล้ายกับการฝากเงินในระยะยาวกับธนาคารพาณิชย์กล่าวคือผู้ลงทุนจะมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของผู้ออกตราสารหนี้ซึ่งจะได้รับดอกเบี้ยและเงินต้นหรือมูลค่าที่กำหนดของตราสารหนี้คืนเมื่อครบกำหนดไถ่ถอน เพียงแต่ตราสารหนี้โดยทั่วไปมักมีอายุครบกำหนดยาวนานกว่าการฝากเงินประจำกับธนาคาร ดังนั้นหากมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องใช้เงินในกรณีฉุกเฉิน ผู้ลงทุนจะไม่สามารถขอไถ่ถอนคืนมูลค่าตราสารหนี้ได้ อย่างไรก็ตามถ้าตราหนี้ที่ลงทุนมีการจดทะเบียนกับตลาดรองอย่างเป็นทางการ ผู้ลงทุนก็จะสามารถขายตราสารหนี้นั้นในตลาดรองได้แต่มูลค่าที่ขายได้จะขึ้นอยู่กับอัตราดอกเบี้ยตลาด และคุณภาพของตราสารหนี้ในขณะนั้น นอกจากนี้ตราสารหนี้ที่ไม่ได้รับความนิยมจากนักลงทุนอาจขาดสภาพคล่องในตลาดรอง…

Continue Readingทางเลือกในการลงทุน

แรงกดดันที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมในองค์กรภาครัฐ

ความไม่แน่นอนของสภาพแวดล้อมเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมในองค์กร (Covin and Slevin, 1989)  แรงกดดันหรือแรงกระตุ้นเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการสร้างนวัตกรรมในองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ในกรณีขององค์กรภาครัฐตามทัศนะของOsborne, (1998)  สามารถแบ่งแรงกระตุ้นที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมได้เป็นสองประเภทคือ หนึ่ง แรงกระตุ้นจากการเมือง(Political Imperative) เป็นแรงกระตุ้นที่เกิดขึ้นเฉพาะในองค์กรภาครัฐซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายทำให้เกิดแรงผลักดันในการสร้างนวัตกรรมในการบริหารและให้บริการจัดการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ใหม่ของนโยบาย และ สอง แรงกระตุ้นจากการถูกจับตาดูผลงาน(Conspicuous production impetus) (Faller, 1981)   แรงกระตุ้นนี้เกิดจากการที่ประชาชนคาดหวังที่จะได้รับการบริการสาธารณะที่มีประสิทธิภาพจากองค์กรภาครัฐดังนั้นองค์กรภาพรัฐจึงจำเป็นต้องใช้นวัตกรรมเป็นตัวแทนความสำเร็จในผลงานสื่อออกไปให้กับผู้รับบริการหรือประชาชนได้รับทราบ ยกตัวอย่างเช่น นโยบาย one-stop-service ทำให้เกิดนวัตกรรมทางการให้บริการคือการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนผู้มาติดต่องานราชการให้สามารถรับบริการจากหน่วยราชการต่างๆได้ภายในที่แห่งเดียวโดยไม่จำเป็นต้องไปติดต่อหลายๆแห่ง การติดต่องานราชการเป็นไปด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพผ่านระบบอินเตอร์เน็ตโดยอาศัยระบบสำนักงานบริการเสมือนจริง ลดค่าใช้จ่ายของทั้งภาครัฐและประชาชน

Continue Readingแรงกดดันที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมในองค์กรภาครัฐ

สิ่งสำคัญที่องค์กรภาครัฐไทยต้องปรับปรุงในการก้าวสู่การเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม

ในการพัฒนาองค์กรภาครัฐไทยสู่การเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมสิ่งสำคัญอันดับแรกที่ต้องปรับปรุงคือ ‘บุคคลากร’ หรือ ทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรภาครัฐ กล่าวคือบุคคลากรในองค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ เป้าหมาย และพันธกิจที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันเพื่อสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมในองค์กร ปัจจุบันบุคลากรในองค์กรภาครัฐประกอบด้วยคนจากหลายรุ่นอาทิเช่น Generation X Y และ Baby Boom ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนในด้านของทัศนคติและความเชื่อ ยกตัวอย่างเช่นคนในรุ่นBaby Boom จะมีความเคร่งในเรื่องของกฎระเบียบมากในขณะที่ประชากรในรุ่น X และ Yไม่สนใจในกฎระเบียนมากนัก การจะปรับเปลี่ยนให้บุคลากรในแต่ละรุ่นมี ทัศนคติที่สอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน มีสัมพันธภาพและความไว้เนื้อเชื่อใจต่อกันคือเรื่องสำคัญ นอกจากนี้ยังต้องพัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ขององค์กร ดึงเอาศักยภาพเฉพาะตัวของแต่ละบุคคลออกมาเพื่อให้บุคลากรเหล่านี้เป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนองค์กรสู่การเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมต่อไป               อันดับต่อมาที่ต้องปรับปรุงคือการปรับเปลี่ยนระบบงาน ในที่นี้หมายถึงโครงสร้างขององค์กรที่กำหนดรูปแบบการทำงานของคนในองค์กร โครงสร้างขององค์กรที่สนับสนุนการเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมต้องมีความยืดหยุ่น…

Continue Readingสิ่งสำคัญที่องค์กรภาครัฐไทยต้องปรับปรุงในการก้าวสู่การเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม