ข้อควรรู้เรื่องภาษีก่อนการลงทุน

สหภาพพม่า (Union of Myanmar) หรือชื่อใหม่ สาธารณรัฐสหภาพพม่า แต่คนไทยเราเรียกสั้นๆ ว่า พม่า เมืองหลวงปัจจุบันชื่อ นครเนปิดอว์ เป็นหนึ่งในสมาชิก ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC  (ASEAN Economic Community) ซึ่งประกอบไปด้วย ทั้งหมด 10 ประเทศได้แก่ ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ กัมพูชา  ลาว  บรูไน อินโดนิเซีย และ พม่า

ในประเทศพม่ามีพื้นที่ทั้งหมด 676,578 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศใหญ่เป็นที่ สองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่ (หรือคาบสมุทรอินโดจีน) และใหญ่เป็นอันดับที่ 40 ของโลก อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ไม้สัก ผลผลิตการเกษตรหลัก ได้แก่ ข้าว  เมล็ดพืช ถั่ว งา อ้อย ไม้เนื้อแข็ง ปลา และ อื่นๆ เหมาะแก่การลงทุนเป็นอย่างมาก

ก่อนที่นักลงทุนจะเข้าไปลงทุนในประเทศพม่านั้นสิ่งที่จะต้องศึกษาก่อนคือ ระบบภาษีอากรของประเทศ ผู้ลงทุนส่วนใหญ่มักมองข้ามสิ่งเหล่านี้ และไปมุ่งเน้นไปด้านการตลาด ด้านการบริหารมากกว่าไม่ได้ให้ความสำคัญกับระบบภาษีซึ่งถือว่าสำคัญมาก เป็นสิ่งที่ผู้ลงทุนไม่ควรมองข้ามและถ้ารู้จักการวางแผนภาษีอากรด้วยแล้วยิ่งทำให้ธุรกิจมีกำไรมหาศาล

ภาษีที่เกี่ยวข้องกับนักลงทุนของต่างชาติ มีรายละเอียดดังนี้

1.) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Personal Income Tax)

2.) ภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate Income Tax) 

3.) ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (Withholding Tax)

4.) ภาษีการค้า (Commercial Tax) 

5.) ภาษีนำเข้า (Import Tax)

6.) ภาษีส่งออก (Export Tax) 

แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ดังนี้

1.สำหรับการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีหัก ณ ที่จ่าย

2.สำหรับการจัดเก็บภาษีการค้า ภาษีนำเข้า และภาษีส่งออก ไม่ว่าจะเป็นคนในประเทศหรือว่าชาวต่างชาติที่เข้าไปลงทุนในประเทศพม่าเสียภาษีในอัตราเท่ากัน

ดังนั้นเมื่อผู้ลงทุนทราบข้อมูลเบื้องต้นแล้วว่าระบบภาษีของประเทศพม่าเป็นอย่างไรจะทำให้เพิ่มความมั่นใจในการลงทุนได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าการดำเนินธุรกิจจะประสบความสำเร็จหรือว่ามีกำไรสุทธิอย่างเดียวไม่ขาดทุนเลย อย่างไรก็ดีการไปลงทุนในประเทศพม่า นั้นเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับนักลงทุนไทยทั้งมือใหม่และมือสมัครเล่น ทุกวันนี้ประเทศพม่ามีการเปิดประเทศ การค้าขายเสรีเพิ่มมากขึ้น คนไทยอาจจะหลั่งไหลเข้าไปทุนในประเทศพม่ามาก ขณะเดียวกันคนพม่าบางกลุ่มอาจจะต้องเข้ามาทำงานที่ประเทศไทย อยากจะฝากให้แง่คิดไว้ว่า

1.ระบบภาษี ประเทศพม่ามีระบบภาษีที่ค่อนข้างซับซ้อน ดังนั้นผู้ลงทุนควรจะหาข้อมูลให้มากก่อนที่จะเข้าไปลงทุน เช่น อาจจะสอบถามคนที่เคยไปประกอบธุรกิจที่ประเทศพม่า หาข้อมูลในอินเตอร์เน็ต ปรึกษาหน่วยงานภาครัฐที่ให้ข้อมูลเรื่องการไปลงทุนต่างประเทศ หรือบางคนอาจจะเรียน ภาษาพม่าเพื่อการสื่อสาร ซึ่งมีหลายมหาวิทยาลัยได้ทำการเปิดสอน

2.โครงสร้างทางเศรษฐกิจและการลงทุน ประเทศพม่าอยู่ในระหว่างการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และการลงทุน ทําให้โครงสร้างภาษีและระเบียบการลงทุนมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา พูดง่ายๆ คือ ยังไม่นิ่ง เพราะฉะนั้นอาจจะเสียเงินไปเปล่าๆ ถ้าเกิดมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างขึ้นมาแล้วเรารับไม่ได้

3.การยืนยันข้อมูล ผู้ที่ไปลงทุนที่ประเทศพม่าควรจะมีการยืนยันข้อมูล เช่น ในบางครั้ง รัฐสภาอาจจะมีการผ่านกฎหมายแล้ว แต่ไม่มีการออกระเบียบรับรอง นักลงทุนจะต้องเข้าไปขอดูเอกสารจากหน่วยงานของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องโดยตรง

การหาเงินทุนในการทำธุรกิจมีหลายแบบ บางคนมีเงินอยู่แล้ว บางคนอาจจะต้องเก็บเงินเพื่อนำมาลงทุน แต่บางคนอาจจะต้องกู้ยืมเงินจากธนาคาร ดังนั้นไม่ว่าจะมีวิธีการหาเงินทุนอย่างไร หรือลงทุนด้วยวิธีการใดก็ตาม ควรจะต้องมีการบริหารความเสี่ยง (Risk Management) เอาไว้ด้วย หากมีปัญหาเกิดขึ้นมาจะได้มีทางออกที่ดีสำหรับผู้ลงทุนหน้าใหม่

*คณะกรรมาธิการส่งเสริมการลงทุนแห่งสหภาพพม่า (Myanmar Investment Commission: MIC)

ข้อมูลอ้างอิง

-สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม            

-สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน