ประเภทภาษีอากร

          การจำแนกประเภทภาษีอากรโดยทั่วไปสามารถจำแนกได้ 4 ประเภท           1) ประเภทหน่วยงานผู้จัดเก็บ การจำแนกประเภทตามหน่วยงานผู้จัดเก็บ เป็นการการพิจารณาความเหมาะสมในการเก็บภาษีอากรแต่ละประเภท ว่ารัฐบาลกลางหรือองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นจะเป็นผู้จัดเก็บ           1 ภาษีอากรที่รัฐบาลกลางเป็นผู้จัดเก็บ           กระทรวงการคลัง ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเงินของแผ่นดิน ดูแลทรัพย์สินของแผ่นดินและการจัดหารายได้โดยภาษีอากร (พรบ.ปรับปรุงกระทรวง, 2545) โดยมีส่วนราชการที่ดูแลการจัดหารายได้คือ กรมสรรพากร กรมศุลกากร และกรมสรรสามิต (กระทรวงการคลัง, 2566) 2. ภาษีอากรที่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นจัดเก็บ           องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นประกอบไปด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด…

Continue Readingประเภทภาษีอากร

หลักการจัดเก็บภาษีอากร

หลักการจัดเก็บภาษีอากร โดยกำหนดผู้มีหน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องภาษีอากรหรือจากหลักเกณฑ์ใด โดยทั่วไปสามารถแบ่งได้ 3 หลักการดังนี้           1) หลักแหล่งเงินได้ (Source Rule) หมายความว่า ผู้มีเงินได้จากแหล่งเงินได้ในรัฐใดก็ต้องเสียภาษีอากรในรัฐนั้นโดยไม่คำนึงว่าเป็นผู้มีสัญชาติใด หรือมีถิ่นที่อยู่ในรัฐใด โดยทั่วไปการพิจารณาแหล่งเงินได้จะพิจารณาจากการประกอบกิจการในรัฐใด หรือจากทรัพย์สินที่อยู่ในรัฐใด หรือจากเงินได้ที่จ่ายโดยนายจ้างในรัฐใดเป็นเกณฑ์ ทั้งนี้เพราะถือว่าผู้มีเงินได้ในรัฐใดย่อมแสดงว่าได้มีการใช้ทรัพยากรในรัฐนั้นให้สิ้นเปลืองไป           ตัวอย่างเช่น หลักแหล่งเงินได้มาจากพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2494 มาตรา 41 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ผู้มีเงินได้พึงประเมินมาตรา 40…

Continue Readingหลักการจัดเก็บภาษีอากร

ลักษณะของภาษีอากรที่ดี

ภาษีอากรที่ดีมี 7 ลักษณะดังนี้           1) หลักความเป็นธรรม (Equity)ภาษีอากรที่ดีต้องมีลักษณะที่มีความเป็นธรรม ทั้งสองฝ่ายคือผู้เสียภาษีและรัฐที่เป็นผู้จัดเก็บภาษี ภาษีอากรมีความเป็นธรรมจะก่อให้เกิดความสมัครใจจากผู้เสียภาษี           2) หลักความแน่นอนและชัดเจน (Certainty and Clarity) ความแน่นอนชัดเจน ในเรื่องของบทบัญญัติตามกฎหมายภาษีอากรและวิธีปฏิบัติจัดเก็บ ทั้งนี้เพราะผู้เสียภาษีต้องมีความมั่นใจระดับหนึ่งว่า ภาษีอากรที่จะต้องเสียเป็นจำนวนเท่าใด จะต้องเสียเมื่อใด และจะต้องเสียด้วยวิธีการใด           3) หลักความเป็นกลาง (Neutrality) หลักความเป็นกลาง หมายถึง ภาษีอากรจะต้องไม่เปลี่ยนแปลงหรือกระทบรูปแบบการแข่งขันด้านการผลิตสินค้าและบริการของผู้ผลิต การบริโภคหรือการออม          …

Continue Readingลักษณะของภาษีอากรที่ดี