ความรู้เชิงปรนัย (Tacit Knowledge)

ความรู้เชิงปรนัย (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในสมองของแต่ละบุคคล เกิดจากพฤติกรรมที่เป็นกิจวัตรประจำวัน การสะสมประสบการณ์ การเรียนรู้ ความเชี่ยวชาญ และพรสวรรค์ต่างๆ ดังนั้นความรู้เชิงปรนัยจึงเป็นความรู้ที่ยากต่อการอธิบาย ยากต่อการประมวล และยากต่อการสื่อสารออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร นอกจากนั้นความรู้เชิงปรนัยยังเป็นความรู้ที่ยากต่อการเข้าถึงและการแบ่งปันความรู้ เนื่องจากเกี่ยวข้องกับความรู้สึกนึกคิดของแต่ละบุคคล อย่างไรก็ตามความรู้ประเภทนี้สามารถพัฒนาและแบ่งปันกันได้ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับบุคคลและองค์การ ตัวอย่างความรู้เชิงปรนัย เช่น ความเชื่อส่วนบุคคล ประสบการณ์ในการทำงาน ทักษะ ความชำนาญ ความเชี่ยวชาญ และข้อมูลเชิงลึกต่างๆ (ทอดด์ อาร์. กรอฟฟ์ และโทมัส พี. โจนส์, 2555, อุไรวรรณ แย้มแสงสังข์, ผู้แปล; พรธิดา วิเชียรปัญญา, 2547; Allameh & others, 2014; Debowski, 2006; Hau & others, 2013; Holste & Fields, 2012; Panahi, Watson, & Partridge, 2012)

เอกสารอ้างอิง
1) ทอดด์ อาร์. กรอฟฟ์, & โทมัส พี. โจนส์. (2555). การจัดการองค์ความรู้เบื้องต้น. แปลจาก Introduction to Knowledge Management: KM in Business. แปลโดย อุไรวรรณ แย้มแสงสังข์. กรุงเทพฯ: ไอกรุ๊ป เพรส.
2) พรธิดา วิเชียรปัญญา. (2547). การจัดการความรู้: พื้นฐานและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ: ธรรกมลการพิมพ์.
3) Allameh, S. M., Pool, J. K., Jaberi, A., & Soveini, F. M. (2014). “Developing a model for examining the effect of tacit and explicit knowledge sharing on organizational performance based on EFQM approach”. Journal of Science & Technology Policy Management, 5(3), 265-280.
4) Debowski, S. (2006). Knowledge Management. n.p.: Seng Lee Press Pte.
5) Hau, Y. S., Kim, B., Lee, H., & Kim, Y.-G. (2013). “The effects of individual motivations and social capital on employees’ tacit and explicit knowledge sharing intentions”. International Journal of Information Management, 33(2), 356-366.
6) Holste, S. J., & Fields, D. (2012). “Trust and tacit knowledge sharing and use”. Journal of Knowledge Management, 14(1), 128-140.
7) Panahi, S., Watson, J., & Partridge, H. (2012). “Social media and tacit knowledge sharing: Developing a conceptual model”. World Academy of Science, Engineering and Technology, 64, 1095-1102.