การวางนโยบายและแผนในการบริหารราชการไทย
การวางนโยบายและแผนในการบริหารราชการไทย[1] ในที่นี้มีขอบข่ายและมีหน่วยในการวิเคราะห์ (Unit of Analysis) ในระดับชาติหรือในระดับประเทศเป็นหลัก ซึ่งมีลักษณะการอธิบายอยู่ในระดับมหภาค อนึ่งลักษณะสำคัญของนโยบายในลักษณะนี้จะอยู่ในรูปของแนวนโยบายหลักของรัฐ (State Policy) ร่วมกับแนวนโยบายของรัฐบาล(Government Policy)ในแต่ละยุคที่ชนะการเลือกตั้ง โดยส่วนแรกมักปรากฏในรัฐธรรมนูญ ส่วนที่สองมาจากนโยบายของพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลเป็นหลัก ทั้งนี้ นโยบายทั้งสองส่วนนี้จะมีลักษณะครอบคลุมและส่งผลต่อการบริหารราชการแผ่นดินทั้งประเทศและมีทิศทางการขับเคลื่อนที่ชัดเจนไปสู่เจตจำนงแห่งรัฐและเจตจำนงทางการเมือง (Political Will)ในแต่ละสมัย รวมถึงมีอิทธิพลและส่งผลต่อกิจกรรมทางการบริหารของรัฐและระบบราชการ มากกว่า “นโยบายของหน่วยงาน” (Agency Policy) ที่ใช้ในระดับองค์กรของรัฐหรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง (ซึ่งมีลักษณะการศึกษานโยบายในระดับหน่วยงานหรืออยู่ในระดับ “จุลภาค”เท่านั้น) สำหรับแผนในการบริหารราชการไทย สามารถจำแนกการศึกษาในส่วนนี้ออกเป็น 2 ส่วน…