การวิเคราะห์งบการเงินสำหรับผู้บริหาร 3

4.การวิเคราะห์งบกระแสเงินสด เนื่องจากงบกำไรขาดทุนและงบแสดงฐานะการเงินไม่เได้แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของเงินสดในรอบระยะเวลาบัญขีใดบัญชีหนึ่ง แต่เงินสดเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงสภาพคล่องของกิจการที่สำคัญที่สุดโดยตามปกติแล้วงบแสดงฐานะการเงินจะแสดงให้เห็นถึงยอดเงินสด ณ วันสิ้งวดเท่านั้นไม่ได้แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงระหว่างงวด ดังนั้น ผู้ใช้งบการเงินอาจจำเป็นต้องใช้งบกระแสเงินสดช่ว่ยในการวิเคราะห์แหล่งที่มาและแหล่งใช้ไปของเงินสดที่เกิดขึ้นระหว่างงวดในรายละเอียด เพื่อช่วยให้ตัดสินใจได้ถูกต้องและแม่นยำยิ่งขึ้น สรุป การวิเคราะห์งบการเงิน หมายถึง การค้นหาข้อเท็จจริง จากงบการเงินโดยการค้นหาข้อเท็จจริงดังกล่าวต้องใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น การวิเคราะห์แนวตั้ง การวิเคราะห์แนวนอน และการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน เป็นต้น ผู้วิเคราะห์งบการเงินแต่ละคนมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันขั้นอยู่กับประเภทของผู้วิเคราะห์งบการเงิน ได้แก่ ผู้ใช้ภายนอก ต้องการวิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงินของกิจการเพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน เช่น           1. ผู้ลงทุน (ซึ่งเป็นเจ้าของกิจการในปัจจุบันและผู้ที่อาจตัดสินใจลงทุนในกิจการนั้นในอนาคต) รวมทั้งที่ปรึกษาของผู้ลงทุน ต้องการทราบถึงความเสี่ยงในรูปสภาพคล่องทางการเงินของกิจการ เพื่อประเมินความสามารถของกิจการในการจ่ายชำระหนี้สินหมุนเวียนได้…

Continue Readingการวิเคราะห์งบการเงินสำหรับผู้บริหาร 3

การวิเคราะห์งบการเงินสำหรับผู้บริหาร 2

3.การวิเคราะห์งบการเงินโดยใช้อัตราส่วนทางการเงิน ความสำคัญของอัตราส่วนทางการเงิน ปัญหาประการหนึ่งของงบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุนและงบกระแสเงินสด คือ จำนวนเงินแต่ละรายการในงบการเงินเป็นจำนวนเท่าใดจึงจะถือว่ามากหรือน้อย เช่น ธุรกิจหึ่งมีสินทรัพย์หมุนเวียน 10 ล้านบาท ผู้วิเคราะห์ไม่สามารถสรุปได้ว่ายอดนี้เป็นอย่างไร หรือไม่สามารถนำยอดเหล่านี้ไปเปรียบเทียบกับธุรกิจอื่นๆ ได้ ดังนั้น จึงควรวิเคราะห์รายการต่างๆ โดยนำไปเปรียยบเทียบกับรายการที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีความหมายมากขึ้น เช่น ควรนำสินทรัพย์หมุนเวียนไปเปรียบเทียบกับหนี้สินหมุนเวียน เนื่องจากสินทรัพย์หมุนเวียนมีไว้เพื่อชำระหนี้สินหมุนเวียน เป็นต้น เครื่องมือที่ช่วยในการวิเคราะห์ในลักษณะนี้ คือ อัตราส่วนทางการเงิน อัตราส่วนทางการเงิน คือ การนำรายการที่มีความสัมพันธ์กันมาเปรียบเทียบเพื่อให้มีความหมายมากขึ้น โดยรายการที่นำมาเปรียบเทียบจะเป็นรายการในงบเดียวกัน หรือต่างงบกันก็ได้ สำหรับการเปรียบเทียบรายการในงบเดียวกัน เช่น…

Continue Readingการวิเคราะห์งบการเงินสำหรับผู้บริหาร 2

การวิเคราะห์งบการเงินสำหรับผู้บริหาร 1

การวิเคราะห์งบการเงินเป็นเครื่องมือในการบริหารธุรกิจ ซึ่งเครื่องมือในการวิเคราะห์งบการเงิน ประกอบด้วย การวิเคราะห์แนวตั้ง/การวิเคราะห์โครงสร้างงบการเงิน การวิเคราะห์แนวนอน การวิเคราะห์การเจริญเติมโต หรือแนวโน้ม การวิเคราะห์โดยใช้อัตราส่วนทางการเงิน และการวิเคราะห์งบกระแสเงินสด ดังนั้นผู้บริหารจึงควรใช้ประโยชน์จากเครื่องมือเหล่านี้ โดยจะต้องเข้าใจและวิเคราะห์ในด้านต่างๆ ดังนี้ 1.การวิเคราะห์แนวตั้ง/การวิเคราะห์โครงสร้างงบการเงิน ความสำคัญของการวิเคราะห์งบการเงินแนวตั้ง การวิเคราะห์โครงสร้างงบการเงิน การเปรียบเทียบระหว่างกิจการจะมีปัญหาในเรื่องขนาดของกิจการที่แตกต่างกัน หรือการใช้เงินสกุลตราต่างประเทศ เครื่องมือที่จะช่วยจัดปัญหาเหล่านี้ คือ การทำตัวเลขในงบการเงินให้เป็นร้อยละของรายการที่เกี่ยวข้อง เช่น ยอดสินทรัพย์ แต่ละราการคิดเป็นร้อยละเท่าใดของยอดสินทรัพย์รวม หรือยอดหนี้สิน และส่วนของผู้ถือหุ้นแต่ละรายการคิดเป็นร้อยละเท่าใดของยอดหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น เป็นต้น ซึ่งเทคนิคที่จะนำมาใช้เรียกว่า การวิเคราะห์งบการเงินแนวตั้ง/การวิเคราะห์โครงสร้างงบการเงิน ความหมายของการวิเคราะห์งบการเงินแนวตั้ง การวิเคราะห์โครงสร้างงบการเงิน…

Continue Readingการวิเคราะห์งบการเงินสำหรับผู้บริหาร 1