การจัดการการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ ตอนที่ 2

รองศาสตราจารย์ ดร.กัลยานี ภาคอัต จากตอนที่ 1 ได้นำเสนอลักษณะของสหกรณ์ออมทรัพย์ที่เงินขาด (Deficit)  สำหรับตอนนี้จะนำเสนอลักษณะ สหกรณ์ออมทรัพย์ที่เงินเหลือ (Surplus) ดังนี้ สหกรณ์ออมทรัพย์ที่เงินเหลือ       สหกรณ์ออมทรัพย์ที่เงินเหลือ (Surplus) หมายถึง สหกรณ์ออมทรัพย์ที่มีแหล่งเงินทุนที่ประกอบด้วย เงินฝากจากสมาชิก และทุนเรือนหุ้น มากกว่าความต้องการกู้ยืมของสมาชิก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสหกรณ์ออมทรัพย์ที่เงินเหลือมีการพัฒนาหรือการสร้างความมั่นคงทางการเงิน โดยเฉพาะการลดการใช้เงินกู้ยืมจากแหล่งเงินทุนภายนอก และการบริหารจัดการการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ที่เงินเหลือมีแหล่งเงินทุนภายในที่เพียงพอที่จะให้สมาชิกและสหกรณ์อื่นกู้ยืมได้ ซึ่งลักษณะของสหกรณ์ออมทรัพย์ที่เงินเหลือจะมีสถานะทางการเงินที่มีความมั่นคง และมีความน่าเชื่อถืออย่างมาก       สหกรณ์ออมทรัพย์ที่เงินเหลือยังแสดงให้เห็นถึงการมีระบบการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพโดยเฉพาะการบริหารสินเชื่อหรือระบบการให้กู้ยืมเงินแก่สมาชิก ที่ไม่เพียงการให้กู้ยืมแก่สมาชิกแต่ยังให้กู้ยืมแก่สหกรณ์อื่นด้วย      นอกจากนี้ สหกรณ์ออมทรัพย์ที่เงินเหลือยังมีระบบการตรวจสอบที่มีคุณภาพ…

Continue Readingการจัดการการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ ตอนที่ 2

การจัดการการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ ตอนที่ 1

รองศาสตราจารย์ ดร.กัลยานี ภาคอัต สหกรณ์ออมทรัพย์ หรือ สอ. เป็นสหกรณ์รูปแบบหนึ่งในหลายๆ รูปแบบที่มีเป้าหมายคือ สหกรณ์ออมทรัพย์เป็นการช่วยเหลือสมาชิกโดยเฉพาะทางการเงิน ซึ่งรูปแบบการดำเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ไม่ต่างจากสถาบันการเงิน  ดังนั้น การจัดการการเงินจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อสหกรณ์ การนำเสนอเนื้อหาสาระนี้จะอธิบายถึงลักษณะทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ 2 ลักษณะคือ สหกรณ์ออมทรัพย์ที่เงินขาด (Deficit) และสหกรณ์ออมทรัพย์ที่เงินเหลือ (Surplus) สหกรณ์ออมทรัพย์ที่เงินขาด (Deficit)       สหกรณ์ออมทรัพย์ที่เงินขาด (Deficit) หมายถึง สหกรณ์ออมทรัพย์ที่มีแหล่งเงินทุนที่ประกอบด้วย เงินฝากจากสมาชิก และทุนเรือนหุ้น ไม่เพียงพอกับปริมาณเงินที่สมาชิกต้องการกู้ยืม  ทำให้การบริหารจัดการการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ที่เงินขาดจะต้องจัดหาเงินทุนจากแหล่งเงินทุนภายนอกทั้งระยะสั้น…

Continue Readingการจัดการการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ ตอนที่ 1

กลยุทธ์เอาตัวรอดจากการลงทุนผิดพลาด

รองศาสตราจารย์ ดร.กัลยานี ภาคอัต การลงทุนใดๆ ก็ตามไม่อาจหลีกเลี่ยงจากความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการลงทุน  โดยเฉพาะความเสี่ยงจากการลงทุนในสินทรัพย์ทุกประเภท  ซึ่งเกิดขึ้นจากความผิดพลาดหรือการตัดสินใจลงทุนผิดทิศทางกับการเคลื่อนไหวของตลาด  และมักได้ยินคำพูดเหล่านี้บ่อยๆ เช่น อยู่เดียวดายบนดอย  ซื้อยอดดอย  และขายหมูซื้อควาย เป็นต้น  สำหรับบทความนี้จะนำเสนอกลยุทธ์การเอาตัวรอดจากการลงทุนผิดพลาด กลยุทธ์การเอาตัวรอดจากการลงทุนผิดพลาดมีหลากหลายกลยุทธ์ด้วยกัน  โดยจะนำเสนอกลยุทธ์ที่นิยมใช้กันในหมู่ผู้ลงทุนเป็นกลยุทธ์ที่จะต้องมีระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด  ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ลงทุนที่มักประสบผลขาดทุนในจำนวนมากๆ มาจากคำพูดที่มักเจอเสมอว่า รออีกนิดหนึ่ง และขอรอลุ้นอีกนิดหนึ่ง  จึงนำมาสู่ผลขาดทุนจำนวนมากอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้  สำหรับกลยุทธ์ที่นำเสนอคือ กลยุทธ์การตัดขาดทุน (Cut Loss) กลยุทธ์การตัดขาดทุน (Cut Loss) เป็นการช่วยจำกัดขาดทุนในระดับที่ผู้ลงทุนกำหนดไว้ตั้งแต่เริ่มเข้าซื้อหุ้นตัวนั้น ซึ่งการจำกัดขาดทุนทำให้มีเงินคงเหลือที่จะกลับมาซื้อหุ้นใหม่ในราคาที่ต่ำแล้วรอการกลับตัวของหุ้น…

Continue Readingกลยุทธ์เอาตัวรอดจากการลงทุนผิดพลาด