การเช่าสินทรัพย์กับการจัดหาเงินทุนนอกงบการเงิน

การเช่าสินทรัพย์ (Leasing) โดยเฉพาะการเช่าดำเนินงาน (Operating Lease) เป็นการเช่าที่ไม่ได้รายงานรายการสินทรัพย์ที่เช่าเป็นรายการสินทรัพย์ของกิจการที่ใช้ในการดำเนินงานของกิจการ รวมถึงไม่ต้องรายงานภาระผูกพันที่จะต้องชำระค่าเช่าสินทรัพย์ที่ยังคงเหลือจนสิ้นสุดสัญญาเช่าเป็นรายการหนี้สินในงบแสดงฐานะการเงินของกิจการผู้เช่าสินทรัพย์ในระบบมาตรฐานบัญชีเดิม ทำให้การเช่าดำเนินงานเป็นการจัดหาเงินทุนนอกงบการเงิน (Off-balance sheet Financing) ที่บริษัทจำนวนมากนิยมใช้ คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานรายงานทางการเงินของสหรัฐอเมริกา (Financial Accounting Standards Board: FASB) และ คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ (International Accounting Standards Board: IASB) ได้มีเป้าหมายที่จะให้บริษัทต่าง ๆ ไม่สามารถใช้สัญญาเช่าสินทรัพย์เป็นเครื่องมือในการจัดหาเงินทุนนอกงบแสดงฐานะการเงินอีกต่อไป โดย FASB…

Continue Readingการเช่าสินทรัพย์กับการจัดหาเงินทุนนอกงบการเงิน

การกำหนดเป้าหมายหลักของธุรกิจที่เป็นไปเพื่อความยั่งยืน (Promote Sustainable Value Creation)

ตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และแนวคิดการจัดการสมัยใหม่ กิจการควรกำหนดวัตถุประสงค์ หรือ เป้าหมายหลัก (Objectives) ที่เป็นไปเพื่อความยั่งยืน หมายถึง การมีเป้าหมายที่สอดคล้องกับการสร้างคุณค่าให้ทั้งกิจการ ลูกค้า ผู้มีส่วนได้เสีย และสังคมโดยรวม โดยกิจการต้องตั้งเป้าหมายหลักที่เหมาะสม ชัดเจน โดยกำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) สื่อสารให้ทุกคนในองค์กรขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน โดยอาจจัดทำเป็นวิสัยทัศน์ และ ค่านิยมร่วมขององค์กร โดยพิจารณาถึงสภาพแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงปัจจัยต่างๆ รวมทั้งการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้อย่างเหมาะสม คำนึงถึงความต้องการของลูกค้าและผู้มีส่วนได้เสีย ความพร้อมความชำนาญ ความสามารถในการแข่งขันของกิจการ โดยอาจกำหนดตัวอย่างคำถามที่กิจการใช้เพื่อการกำหนดเป้าหมายหลัก ตลอดจน รูปแบบธุรกิจขององค์กร…

Continue Readingการกำหนดเป้าหมายหลักของธุรกิจที่เป็นไปเพื่อความยั่งยืน (Promote Sustainable Value Creation)

เศรษฐกิจฟองสบู่

เศรษฐกิจฟองสบู่ (Bubble Economy) เกิดขึ้นในทุกภูมิภาคของโลก และเมื่อเกิดปัญหาฟองสบู่แตก จะเกิดปัญหาเศรษฐกิจหดตัวอย่างรุนแรงจนอาจถึงขั้นเกิดวิกฤติเศรษฐกิจดังวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง พ.ศ.2540 ของประเทศไทย และวิกฤติเศรษฐกิจซับไพร์ม หรืออาจเรียกว่าวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ในปี พ.ศ.2551 ในประเทศสหรัฐอเมริกา เศรษฐกิจกิจฟองสบู่ คือภาวะที่ราคาสินทรัพย์ต่างๆเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจึงทำให้เสมือนเศรษฐกิจของประเทศมีการเติบโต ซึ่งสินทรัพย์ที่มีราคาเพิ่มขึ้นส่วนมากเป็นสินทรัพย์ลงทุนที่มีผู้เข้ามาเก็งกำไร โดยคาดว่าเศรษฐกิจเติบโตขึ้นทำให้มีอุปสงค์ต่อสินทรัพย์นั้นเพิ่มขึ้นในอนาคตทำให้ราคาสินทรัพย์มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นในอนาคต ทำให้มีทั้งผู้ลงทุนและนักเก็งกำไรเข้ามาซื้อสินทรัพย์ลงทุนจำนวนมากจึงทำให้อุปสงค์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้สินทรัพย์ลงทุนมีราคาปรับเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสินทรัพย์ลงทุนที่มีนักเก็งกำไรเข้ามาเก็งกำไรอย่างมากมักจะเป็นสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น อนุพันธ์ และสินทรัพย์จริง เช่น อสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัย เป็นต้น โดยเฉพาะการเก็งกำไรที่ใช้การก่อหนี้เพื่อเก็งกำไรจะเป็นอัตรายต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจอย่างมาก เมื่อนักเก็งกำไรเห็นว่าสินทรัพย์ลงทุนมีราคาสูงมากแล้วจะเทขายเพื่อทำกำไร โดยเฉพาะเมื่อนักเก็งกำไรรายใหญ่ซึ่งถือครองสินทรัพย์จำนวนมากได้เทขายสินทรัพย์ทำกำไรเพราะเกรงว่าราคาจะลดลงในอนาคตเนื่องจากราคาได้ขึ้นมามากแล้ว การเทขายสินทรัพย์จำนวนมากนี้เป็นการเพิ่มอุปทานในตลาดทำให้ราคาตลาดของสินทรัพย์ลงทุนลดลงอย่างรวดเร็ว…

Continue Readingเศรษฐกิจฟองสบู่