เศรษฐกิจฟองสบู่

เศรษฐกิจฟองสบู่ (Bubble Economy) เกิดขึ้นในทุกภูมิภาคของโลก และเมื่อเกิดปัญหาฟองสบู่แตก จะเกิดปัญหาเศรษฐกิจหดตัวอย่างรุนแรงจนอาจถึงขั้นเกิดวิกฤติเศรษฐกิจดังวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง พ.ศ.2540 ของประเทศไทย และวิกฤติเศรษฐกิจซับไพร์ม หรืออาจเรียกว่าวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ในปี พ.ศ.2551 ในประเทศสหรัฐอเมริกา เศรษฐกิจกิจฟองสบู่ คือภาวะที่ราคาสินทรัพย์ต่างๆเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจึงทำให้เสมือนเศรษฐกิจของประเทศมีการเติบโต ซึ่งสินทรัพย์ที่มีราคาเพิ่มขึ้นส่วนมากเป็นสินทรัพย์ลงทุนที่มีผู้เข้ามาเก็งกำไร โดยคาดว่าเศรษฐกิจเติบโตขึ้นทำให้มีอุปสงค์ต่อสินทรัพย์นั้นเพิ่มขึ้นในอนาคตทำให้ราคาสินทรัพย์มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นในอนาคต ทำให้มีทั้งผู้ลงทุนและนักเก็งกำไรเข้ามาซื้อสินทรัพย์ลงทุนจำนวนมากจึงทำให้อุปสงค์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้สินทรัพย์ลงทุนมีราคาปรับเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสินทรัพย์ลงทุนที่มีนักเก็งกำไรเข้ามาเก็งกำไรอย่างมากมักจะเป็นสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น อนุพันธ์ และสินทรัพย์จริง เช่น อสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัย เป็นต้น โดยเฉพาะการเก็งกำไรที่ใช้การก่อหนี้เพื่อเก็งกำไรจะเป็นอัตรายต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจอย่างมาก เมื่อนักเก็งกำไรเห็นว่าสินทรัพย์ลงทุนมีราคาสูงมากแล้วจะเทขายเพื่อทำกำไร โดยเฉพาะเมื่อนักเก็งกำไรรายใหญ่ซึ่งถือครองสินทรัพย์จำนวนมากได้เทขายสินทรัพย์ทำกำไรเพราะเกรงว่าราคาจะลดลงในอนาคตเนื่องจากราคาได้ขึ้นมามากแล้ว การเทขายสินทรัพย์จำนวนมากนี้เป็นการเพิ่มอุปทานในตลาดทำให้ราคาตลาดของสินทรัพย์ลงทุนลดลงอย่างรวดเร็ว…

Continue Readingเศรษฐกิจฟองสบู่

เบสิสพ้อยท์ ศัพท์ทางการเงินที่ควรรู้

                หากได้ฟังข่าวสารทางการเงิน หรือข่าวสารทางเศรษฐกิจมักจะได้ยินคำว่า “เบสิสพ้อยท์ (Basis Points: bps) อยู่เสมอ ตัวอย่างเช่น ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 25 bps จาก 2% เป็น 2.25%เพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้น เป็นต้น                 Basis Points (bps) คือศัพท์ทางการเงินที่ใช้เรียกหน่วยย่อยของหน่วยร้อยละ หรือหน่วยย่อยของเปอร์เซ็นต์ (%) นั่นเอง โดยที่ 1% = 100 bps…

Continue Readingเบสิสพ้อยท์ ศัพท์ทางการเงินที่ควรรู้

สาระสำคัญของหลักธรรมาภิบาลการลงทุนสำหรับผู้ลงทุนสถาบัน

สาระสำคัญของหลักธรรมาภิบาลการลงทุน สำหรับผู้ลงทุนสถาบัน พัฒนามาจากแนวคิดของหลักธรรมาภิบาลการลงทุน จนก่อให้เกิดหลักปฏิบัติรวมทั้งสิ้น 7 ประการ ได้แก่ 1. การกำหนดนโยบายธรรมาภิบาลการลงทุนที่ชัดเจน 2. มีการจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์อย่างเพียงพอเพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดของลูกค้า 3. การตัดสินใจและติดตามบริษัทที่ลงทุนอย่างใกล้ชิดและทันเหตุการณ์ 4. การเพิ่มระดับในการติดตามบริษัทที่ลงทุนเมื่อเห็นว่าการติดตามในหลักปฏิบัติที่ 3 ไม่เพียงพอ 5. การเปิดเผยนโยบายการใช้สิทธิออกเสียง และ ผลการใช้สิทธิออกเสียง 6. ร่วมมือกับผู้ลงทุนอื่นตามความเหมาะสม 7. เปิดเผยนโยบายธรรมาภิบาลการลงทุน และปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าวต่อลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ การปฏิบัติตามธรรมาภิบาลการลงทุนสำหรับผู้ลงทุนสถาบันดังกล่าวนั้น เป็นไปด้วยโดยความสมัครใจ (Voluntary) เป็นการแสดงความผูกพันที่จะปฏิบัติตาม…

Continue Readingสาระสำคัญของหลักธรรมาภิบาลการลงทุนสำหรับผู้ลงทุนสถาบัน