การลงทุนในทองคำ

ทองคำ (Gold) เป็นวัตถุมีค่าที่ยอมรับในระดับสากลโดยธนาคารกลางของประเทศต่างๆทั่วโลกมีการถือทองคำไว้เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศ ซึ่งแสดงว่ามีความเชื่อมั่นในเสถียรภาพของมูลค่าของทองคำ หรือเชื่อว่าราคาของทองคำมีความผันผวนน้อยนั่นเอง อย่างไรก็ตามจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั้งวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งในปี พ.ศ.2540 วิกฤตเศรษฐกิจแฮมเบอร์เกอร์ในปี พ.ศ.2551 และวิกฤตโรคระบาดไวรัสโควิด 19 ในปี พ.ศ.2562 จะเห็นว่าราคาทองคำมีความผันผวนอย่างมาก เนื่องจากนักลงทุนทั่วโลกกลัวว่าผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นต่างๆทั่วโลกจะตกต่ำลง จึงถอนเงินลงทุนออกจากตลาดหุ้นมาลงทุนในทองคำแทนทำให้ราคาทองคำเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเริ่มต้นของการเกิดวิกฤตการณ์ในแต่ละครั้งซึ่งจะสวนทางกับดัชนีราคาหุ้นที่จะตกลงอย่างรวดเร็ว และในทางกลับกันเมื่อนักลงทุนเริ่มมีความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นตัวได้อย่างมั่นคงก็จะมีการถอนเงินลงทุนในทองคำกลับไปลงทุนในตลาดหุ้นราคาทองคำจะลดลงอย่างรวดเร็วและสวนทางกับดัชนีราคาหุ้นที่กลับมาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากทองคำเป็นสินทรัพย์มีตัวตนที่มีความสวยงามสามารถทำเป็นเครื่องประดับต่างๆได้หลากหลาย อีกทั้งทองคำยังมีสภาพคล่องสูงกว่าสินทรัพย์ลงทุนที่เป็นสินทรัพย์มีตัวตนประเภทอื่น เช่น อสังหาริมทรัพย์ และ อัญมณีต่างๆ เป็นต้น ทำให้มีผู้ต้องการออมเงินจำนวนมากหันมาออมเงินโดยการซื้อทองคำเก็บไว้ หรือการลงทุนในทองคำนั่นเอง การลงทุนในทองคำสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การซื้อทองคำโดยตรง การซื้อกองทุนรวมทองคำ…

Continue Readingการลงทุนในทองคำ

ทางเลือกในการลงทุน

ผู้คนมักคุ้นเคยกับการออมเงินโดยวิธีการฝากเงินไว้กับธนาคารซึ่งถือว่าเป็นวิธีการเก็บออมที่ปลอดภัยที่สุด แม้ว่าจะได้ผลตอบแทนต่ำก็ตาม อย่างไรก็ตามการคุ้มครองเงินฝากตาม พ.ร.บ. สถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. 2551 จะลดการคุ้มครองเงินฝากเหลือ 1 ล้านบาท/คน/สถาบันการเงิน ตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ.2563 เป็นต้นไป ซึ่งทำให้ผู้ที่มีเงินออมจำนวนมากมีความเสี่ยเพิ่มงมากขึ้นสำหรับเงินฝากส่วนที่เกิน 1 ล้านบาท แต่ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นนี้ไม่ได้ให้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเพื่อชดเชยความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นเลย ดังนั้นผู้ออมจึงต้องการช่องการการเก็บออมอื่นที่แม้จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นแต่ควรให้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นในระดับที่ผู้ลงทุนยอมรับได้ ซึ่งอาจมีทางเลือกดังต่อไปนี้ การลงทุนในตราสารหนี้ เป็นการลงทุนที่คล้ายกับการฝากเงินในระยะยาวกับธนาคารพาณิชย์กล่าวคือผู้ลงทุนจะมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของผู้ออกตราสารหนี้ซึ่งจะได้รับดอกเบี้ยและเงินต้นหรือมูลค่าที่กำหนดของตราสารหนี้คืนเมื่อครบกำหนดไถ่ถอน เพียงแต่ตราสารหนี้โดยทั่วไปมักมีอายุครบกำหนดยาวนานกว่าการฝากเงินประจำกับธนาคาร ดังนั้นหากมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องใช้เงินในกรณีฉุกเฉิน ผู้ลงทุนจะไม่สามารถขอไถ่ถอนคืนมูลค่าตราสารหนี้ได้ อย่างไรก็ตามถ้าตราหนี้ที่ลงทุนมีการจดทะเบียนกับตลาดรองอย่างเป็นทางการ ผู้ลงทุนก็จะสามารถขายตราสารหนี้นั้นในตลาดรองได้แต่มูลค่าที่ขายได้จะขึ้นอยู่กับอัตราดอกเบี้ยตลาด และคุณภาพของตราสารหนี้ในขณะนั้น นอกจากนี้ตราสารหนี้ที่ไม่ได้รับความนิยมจากนักลงทุนอาจขาดสภาพคล่องในตลาดรอง…

Continue Readingทางเลือกในการลงทุน