จริยธรรมและความเชี่ยวชาญในงานสำหรับการตรวจสอบภายใน

โดเมนที่ 2 จริยธรรมและความเชี่ยวชาญในงาน (Ethics and Professionalism) สำหรับการตรวจสอบภายใน เป็นส่วนสำคัญของมาตรฐานสากลการปฏิบัติงานวิชาชีพตรวจสอบภายใน (Global Internal Audit Standards) โดยกำหนดกรอบการทำงานและหลักการที่ผู้ตรวจสอบภายในต้องปฏิบัติตาม เพื่อให้การตรวจสอบภายในมีความเป็นมืออาชีพและน่าเชื่อถือ มีส่วนประกอบจำนวน 5 หลักการ คือ  หลักการที่ 1 ความซื่อสัตย์ หลักการที่ 2 ความเป็นกลาง หลักการที่ 3 ความสามารถ หลักการที่ 4 ความเป็นมืออาชีพ และหลักการที่ 5 การรักษาความลับ โดยมีข้อมูลดังนี้ หลักการที่ 1 ความซื่อสัตย์ (Demonstrate Integrity) ผู้ตรวจสอบภายในต้องมีความซื่อสัตย์ในหน้าที่ความรับผิดชอบของตน พร้อมทั้งปฏิบัติตามข้อเท็จจริงแม้อยู่ในสภาวะที่มีแรงกดดัน โดยไม่ให้ข้อมูลเท็จ ที่ทำให้เกิดการเข้าใจผิด หรือปกปิดละเว้นข้อมูลที่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจของกิจการ ดังนั้นหัวหน้าฝ่ายตรวจสอบภายในต้องเป็นผู้รักษาสภาพแวดล้อมการปฏิบัติงานตามข้อกำหนดและหลักฐาน อีกทั้งเคารพกฎหมาย กฎระเบียบ และมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง  หลักการที่ 2 ความเป็นกลาง (Maintain Objectivity) ผู้ตรวจสอบภายในมีความเป็นกลางในการรวบรวม ประเมินผล รายงานข้อมูล…

Continue Readingจริยธรรมและความเชี่ยวชาญในงานสำหรับการตรวจสอบภายใน

มาตรฐานสากลการปฏิบัติงานวิชาชีพตรวจสอบภายใน

มาตรฐานสากลการปฏิบัติงานวิชาชีพตรวจสอบภายใน (Global Internal Audit Standards) คือ แนวทางการปฏิบัติงานวิชาชีพการตรวจสอบภายใน  โดยฉบับดังกล่าวมีผลบังคับใช้เดือนมกราคม 2568 (ค.ศ. 2025) มีองค์ประกอบ 5 โดเมน 15 หลักการ ประกอบด้วย             1. วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบภายใน (Purpose of Internal Auditing)             2. จริยธรรมและความเชี่ยวชาญอย่างมืออาชีพ (Ethics and Professionalism)                          หลักการที่ 1 ความซื่อสัตย์ (Demonstrate Integrity)                         หลักการที่ 2 ความเป็นกลาง (Maintain Objectivity)                         หลักการที่ 3 ความสามารถ (Demonstrate Competency)                         หลักการที่ 4 ความเป็นมืออาชีพ (Exercise Due Professional…

Continue Readingมาตรฐานสากลการปฏิบัติงานวิชาชีพตรวจสอบภายใน

นโยบายการกำกับดูแลกิจการ

บริษัทมหาชนจำกัด บังคับโดยหน่วยงานกำกับดูแลให้กิจการนำ หลักการกำกับดูแลที่ดี พ.ศ. 2560 (CG Code) และจรรยาบรรณธุรกิจ (Code of conduct) มาเป็นแนวปฏิบัติ ซึ่งต้องจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้ทั้งบริษัทและบริษัทย่อยปฏิบัติเช่นเดียวกันประกอบด้วย นโยบายและแนวปฏิบัติการกำกับดูแลกิจการที่เกี่ยวกับคณะกรรมการ ระบุถึงการสรรหา องค์ประกอบ คุณสมบัติของคณะกรรมบริษัท บทบาทหน้าที่ การกำหนดค่าตอบแทนประธานเจ้าหน้าที่ผู้บริหารและคณะกรรมกรรมของบริษัท การประเมินผลการปฏิบัติงานและการกำกับดูแลบริษัทย่อยบริษัทร่วม การพัฒนากรรมการและผู้บริหาร แผนการสืบทอดตำแหน่ง รวมถึงนโนบายแนวปฏิบัติที่เกี่ยวกับผู้ถือหุ้นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของกิจการ ระบุสิทธิของผู้ถือหุ้น ประกอบด้วย การประชุมผู้ถือหุ้น การดำเนินการในวันประชุมผู้ถือหุ้น การจัดทำรายงานการประชุมและการเปิดเผยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น เป็นต้น การปฏิบัติต่อถือหุ้นผู้อย่างเท่าเทียม การส่งเสริมการใช้สิทธิของผู้ถือหุ้น การต่อต้านทุจริต การดำเนินการกับผู้ที่ไม่ทำตามนโยบายและแนวปฏิบัติ             การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาที่สำคัญของนโยบาย แนวปฏิบัติ และระบบการกำกับดูแลกิจการในรอบปีผ่านมา ซึ่งให้ข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการการทบทวนนโยบาย…

Continue Readingนโยบายการกำกับดูแลกิจการ