ปัญหาตัวแทน (Agency Problems)

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

ในการดำเนินงานเกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่าย จึงมีโอกาสที่จะเกิดความขัดแย้งในผลประโยชน์และนำมาสู่ปัญหาตัวแทน (Agency Problems) ได้ โดยปัญหาตัวแทนเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย ขึ้นไป ซึ่งมักจะเกิดจากความสัมพันธ์ใน 3 สาเหตุหลัก ได้แก่ 1) ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ถือหุ้นและผู้บริหาร 2) ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหนี้และผู้ถือหุ้น และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ถือหุ้นรายใหญ่และผู้ถือหุ้นรายย่อย (Jensen and Meckling, 2000; Shim and Siegel, 2007) 1. ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ถือหุ้นและผู้บริหาร…

Continue Readingปัญหาตัวแทน (Agency Problems)

หน้าที่ในการจัดการการเงิน (Financial Management)

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

หน้าที่พื้นฐานทั่วไปในการจัดการการเงินสามารถแบ่งเป็น 5 หน้าที่ใหญ่ๆ ได้แก่ 1. การวิเคราะห์และการวางแผนทางการเงิน (Financial Analysis and Planning) ผู้บริหารการเงินจำเป็นต้องมีการวางแผนทางการเงิน หน้าที่นี้ถือว่าสำคัญมาก โดยในการวางแผนทางการเงินนั้น จำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ทราบกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นเอาไว้เป็นการล่วงหน้าก่อน ว่ามีความต้องการเงินทุนทั้งในระยะสั้นและระยะยาวของกิจการอย่างไร รวมถึงการลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนและไม่หมุนเวียนที่จะเกิดขึ้น ตลอดจนเหตุการณ์ทางด้านเศรษฐกิจและภาวะแวดล้อมต่างๆ  ที่จะมีผลกระทบต่อองค์การ ในการวางแผนมักจัดทำงบประมาณโดยอาศัยทั้งข้อมูลในอดีตและข้อมูลคาดการณ์ในอนาคตเพื่อที่จะได้พยากรณ์ตัวเลขงบประมาณได้ล่วงหน้า ทั้งนี้การวิเคราะห์และวางแผนเกี่ยวกับการจัดการการเงินควรที่จะต้องเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และกลยุทธ์ของธุรกิจด้วย รวมทั้งประสานงานกับส่วนงานอื่นๆ เพื่อให้การทำงานมีความสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน 2. การตัดสินใจลงทุน (Investment Decision) ในการดำเนินธุรกิจ กิจการจะต้องมีการลงทุนในสินทรัพย์ เช่น สร้างโรงงาน…

Continue Readingหน้าที่ในการจัดการการเงิน (Financial Management)

ขั้นตอนในการประเมินค่าโครงการ (Project Evaluation)

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

ก่อนการตัดสินใจลงทุนในโครงการต่างๆ ผู้บริหารควรประเมินค่าโครงการ ซึ่งการประเมินค่าโครงการมีหลายขั้นตอน ในที่นี้จะขอกล่าวถึงขั้นตอนหลักที่สำคัญตามลำดับ ดังนี้ 1. รวบรวมข้อมูล ผู้บริหารควรที่จะต้องพิจารณาภาพรวม ลักษณะโครงการ รวมทั้งปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการให้ครบถ้วนและถูกต้อง แล้วจึงจะทำการประมาณการกระแสเงินสดในขั้นต่อไป 2. ประมาณการกระแสเงินสด เพื่อที่จะได้ทราบว่าผู้ลงทุนจะต้องจ่ายเงินลงทุนเริ่มแรกเท่าไหร่ และมีกระแสเงินสดของรายรับและรายจ่ายจากการดำเนินงานตลอดระยะเวลาที่ลงทุนในโครงการมากน้อยเพียงใด (ซึ่งจะกล่าวถึงรายละเอียดการประเมินความคุ้มค่าของโครงการ ในตอนที่ 14.2) 3. ประเมินความคุ้มค่าและความเสี่ยงของโครงการ เพื่อช่วยให้เห็นความเป็นไปได้ของผลประโยชน์ที่องค์การจะได้รับทั้งในปัจจุบันและอนาคตจากการลงทุนว่ามีความคุ้มค่าทางการเงินหรือไม่ ทั้งนี้ ความสำเร็จของโครงการมักขึ้นอยู่กับความคงที่ที่จะได้รับกระแสเงินสดจากผลิตภัทฑ์ใหม่ จากการปรับปรุงผลิตภัณฑ์เดิม และจากการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเครื่องมือทางการเงินที่นิยมนำมาใช้ในการวิเคราะห์ความคุ้มค่าของโครงการ เช่น (1) ระยะเวลาคืนทุน…

Continue Readingขั้นตอนในการประเมินค่าโครงการ (Project Evaluation)