กระบวนการเขียนบทความวิชาการ (Process of Writing Academic Articles)

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

กระบวนการเขียนบทความวิชาการมี 7 ขั้นตอนหลัก เริ่มตั้งแต่ 1) เตรียมแนวคิด 2) วิเคราะห์แนวคิด 3)กำหนดชื่อเรื่อง 4) วางโครงเรื่อง 5) ลงมือเขียน 6) ทบทวนและประเมินผลการเขียน และ 7) กำหนดสาระสังเขป โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1 เตรียมแนวคิด เป็นการกำหนดแนวคิดหรือประเด็นที่น่าสนใจ แล้วคัดเลือกเพียงแนวคิดหรือประเด็นเดียวที่มีสาระทางวิชาการและตรงกับความสนใจของผู้เขียน และผู้เขียนมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ สามารถสอดแทรกความคิดเห็นของผู้เขียนได้อย่างเหมาะสม เป็นเรื่องที่มีสาระและประโยชน์ต่อผู้อ่านและสังคม 2 วิเคราะห์แนวคิด เป็นการพิจารณแนวคิดหรือประเด็นที่จะเขียนให้ชัดเจน…

Continue Readingกระบวนการเขียนบทความวิชาการ (Process of Writing Academic Articles)

ตำรา (Writing a Book)

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

ตำรา หมายถึง งานวิชาการที่ใช้สำหรับการเรียนการสอนทั้งวิชาหรือเป็นส่วนหนึ่งของวิชา ซึ่งเกิดจากการนำข้อค้นพบจากทฤษฎี จากงานวิจัยของผู้ขอ หรือความรู้ที่ได้จากการค้นคว้าศึกษามาวิเคราะห์ สังเคราะห์ รวบรวมและเรียบเรียง โดยมีมโนทัศน์ที่ผู้เขียนกำหนดให้เป็นแกนกลาง ซึ่งสัมพันธ์กับมโนทัศน์ย่อยอื่นอย่างเป็นระบบ มีเอกภาพ สัมพันธ์ภาพ และสารัตถภาพ ตามหลักการเขียนที่ดีใช้ภาษาที่เป็นมาตรฐานทางวิชาการ และให้ความรู้ใหม่อันเป็นความรู้สำคัญที่มีผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อวงการวิชาการนั้นๆ เนื้อหาสาระของตำราต้องมีความทันสมัยเมื่อพิจารณาถึงวันที่ผู้ขอยื่นเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ทั้งนี้ผู้ขอกำหนดตำแหน่งจะต้องระบุวิชาที่เกี่ยวข้องในหลักสูตรที่ใช้ตำราเล่มที่เสนอขอตำแหน่งทางวิชาการด้วย ผลงานทางวิชาการที่เป็นตำรานี้อาจได้รับการพัฒนาขึ้นจากเอกสารคำสอนจนถึงระดับที่มีความสมบูรณ์ที่สุด ซึ่งผู้อ่านอาจเป็นบุคคลอื่นที่มิใช่ผู้เขียนในวิชานั้น แต่สามารถอ่านและทำความเข้าใจในสาระของตำรานั้นด้วยตนเองได้โดยไม่ต้องเข้าศึกษาในวิชานั้น หากผลงานทางวิชาการที่เคยเสนอเป็นเอกสารประกอบการสอนหรือเอกสารคำสอนไปแล้วจะนำมาเสนอเป็นตำราไม่ได้ เว้นแต่จะมีการพัฒนาจนเห็นได้ชัดว่าเป็นตำรา (หลักเกณฑ์และวิธีการฯ ประกาศ ก.พ.อ. พ.ศ. 2565)

Continue Readingตำรา (Writing a Book)

จรรยาบรรณและจริยธรรมในการเขียนตำรา (Publication Ethics for Writing a Book)

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

จรรยาบรรณและจริยธรรมในการเขียนตำราควรคำนึงถึงประเด็นที่สำคัญ ดังนี้ 6.1 การเขียนเนื้อหาด้วยตนเอง 6.2 การอ้างอิงอย่างถูกต้อง 6.3 ระวัง  self-plagiarism 6.4 การคัดลอกต้องไม่เกิน 4 บรรทัดระบุนามปีและหน้าชัดเจน 6.5 ภาพ diagram สถิติ ตัวเลข ต้องอ้างอิงนามปีและระบุหน้า 6.6 นำข้อมูลมาถึงแม้จะดัดแปลงเขียนเป็นภาษาตนเองควรอ้างอิง ข้อความหนึ่งสามารถอ้างอิงได้หลายคนเป็นในเชิงสังเคราะห์ ภาพประกอบควรถ่ายทำเองวาดเองหรือหากนำภาพผู้อื่นมาควรมีการอ้างอิงให้ถูกต้อง บรรณานุกรม ชุติมา สัจจานันท์. (ไม่ปรากฎปีที่พิมพ์). ความรู้เรื่องการเขียนตำรา. ชุติมา สัจจานันท์.…

Continue Readingจรรยาบรรณและจริยธรรมในการเขียนตำรา (Publication Ethics for Writing a Book)