กระบวนการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม

ขั้นที่ 1 การนำสู่การเรียนรู้ (Leading to Learn) เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการพัฒนาความคิดเชิงนวัตกรรมในงานที่มุ่งเน้นการเปิดใจยอมรับแนวคิด/วิธีการทำงานใหม่ๆ และพร้อมที่จะเรียนรู้ในมุมมองที่หลากหลาย เช่น หากสถานศึกษาของมีปัญหาเรื่องการบริหารบุคคล ท่านจะศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาของสถานศึกษาอื่น ในขณะเดียวกันท่านก็อาจจะพูดคุยแลกเปลี่ยนเพื่อศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาขององค์กรเอกชนหรือองค์กรภาครัฐ เพื่อเรียนรู้ว่าองค์กรเหล่านั้นมีแนวทางการแก้ปัญหาอย่างไร         ขั้นที่ 2 การนำสู่การคิด (Leading to Think) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหน่วยงานอื่นจะทำให้ได้แนวคิด/วิธีการทำงานใหม่ซึ่งการนำมาประยุกต์ใช้ที่ได้ผลลัพธ์ที่ดีนั้นจำเป็นจะต้องนำผลของการเรียนรู้ที่ได้มาวิเคราะห์ความเหมือนและความต่างเพื่อให้เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา ทั้งนี้เนื่องจากสถานศึกษาแต่ละแห่งย่อมมีข้อจำกัดที่แตกต่างกันออกไปจึงไม่สามารถนำวิธีการของหน่วยงานอื่นมาปรับใช้ได้ทันที ดังนั้น ผู้บริหารจะต้องคิดอย่างมีวิสัยทัศน์หรือการคิดเชิงกลยุทธ์ ( Strategic Thinking) ที่สามารถวิเคราะห์ได้ว่าสถานศึกษามีจุดเด่นและจุดที่ต้องพัฒนาอะไร โอกาสและอุปสรรคใดบ้าง เพื่อนำผลการวิเคราะห์ไปกำหนดเป็นแผนงาน/กลยุทธ์การพัฒนาสถานศึกษาต่อไป…

Continue Readingกระบวนการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม

สิ่งที่ช่วยสร้างนวัตกรรมการทำงาน

1. การเปิดใจ (Openness) ผู้บริหารจะต้องสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่มุ่งเน้นการเปิดใจยอมรับสิ่งใหม่หรือความคิดเห็นใหม่ของจากครูและผู้ที่เกี่ยวข้องในลักษณะของการเปิดพื้นที่ทางความคิดที่ไม่มุ่งเน้นการตัดสินถูกหรือผิด แต่จะต้องเป็นพื้นที่ความคิดที่ทุกคนรู้สึกอิสระและไม่มีข้อจำกัดเพื่อให้เกิดการระดมความคิดเห็น(Brainstorming) และร่วมกันกำหนดเป้าประสงค์ในการพัฒนาการปฏิบัติงานของตนและสถานศึกษาที่มุ่งสู่นวัตกรรม (Innovative Goal) 2. การมุ่งมั่นตั้งใจ ( Willingness) ผู้บริหารจะต้องกระตุ้นให้ครูมีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะปฏิบัติงานให้บรรลุสู่เป้าประสงค์ในการพัฒนาการปฏิบัติงานของครูที่มุ่งสู่นวัตกรรม โดยผู้บริหารจะต้องชี้นำให้ครูวิเคราะห์สถานการณ์และโอกาสในการสร้างนวัตกรรมใหม่ในมุมมองที่หลากหลายมุมมองโดยพิจารณาปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกสถานศึกษาเพื่อวิเคราะห์ความแตกต่างและความเป็นไปได้ในการสร้างนวัตกรรม  3. การกล้าเสี่ยง/กล้าลอง ( Taking Risk) ผู้บริหารจะต้องสนับสนุนให้ครูลองนำวิธีการหรือแนวคิดใหม่ๆ ประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนอย่างต่อเนื่อง ครูสามารถค้นพบวิธีการหรือแนวคิดใหม่ในระหว่างการทดลองใช้ได้อย่างไม่มีข้อจำกัด จนกระทั่งเกิดผลลัพธ์เชิงประจักษ์ว่าวิธีการดังกล่าวใช้แล้วได้ผลจริงจึงจะสามารถเรียกวิธีการหรือแนวคิดใหม่ๆเหล่านั้นได้ว่าเป็นนวัตกรรม ทั้งนี้ผู้บริหารและครูจะต้องร่วมกันวางแผนบริหารความเสี่ยงในการนำนวัตกรรมไปทดลองใช้ ตลอดจนวางมาตรการรองรับในกรณีที่เกิดสถานการณ์นอกเหนือจากแผนการดำเนินงาน 4. การวิจัยและพัฒนา (Research & Development : R&D) เมื่อได้นวัตกรรมใหม่แล้วผู้บริหารจะต้องกระตุ้นให้ครูคิดค้นแนวคิด/วิธีการใหม่ๆ…

Continue Readingสิ่งที่ช่วยสร้างนวัตกรรมการทำงาน

กระบวนการบริหารการพัฒนาเมืองโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย

การบริหารการพัฒนาเมืองโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย เป็นอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ดูแลรับผิดชอบพื้นที่เมือง อันได้แก่ เทศบาล เมืองพัทยา กรุงเทพมหานคร และองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยแต่ละองค์กรมีอำนาจบริหารและดำเนินการพัฒนาท้องถิ่นตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติไว้ ทั้งนี้กรุงเทพมหานครซึ่งมีการบริหารท้องถิ่นแบบระดับเดียว (single tier) ได้รับการกระจายอำนาจและสามารถบริหารการพัฒนาเมืองได้กว้างขวางกว่าองค์กรอื่นซึ่งอยู่ในระบบการบริหารท้องถิ่นแบบ 2 ระดับ แม้ว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละองค์กรสามารถบริหารการพัฒนาท้องถิ่นของตนได้อย่างเป็นอิสระภายในขอบเขตที่กฎหมายกำหนด ซึ่งทำให้การบริหารการพัฒนาในแต่ละเมืองมีรายละเอียดที่แตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปแล้วกระบวนการบริหารการพัฒนาเมืองโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีขั้นตอนหลักๆที่ไม่แตกต่างกัน ทั้งนี้อาจสรุปขั้นตอนหลักในกระบวนการบริหารการพัฒนาเมืองโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยได้เป็น 3 ขั้นตอน คือ การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น การนำแผนพัฒนาท้องถิ่นไปปฏิบัติ การติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่น

Continue Readingกระบวนการบริหารการพัฒนาเมืองโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย