Aon Hewitt’s Engagement Model

Aon Hewitt คือบริษัทที่ปรึกษาด้านการพัฒนาทุนมนุษย์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก ผลงานวิจัยที่มีชื่อเสียงชิ้นหนึ่งชองบริษัทคือการทำวิจัยเพื่อสร้างโมเดลโครงสร้างระบุถึงปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันของบุคลากรต่อองค์กร โดยงานวิจัยชิ้นนี้ Aon Hewitt ได้รับการจัดทำขึ้นเป็นเวลากว่า 15 ปี โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 6.7 ล้านตัวอย่าง ซึ่งเป็นพนักงานจากองค์กรมากกว่า 2,900 แห่งจากประเทศต่างๆ ในภูมิภาคต่างๆ ได้แก่ เอเชียแปซิฟิก ละตินอเมริกา ยุโรป และอเมริกาเหนือ ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันของบุคลากรประกอบด้วย 6 ปัจจัยหลักประกอบด้วย - ลักษณะของงาน กล่าวคือ งานที่มีลักษณะ มีอิสระในการทำงาน…

Continue ReadingAon Hewitt’s Engagement Model

JD-R model

JD-R model แบ่งปัจจัยในสภาพแวดล้อมการทำงานออกเป็นสองกลุ่มได้แก่ ภาระงาน (Job Demands) และ ทรัพยากรที่มีให้ใช้ในการทํางาน (Job Resources) โดยทรัพยากรที่มีให้ใช้ในการทำงานเป็นปัจจัยเชิงบวกที่มีผลต่อความผูกพันขององค์กร ทั้งนี้ทรัพยากรอาจมาจากโครงสร้างองค์กร ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความสัมพันธ์ทางสังคม และ มาจากโครงสรร้างงาน เช่นความชัดเจนของบทบาทและการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เป็นต้น ในขณะที่ภาระงานเป็นปัจจัยเชิงลบ กล่าวคือในการทำงานให้สำเร็จลุล่วงจะต้องใช้ทรัพยากรอะไรบ้าง ทั้งนี้ระดับความผูกพันของบุคลากรในองค์กรจะลดลงเมื่อภาระงานมีมากกว่าทรัพยากรที่องค์กรนั้นๆมี ต่อมา JD-R model ได้ขยายไปครอบคลุมคุณสมบัติส่วนตัวของ บุคคล (personal resource) ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละคน เช่น ศักยภาพของตนเอง…

Continue ReadingJD-R model

แรงกดดันที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมในองค์กรภาครัฐ

ความไม่แน่นอนของสภาพแวดล้อมเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมในองค์กร (Covin and Slevin, 1989)  แรงกดดันหรือแรงกระตุ้นเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการสร้างนวัตกรรมในองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ในกรณีขององค์กรภาครัฐตามทัศนะของOsborne, (1998)  สามารถแบ่งแรงกระตุ้นที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมได้เป็นสองประเภทคือ หนึ่ง แรงกระตุ้นจากการเมือง(Political Imperative) เป็นแรงกระตุ้นที่เกิดขึ้นเฉพาะในองค์กรภาครัฐซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายทำให้เกิดแรงผลักดันในการสร้างนวัตกรรมในการบริหารและให้บริการจัดการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ใหม่ของนโยบาย และ สอง แรงกระตุ้นจากการถูกจับตาดูผลงาน(Conspicuous production impetus) (Faller, 1981)   แรงกระตุ้นนี้เกิดจากการที่ประชาชนคาดหวังที่จะได้รับการบริการสาธารณะที่มีประสิทธิภาพจากองค์กรภาครัฐดังนั้นองค์กรภาพรัฐจึงจำเป็นต้องใช้นวัตกรรมเป็นตัวแทนความสำเร็จในผลงานสื่อออกไปให้กับผู้รับบริการหรือประชาชนได้รับทราบ ยกตัวอย่างเช่น นโยบาย one-stop-service ทำให้เกิดนวัตกรรมทางการให้บริการคือการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนผู้มาติดต่องานราชการให้สามารถรับบริการจากหน่วยราชการต่างๆได้ภายในที่แห่งเดียวโดยไม่จำเป็นต้องไปติดต่อหลายๆแห่ง การติดต่องานราชการเป็นไปด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพผ่านระบบอินเตอร์เน็ตโดยอาศัยระบบสำนักงานบริการเสมือนจริง ลดค่าใช้จ่ายของทั้งภาครัฐและประชาชน

Continue Readingแรงกดดันที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมในองค์กรภาครัฐ