การดูแลสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานในช่วงโควิด 19

สืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัส หรือ โควิด 19 ซึ่งก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในสังคมและเศรษฐกิจ โดยองค์การทั้งภาครัฐและเอกชนจำเป็นที่จะต้องหาแนวทางในการดูแลสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดที่ยาวนานของโควิด 19 โดยมีความเชื่อว่านสถานการณ์วิกฤติเช่นปัจจุบัน ยิ่งดูแลบุคลากรดีเท่าไหร่ เมื่อสถานการณ์พลิกฟื้นกลับมาแล้วก็ยิ่งจะทำให้บุคลกรเหล่านั้นทุ่มเทให้กับองค์กรมากขึ้น อ้างอิงจากการศึกษาของ Gallup สถาบันด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ชื่อดัง พบว่าองค์กรต่างๆทั่วโลก ได้หาช่องทางเพื่อดูแลสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานโดยมีการทำประกันกลุ่มเพื่อดูแลค่าใช้จ่ายให้กับบุคลากรที่ติดเชื้อโควิด และในบางองค์กรมีการจ่ายค่าทดสอบโควิดให้กับบุคลากรที่มีความเสี่ยงเฉพาะ สำหรับด้านการดูแลเรื่องจิตใจและขวัญกำลังใจของบุคลากรนั้น ในบางองค์กรผู้บริหารจะมีการพูดคุยผ่านช่องทางออนไลน์กับบุคลากรเพื่อสร้างความเข้าใจและความรู้สึกที่ดีในการที่จะต้องปรับตัวกับการทำงานรูปแบบในซึ่งเป็นสภาวะพิเศษในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส

Continue Readingการดูแลสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานในช่วงโควิด 19

อนาคตแรงงานไทยในยุคดิจิตอล

Machines are coming to take our jobs คำกล่าวนี้กลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในโลกปัจจุบันนี้ หน่วยงานวิจัยหลายแห่งคาดการณ์ถึงแนวโน้มที่เทคโนโลยี สมัยใหม่ทั้งระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ (AI) กระแสดิจิทัล (Internet of Things: IoT) ที่ใช้อย่างแพร่หลายในการผลิตสินค้าและบริการ ตลอดจนในชีวิตประจ าวันของเราว่าจะมาทดแทนหรือ เข้ามายึดครองตลาดแรงงานหรือไม่ ซึ่ง องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organization for Economic Co-operation and Development: OECD)…

Continue Readingอนาคตแรงงานไทยในยุคดิจิตอล

การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมภายในองค์การ

การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมภายในองค์การ (Internal Environmental Analysis) เป็นการตรวจสอบและประเมินขีดความสามารถและข้อบกพร่องขององค์การ  เพื่อที่จะใช้เป็นแนวทางในการกำหนดอนาคตขององค์การ  ตลอดจนส่งเสริมความเข้มแข็งและลดความอ่อนแอของธุรกิจโดยที่ผู้บริหารเชิงกลยุทธ์ต้องพิจารณาปัจจัยภายในองค์การ  เพื่อสามารถระบุปัจจัยเชิงกลยุทธ์ภายใน  โดยการวิเคราะห์ถึงจุดแข็งและจุดอ่อนขององค์การ  ซึ่งจะสามารถใช้ในการกำหนดกลยุทธ์  โดยการใช้จุดแข็งให้เป็นประโยชน์และหลีกเลี่ยงจุดอ่อน  หรือทำการป้องกันการโจมตีจากคู่แข่งขันโดยการแก้ไขจุดอ่อนนั้น  ซึ่งโดยปกติการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในองค์การสามารถทำได้  โดยการศึกษาถึงทรัพยากรพื้นฐานขององค์การเปรียบเทียบกับคู่แข่งขันในอุตสาหกรรมโดยวิธีการศึกษาทรัพยากรพื้นฐานขององค์การเพื่อใช้ในการกำหนดจุดแข็งและจุดอ่อนสามารถทำได้ดังต่อไปนี้ 1. การระบุและการแยกประเภทของทรัพยากร เป็นปัจจัยภายในขององค์การในด้านของจุดแข็งและจุดอ่อนโดยเปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน 2. การระบุความสามารกขององค์การ เป็นการรวมทรัพยากรขององค์การที่เป็นความสามารถที่เฉพาะเจาะจงที่ถือเป็นจุดเด่นขององค์การ 3. การประเมินศักยภาพของความสามารถ โดยประเมินความสามารถในด้านของผลตอบแทนการสร้างกำไรขององค์การจากทรัพยากรที่เป็นข้อได้เปรียบทางการแข่งขันและความเหมาะสมของผลตอบแทน 4. การเลือกกลยุทธ์ขององค์การ เป็นกลยุทธ์ที่ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรและความสามารถขององค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งจะต้องตัดสินใจบนพื้นฐานของโอกาสจากปัจจัยภายนอก 5. การระบุช่องว่างทางทรัพยากร องค์การจำเป็นต้องลงทุนเพิ่มเพื่อที่องค์การจะใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เต็มที่ โดยเป็นการแก้ไขจุดอ่อนขององค์การให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น เพื่อป้องกันหรือลดการถูกโจมตีจากคู่แข่งขัน เมื่อนำทรัพยากรขององค์การมารวมเข้าด้วยกันจะสามารถนำมาสร้างเป็นความสามารถหลักขององค์การที่ใช้ในการแข่งขันกับคู่แข่งขัน  ดังนั้นการรักษาคุณลักษณะของทรัพยากรและความสามารถขององค์การจะทำให้องค์การสามารถรักษาความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขันไว้ได้ ทรัพยากรและความสามารถขององค์การอาจถูกลอกเลียนจากคู่แข่งขันรายอื่นได้  ซึ่งคุณลักษณะของทรัพยากรและความสามารถแต่ละอย่างสามารถถูกลอกเลียนได้ยากง่ายแตกต่างกัน  โดยทรัพยากรและความสามารถบางอย่างที่มีวงจรในการถูกลอกเลียนได้ช้าและมีความคงทนเนื่องจากมีการคุ้มครองสิทธิบัตร  มีภูมิศาสตร์ที่ได้เปรียบ  และมีตราผลิตภัณฑ์ที่เข้มแข็ง  เป็นต้น

Continue Readingการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมภายในองค์การ