แผนในการดูแลความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน

การตระหนักในแผนความปลอดภัย เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน ในการพัฒนาให้สถานที่ทำงานมีความปลอดภัยนั้นจะต้องมีการพัฒนาด้านความปลอดภัยที่ดีโดยใช้แผนความปลอดภัย การคำนึงถึงความสำคัญเรื่องความปลอดภัยจะต้องเริ่มจากผู้ที่มีตำแหน่งสูงสุดในองค์การ รวมไปถึงหัวหน้างานทุกระดับ มีการสาธิตในเรื่องของการรับรู้ข่างสารเรื่องความปลอดภัย มีหน้าที่เข้ารับการฝึกอบรมเรื่องความปลอดภัย และได้รับรางวัลตอบแทนเมื่อสามารถทำให้ที่ทำงานมีความปลอดภัย โดยทั่วไปแล้วผู้อำนวยการด้านความปลอดภัยและแผนความปลอดภัยเป็นส่วนหนึ่งของงานทรัพยากรมนุษย์ ผู้รับผิดชอบหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์มีหน้าที่ออกแบบและดำเนินการแผนความปลอดภัยเพื่อใช้ในการฝึกอบรมหัวหน้างานในเรื่องการปฏิบัติตามกฏและนโยบายความปลอดภัย โดยแนวทางในการกำหนดแผนความปลอดภัยในการทำงานสามารถกระทำได้ดังต่อไปนี้ วิเคราะห์สาเหตุของอุบัติเหตุ ในการวิเคราะห์สาเหตุของอุบัติเหตุหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์หรือผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันอุบัติเหตุมีหน้าที่ในการสังเกตุและวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆที่อาจจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุในการดำเนินงาน เพื่อจัดการดูแลให้อยู่ในลักษณะที่เหมาะสมการลดสภาวะที่ไม่ปลอดภัย สามารถดำเนินการได้หลังจากการศึกษาและวิเคราะห์ถึงสาเหตุของอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งจะได้ข้อมูลจำเป็นที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานทรัพยากรมนุษย์สมควรที่จะหาแนงทางป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดสภาวะที่ไม่ปลอดภัย ไม่ว่าจะป็นการปรับปรุงสภาพการทำงาน การบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณืในการทำงานให้อยู่ในสภาพที่ดี เป็นต้นการลดการกระทำที่ไม่ปลอดภัย นอกจากความพยายามในการลดสภาวะการณ์ที่ไม่ปลอดภัยด้วยวิธีการต่างๆที่ได้กล่าวมาแล้ว การลดการกระทำที่ไม่ปลอดภัยก็นับได้ว่ามีความสำคัญไม่แพ้กัน ทั้งนี้สามารถกระทำได้โดยการอบรมให้ความรู้บุคลากรผู้ปฏิบัติงานในเรื่องความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน การปฏบัติงานที่ถูกต้องตามหลักสุขอนามัย ตลอดจนการเตรีนมพร้อมสำหรับเหตุการร์ที่อาจจะเกิดขึ้นส่งเสริมแนวความคิดด้านการป้องกัน หน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ควรปลูกฝัง สร้างแนวคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์การ การป้องกันมิให้เกิดอุบัติเหตุมีความสำคัญอย่างมากต่อการบริหารงานด้านความปลอดภัยของบุคลากร เนื่องจากอุบัติเหตุที่เกิดขี้นในแต่ละครั้งย่อมส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพขององค์การทั้งสิ้น  

Continue Readingแผนในการดูแลความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน

ความหมายของความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน  

พระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (2554, หน้า 6) ได้ให้ ความหมายของคำว่า ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน หมายความว่า การกระทำ หรือสภาพการทำงานซึ่งปลอดจากเหตุอันจะทำให้เกิดการประสบอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพ อนามัยอันเนื่องจากการทำงาน หรือเกี่ยวกับการทำงาน               กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน (2544, หน้า 6) ได้กล่าวว่า ความปลอดภัยในการ ทำงาน หมายถึง…

Continue Readingความหมายของความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน  

การดูแลสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานในช่วงโควิด 19

สืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัส หรือ โควิด 19 ซึ่งก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในสังคมและเศรษฐกิจ โดยองค์การทั้งภาครัฐและเอกชนจำเป็นที่จะต้องหาแนวทางในการดูแลสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดที่ยาวนานของโควิด 19 โดยมีความเชื่อว่านสถานการณ์วิกฤติเช่นปัจจุบัน ยิ่งดูแลบุคลากรดีเท่าไหร่ เมื่อสถานการณ์พลิกฟื้นกลับมาแล้วก็ยิ่งจะทำให้บุคลกรเหล่านั้นทุ่มเทให้กับองค์กรมากขึ้น อ้างอิงจากการศึกษาของ Gallup สถาบันด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ชื่อดัง พบว่าองค์กรต่างๆทั่วโลก ได้หาช่องทางเพื่อดูแลสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานโดยมีการทำประกันกลุ่มเพื่อดูแลค่าใช้จ่ายให้กับบุคลากรที่ติดเชื้อโควิด และในบางองค์กรมีการจ่ายค่าทดสอบโควิดให้กับบุคลากรที่มีความเสี่ยงเฉพาะ สำหรับด้านการดูแลเรื่องจิตใจและขวัญกำลังใจของบุคลากรนั้น ในบางองค์กรผู้บริหารจะมีการพูดคุยผ่านช่องทางออนไลน์กับบุคลากรเพื่อสร้างความเข้าใจและความรู้สึกที่ดีในการที่จะต้องปรับตัวกับการทำงานรูปแบบในซึ่งเป็นสภาวะพิเศษในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส

Continue Readingการดูแลสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานในช่วงโควิด 19