Public Participation (IAP2)

การมีส่วนร่วมของประชาชนจากการแบ่งระดับของสมาคมการมีส่วนร่วมของประชาชนระหว่างประเทศ การมีส่วนร่วมของประชาชนระหว่างประเทศหรือที่รู้จักในนามInternational Association for Public Participation (IAP2)  ได้แบ่งระดับของการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็น 5 ระดับ ดังนี้ ระดับของการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนของสมาคมการมีส่วนร่วมของประชาชนระหว่างประเทศหรือที่รู้จักในนามInternational Association for Public Participation (IAP2)                ระดับที่ 1 การให้ข้อมูลข่าวสาร (Inform) เป็นการมีส่วนร่วมของประชาชนในขั้นแรก และถือเป็นระดับที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นก้าวแรกของการที่ภาคราชการจะเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าสู่กระบวนการมีส่วนร่วมในเรื่องต่าง ๆ วิธีการให้ข้อมูลสามารถใช้ช่องทางต่าง ๆ เช่น เอกสารสิ่งพิมพ์…

Continue ReadingPublic Participation (IAP2)

ระบบคอนติเนนท์ (Continental System)

       การบริหารและการปกครองท้องถิ่นในระบบคอนติเนนท์ มีรากฐานและวิวัฒนาการมาจากประวัติศาสตร์การจัดการปกครองและการบริหารท้องถิ่นของฝรั่งเศส  ซึ่งเน้นหลักการรวมอำนาจและเอกภาพแห่งรัฐมาตั้งแต่อดีต  โดยถือว่ารัฐบาลมีอำนาจเต็มในการปกครองและบริหารประเทศ  การปกครองและการบริหารท้องถิ่นเกิดจากการกระจายอำนาจของรัฐบาล  โดยรัฐบาลมอบหมายอำนาจบางประการให้แก่ท้องถิ่น  ท้องถิ่นจะมีอำนาจปกครองตนเองและมีความเป็นอิสระมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลเป็นสำคัญ การปกครองท้องถิ่นในระบบคอนติเนนท์  รัฐบาลซึ่งเป็นผู้กระจายอำนาจให้ท้องถิ่น จะเป็นผู้กำหนดรูปแบบ โครงสร้าง ขนาด ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของท้องถิ่น ตลอดจนระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องเป็นส่วนใหญ่  การจัดระเบียบการปกครองและบริหารท้องถิ่นค่อนข้างจะเป็นระบบที่ชัดเจน  มีความเป็นเอกรูป (uniformity) คือ จัดแบบเดียวกันทั่วทั้งประเทศ ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมความเป็นเอกภาพของประเทศ ในระบบคอนติเนนท์ดั้งเดิม  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับรัฐบาล  ทั้งนี้ ประเทศที่ใช้ระบบคอนติเนนท์มักจะมีการใช้อำนาจบริหารโดยการรวมอำนาจ แบ่งอำนาจ และกระจายอำนาจไปพร้อมๆ กัน  องค์กรของรัฐที่เกิดจากการแบ่งอำนาจ อันได้แก่…

Continue Readingระบบคอนติเนนท์ (Continental System)

Anglo-Saxon System

ระบบแองโกล-แซกซอน มีรากฐานและวิวัฒนาการมาจากประวัติศาสตร์การจัดการปกครองและการบริหารท้องถิ่นอันยาวนานของอังกฤษ ซึ่งถือว่าการปกครองท้องถิ่นเกิดขึ้นก่อนที่จะมีการรวมตัวกันเป็นชาติ และประเทศอังกฤษเกิดจากการรวมตัวกันของท้องถิ่นต่างๆ โดยท้องถิ่นยังคงสงวนอำนาจบางประการของท้องถิ่นไว้ ดังนั้น ท้องถิ่นจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง การปกครองท้องถิ่นในระบบแองโกล-แซกซอน เป็นแบบอย่างของการปกครองที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองและบริหารท้องถิ่นของตนอย่างกว้างขวาง แต่ละท้องถิ่นมีอำนาจปกครองตนเองและมีความเป็นอิสระ มีรูปแบบและวิธีการในการดำเนินการปกครองและบริหารตามแบบอย่างของตนเอง ตามจารีตประเพณีของท้องถิ่นซึ่งถือปฏิบัติสืบต่อกันมา จะเห็นได้จากการเรียกชื่อท้องถิ่นในระดับเดียวกันแตกต่างกัน เช่น ท้องถิ่นระดับดิสทริคท์ (District) บางแห่งเรียกว่า ดิสทริคท์ บางแห่งเรียกว่า เบอเรอะ (Borough) บางแห่งเรียกว่า ซิตี้ (City) หรือท้องถิ่นระดับแพริช (Parish) บางแห่งเรียกว่า ทาวน์ (Town) บางแห่งเรียกว่าคอมมิวนิตี…

Continue ReadingAnglo-Saxon System