ความสำคัญของนโยบายการบริหารราชการไทย

ความสำคัญของนโยบายการบริหารราชการไทย นโยบายการบริหารราชการไทยมีความสำคัญในด้านต่างๆ สามารถอธิบายได้ 8 ประการดังนี้           ประการแรก  เป็นแนวทางให้รัฐดำเนินการตรากฎหมายและกำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดินที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับการปฏิรูปประเทศในแต่ละช่วงและแต่ยุคสมัยภายใต้สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและภาวะการณ์ต่างๆที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงานของรัฐมีหลักค้ำประกัน มีความชอบธรรมเนื่องจากได้มีการกำหนดไว้ในกฎหมาย โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญในหมวด แนวนโยบายแห่งรัฐ การตรากฎหมายจะนำไปสู่การบังคับใช้กฎหมายเพื่อให้การบริหารราชการไทยได้รับการยอมรับและสามารถดำเนินการได้เป็นไปตามกรอบที่รัฐธรรมนูญได้วางแนวทางไว้ ประการที่สอง  นโยบายการบริหารราชการไทยมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ  ชีวิตความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของประชาชน  ซึ่งหากคำแถลงนโยบายต่อรัฐสภาของรัฐบาลมีสาระสำคัญที่ตรงต่อความต้องการของประชาชน มีการนำไปปฏิบัติโดยระบบราชการไทยโดยไม่บิดเบือดและประชาชนได้รับผลจากนโยบายอย่างเต็มที่แล้ว จึงนับได้ว่าส่งผลดีต่อการพัฒนาประเทศอย่างรอบด้าน ทั้งทาง เศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง การต่างประเทศ และรวมถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างรอบด้าน          ประการที่สาม  …

Continue Readingความสำคัญของนโยบายการบริหารราชการไทย

ประเภทของนโยบายในการบริหารราชการไทย

          นโยบายในการบริหารราชการไทย สามารถแบ่งออกเป็น 5 ประเภท           1. นโยบายในการบริหารราชการไทยในฐานะแนวนโยบายแห่งรัฐ หรือแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ซึ่งได้กำหนดสาระสำคัญไว้ใน หมวดที่ 6 ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560ในมาตรา 64-78 ซึ่งเป็นแนวทางให้รัฐดำเนินการตรากฎหมายและกำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดินที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับการปฏิรูปประเทศ และครอบคลุมแนวนโยบายด้านต่างๆ อาทิ ด้านยุทธศาสตร์ ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ด้านการต่างประเทศ ด้านกระบวนการยุติธรรม ด้านเศรษฐกิจ ด้านการศาสนาและสังคม ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านการศึกษา ด้านการสาธารณสุข  รวมถึงด้านการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและศิลปวิทยาการ เป็นต้น…

Continue Readingประเภทของนโยบายในการบริหารราชการไทย

ความหมายของนโยบายการบริหารราชการไทย

มีคำที่สำคัญสองคำคือคำว่า “นโยบาย” (Policy) กับ คำว่า “การบริหารราชการไทย” (Thai Public Administration)           คำว่า “นโยบาย” (Policy) ส่วนมากในแวดวงวิชาการในทางรัฐประศาสนศาสตร์จะพบในรูปของคำว่า นโยบายสาธารณะ (Public Policy) ซึ่งนักวิชาการหลายท่านอย่าง อีสตัน (Easton,1953) ชาร์เคนสกี (Sharkansky,1970) และรวมถึง ฮอกวูดและกันท์ (Hogwood and Gunn,1984) ได้ให้ความหมายซึ่งสามารถสรุปความไปในทางเดียวกันได้ว่า นโยบายสาธารณะ เป็นสิ่งที่รัฐบาลตัดสินใจเลือกที่จะกระทำ…

Continue Readingความหมายของนโยบายการบริหารราชการไทย