การบริหารจัดการแบบเครือข่าย : ปัจจัย ความสำคัญ ลักษณะการกำเนิด

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

การบริหารจัดการแบบเครือข่าย : ปัจจัย ความสำคัญ ลักษณะการกำเนิด[1] ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการสร้างเครือข่าย  ด้วยเหตุที่ต้องการให้การดำเนินงานอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือการดำเนินภารกิจใดภารกิจหนึ่งให้บรรลุเป้าหมาย ดังนั้นบุคคล กลุ่มคน หรือองค์การจำเป็นต้องสร้างเครือข่ายขึ้นมาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน สร้างวิธีการทำงานบนหลักการ “ร่วมด้วย ช่วยกัน” อันจะเป็นพลังผลักดันให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายได้ดีกว่า ใช้เวลาดำเนินงานที่สั้นกว่า และสามารถใช้ทรัพยากรในการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพสูงกว่าที่แต่ละบุคคล กลุ่มคน หรือองค์การดำเนินงานแต่เพียงลำพัง สำหรับเหตุผลและความจำเป็นที่จะต้องสร้างและพัฒนาเครือข่ายมีดังต่อไปนี้ 1) สภาพแวดล้อมและสถานการณ์ของปัญหา การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและส่งผลไปถึงความสามารถในการดำเนินงานของบุคคล กลุ่มคน หรือองค์การให้สัมฤทธิผลได้ยากขึ้น การเปลี่ยนแปลงบางอย่างสร้างโอกาสให้เกิดผลสัมฤทธิ์ แต่การเปลี่ยนแปลงบางอย่างสร้างภัยอุปสรรคในการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายด้วยเช่นกัน ผลจากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมในประการหลังนี้ทำให้จำเป็นต้องสร้างเครือข่ายเพื่อร่วมกันทำงานให้สามารถเอาชนะภัยอุปสรรคที่เกิดขึ้นได้  ทำให้การทำงานบรรลุเป้าหมายที่ดีกว่า นอกจากนี้ผลจากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมยังมีผลต่อเนื่องไปถึงสถานการณ์ของปัญหาที่องค์การประสบอยู่ในขณะนั้นๆ…

Continue Readingการบริหารจัดการแบบเครือข่าย : ปัจจัย ความสำคัญ ลักษณะการกำเนิด

การบริหารจัดการเครือข่าย : ประเภทของเครือข่าย

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

การบริหารจัดการเครือข่าย : ประเภทของเครือข่าย[1] การดำเนินงานขององค์กรไม่ว่าจะเป็นองค์กรภาครัฐหรือองค์กรในภาคส่วนอื่นๆ ต่างมีพันธกิจ        ที่จะต้องดำเนินการให้สัมฤทธิผลด้วยกันทั้งสิ้น สำหรับการดำเนินงานขององค์กรภาครัฐมีพันธกิจที่ต้องดำเนินงานให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนตามที่กฎหมายกำหนด การให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนในหลายๆ ส่วนเป็นการดำเนินพันธกิจที่ต้องร่วมกันดำเนินงานระหว่างองค์กรภาครัฐด้วยกันเอง องค์กรภาครัฐกับภาคประชาชน หรือองค์กรภาครัฐร่วมกับองค์กรภาคอกชน การดำเนินงานร่วมกันนี้ได้สร้างเครือข่ายการดำเนินงานให้เกิดขึ้น สมาชิกของเครือข่ายจะแบ่งบทบาทและภาระหน้าที่ในการดำเนินงาน มีการร่วมกันดำเนินงานเพื่อให้เป้าหมายร่วมบรรลุผลสำเร็จ มีการประสานงาน มีการสื่อสารระหว่างกัน มีการช่วยเหลือ สนับสนุนการทำงานร่วมกันของฝ่ายต่าง ๆ  การดำเนินงานร่วมกันระหว่างองค์กรในภาคส่วนต่างๆ ด้วยวิธีการที่เหมาะสมจะก่อให้เกิดเครือข่ายการดำเนินงานร่วมกัน ก่อให้เกิดพลังร่วมในการดำเนินงานและเป็นกลไปในการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามพันธกิจให้บรรลุเป้าหมาย ดังนั้นการเกิดขึ้น การสร้าง การพัฒนา การธำรงรักษาเครือข่ายจึงจำเป็นต้องมีแนวคิด หลักการ และวิธีการบริหารจัดการเครือข่ายที่ถูกต้องและเหมาะสมทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงานของเครือข่ายบรรลุเป้าหมายร่วมกัน ด้วยพันธกิจและวิธีการดำเนินงานเฉพาะตัวของเครือข่ายต่างๆ ส่งผลให้มีเครือข่ายหลากชนิด…

Continue Readingการบริหารจัดการเครือข่าย : ประเภทของเครือข่าย

การจัดการปกครองสาธารณะแนวใมห่:องค์ประกอบที่จำเป็นต้องมี

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

                        การจัดการปกครองสาธารณะแนวใหม่:องค์ประกอบที่จำเป็นต้องมี[1]                         เพื่อให้เข้าใจคำว่าการปกครองสาธารณะแนวใหม่ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ควรจะต้องศึกษาถึงองค์ประกอบสำคัญของการจัดการปกครองสาธารณะแนวใหม่ หรือ NPG องค์ประกอบดังกล่าวตามทัศนะของ   สมศักดิ์ สามัคคีธรรม และปรีดา วานิชภูมิ[2].(2556,207-209) ที่กล่าวถึงว่าองค์ประกอบของการจัดการปกครองสาธารณะแนวใหม่จะ ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ประการคือ 1) การกระจายอำนาจสู่รัฐบาลท้องถิ่นและภาคประชาสังคม  2) การมีส่วนร่วมการจัดทำบริการสาธารณะจากภาคส่วนต่างๆ  และ 3) การดำเนินงานด้านการให้บริการสาธารณะของภาคส่วนต่างๆ ในรูปแบบของเครือข่าย ประการแรก การจัดทำบริการสาธารณะนั้นรัฐบาลจะต้องกระจายอำนาจทางการปกครองไปสู่องค์กรในภาคส่วนอื่น โดยเฉพาะการกระจายไปสู่รัฐบาลท้องถิ่นและภาคประชาสังคม รวมทั้งการถ่ายโอนอำนาจทางการเมืองและทรัพยากร…

Continue Readingการจัดการปกครองสาธารณะแนวใมห่:องค์ประกอบที่จำเป็นต้องมี