บทบาทและเป้าหมายของรัฐบาลในทางเศรษฐกิจ

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

บทบาทและเป้าหมายของรัฐบาลในทางเศรษฐกิจ 1. บทบาทของรัฐบาลในทางเศรษฐกิจ โดยหลักการแล้ว ถ้าเชื่อว่าการปล่อยให้กลไกเศรษฐกิจทำงานโดยมีการแข่งขันแบบเสรีจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดแล้ว รัฐบาลควรจะเข้าไปมีบทบาทเกี่ยวกับการจัดสรรการใช้ทรัพยากรของสังคมให้น้อยที่สุดเท่าที่จะน้อยได้ หรืออาจไม่จำเป็นต้องมีรัฐบาลเลยก็ได้ ทั้งนี้เพราะหากปล่อยให้ประชาชนแต่ละคนได้ประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจของตนโดยอิสระแล้วจะทำให้การจัดสรรการใช้ทรัพยากรของสังคมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดโดยใช้กลไกของราคาและปล่อยให้ระบบตลาดทำหน้าที่ของมันเองตามหลักอุปสงค์-อุปทาน และอาศัย “มือที่มองไม่เห็น” หรือ “Invisible hand” มาจัดการให้ตลาดเข้าสู่ระบบดุลยภาพแล้วสังคมจะได้รับความพอใจ หรือได้รับสวัสดิการสูงสุด อย่างไรก็ตาม ในโลกของความเป็นจริงแล้ว กลไกของตลาดหรือราคานั้นจะไม่สามารถทำหน้าที่ของมันได้อย่างสมบูรณ์เต็มที่และอาจเป็นสาเหตุสำคัญที่สามารถทำลายความสงบสุขของสังคมได้ ดังนั้น รัฐบาลในฐานะที่เป็นองค์การที่ใช้อำนาจอธิปไตยของรัฐทางการบริหารจึงต้องเข้ามามีบทบาททางเศรษฐกิจ โดยเป็นผู้จัดสรรสินค้าและบริการในส่วนที่เอกชนไม่อาจทำได้ดี หรือไม่สามารถทำได้ เพื่อให้ประชาชนได้รับสินค้าและบริการที่ดีโดยการดำเนินมาตรการทางด้านการคลังและมาตรการทางด้านการเงิน สำหรับสาเหตุสำคัญที่ทำให้รัฐบาลจำเป็นต้องยื่นมือเข้าไปมีบทบาทหรือแทรกแซงการประกอบการทางเศรษฐกิจของเอกชนมีดังนี้ (เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม 2552) 1. การรักษาตัวบทกฎหมายและการจัดระเบียบภายในสังคม 2.…

Continue Readingบทบาทและเป้าหมายของรัฐบาลในทางเศรษฐกิจ