แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทย

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

ยแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทย[1]                    เช่นเดียวกับการบริหารราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาค อปท. จะมีบทบาทหน้าที่ในการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนของ อปท. สำหรับการจัดบริการสาธารณะของท้องถิ่นจะหมายถึง การบริการหรือกิจกรรมที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำขึ้นเพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนโดยส่วนรวม โดยเป็นกิจการที่อยู่ในความอำนวยการหรืออยู่ในความควบคุมของฝ่ายปกครอง การจัดทำบริการสารณะที่ อปท.จัดทำขึ้นนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อสนองความต้องการส่วนรวมของประชาชนเพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ประชาชนและสร้างการพัฒนาทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมให้กับท้องถิ่น รวมถึงการพัฒนาประเทศชาติในภาพรวม สำหรับหลักการที่สำคัญในการจัดบริการสาธารณะคือ การจัดบริการสาธารณะต้องดำเนินการเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวม สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น มีความเสมอภาค มีความต่อเนื่อง และเกิดความโปร่งใสในการให้บริการ อนึ่ง ในการให้บริการสาธารณะ                    การดำเนินงานด้านบริการสาธารณะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประกอบด้วย 1) การจัดบริการสาธารณะที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การสร้างถนน ทางระบายน้ำ ไฟฟ้าสาธารณะ และการบริหารจัดการแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร 2)…

Continue Readingแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทย

การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารการคลังทางด้านการรายจ่าย

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารการคลังทางด้านการรายจ่าย[1]                     การบริหารจัดการงบประมาณที่ดีของ อปท. จะช่วยสร้างประสิทธิภาพการบริหารการคลังที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนผู้ที่รับบริการของ อปท. ซึ่งสามารถกระทำได้โดย                              1) การควบคุมอัตราการเพิ่มของรายจ่าย ของ อปท. ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายควบคู่กันไปด้วย กล่าวคือ[2]                                       (1)  การควบคุมอัตราการเพิ่มรายจ่ายของ อปท. นั้นในทัศนะของสุพัฒน์จิตร ลาดบัวขาวเห็นว่า “เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้วว่าผู้บริหารท้องถิ่นที่มาจากนักการเมืองท้องถิ่นมีแข่งขันกันการให้บริการสาธารณะเพื่อสร้างฐานคะแนนนิยมของตนเองกับประชาชนในท้องถิ่น โดยไม่คำนึงถึงความเหมาะสมจากการประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale) หรือการมีขนาดของบริการสาธารณะที่เหมาะสมภายในท้องถิ่น โดยมักจะมีแนวโน้มจัดบริการสาธารณะท้องถิ่นขนาดใหญ่เกินความสามารถทางการคลังของท้องถิ่น ซึ่งอาจส่งผลต่อวินัยทางการคลังของท้องถิ่นและส่งผลต่อการจัดสรรรายจ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรของท้องถิ่นและทรัพยากรภายในประเทศจากการไม่มีประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรดังกล่าว…

Continue Readingการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารการคลังทางด้านการรายจ่าย

การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารการคลังทางด้านการบริหารหนี้สาธารณะ

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารการคลังทางด้านการบริหารหนี้สาธารณะ[1]       1. การพัฒนาประสิทธิภาพด้านการบริหารหนี้สาธารณะ[2] กระทำได้โดย                              1) การเพิ่มรายได้รัฐ ที่ดำเนินการอย่างเป็นธรรมและมีเป้าหมายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ระหว่างประชาชนกลุ่มต่าง ๆ) เช่น การจัดระบบภาษีให้มีลักษณะอัตราก้าวหน้า (progressive) และตรงตามหลักความเสมอภาคทางภาษี และมีการเพิ่มภาษีใหม่ ๆ โดยเฉพาะจากฐานทรัพย์สิน                              2) วางแผนการใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง โดยที่ใช้จ่ายเพื่อสร้างฐานทางสังคมและเศรษฐกิจ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำอย่างแท้จริงในสังคม และ                               3) การบริหารหนี้สาธารณะอย่างโปร่งใส โดยใช้วิธีการวางแผนระยะปานกลางถึงยาว (5 ปีเป็นอย่างน้อย) บริหารภาระทางการคลังอย่างเหมาะสม …

Continue Readingการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารการคลังทางด้านการบริหารหนี้สาธารณะ