สิ่งที่ช่วยสร้างนวัตกรรมการทำงาน

1. การเปิดใจ (Openness) ผู้บริหารจะต้องสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่มุ่งเน้นการเปิดใจยอมรับสิ่งใหม่หรือความคิดเห็นใหม่ของจากครูและผู้ที่เกี่ยวข้องในลักษณะของการเปิดพื้นที่ทางความคิดที่ไม่มุ่งเน้นการตัดสินถูกหรือผิด แต่จะต้องเป็นพื้นที่ความคิดที่ทุกคนรู้สึกอิสระและไม่มีข้อจำกัดเพื่อให้เกิดการระดมความคิดเห็น(Brainstorming) และร่วมกันกำหนดเป้าประสงค์ในการพัฒนาการปฏิบัติงานของตนและสถานศึกษาที่มุ่งสู่นวัตกรรม (Innovative Goal) 2. การมุ่งมั่นตั้งใจ ( Willingness) ผู้บริหารจะต้องกระตุ้นให้ครูมีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะปฏิบัติงานให้บรรลุสู่เป้าประสงค์ในการพัฒนาการปฏิบัติงานของครูที่มุ่งสู่นวัตกรรม โดยผู้บริหารจะต้องชี้นำให้ครูวิเคราะห์สถานการณ์และโอกาสในการสร้างนวัตกรรมใหม่ในมุมมองที่หลากหลายมุมมองโดยพิจารณาปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกสถานศึกษาเพื่อวิเคราะห์ความแตกต่างและความเป็นไปได้ในการสร้างนวัตกรรม  3. การกล้าเสี่ยง/กล้าลอง ( Taking Risk) ผู้บริหารจะต้องสนับสนุนให้ครูลองนำวิธีการหรือแนวคิดใหม่ๆ ประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนอย่างต่อเนื่อง ครูสามารถค้นพบวิธีการหรือแนวคิดใหม่ในระหว่างการทดลองใช้ได้อย่างไม่มีข้อจำกัด จนกระทั่งเกิดผลลัพธ์เชิงประจักษ์ว่าวิธีการดังกล่าวใช้แล้วได้ผลจริงจึงจะสามารถเรียกวิธีการหรือแนวคิดใหม่ๆเหล่านั้นได้ว่าเป็นนวัตกรรม ทั้งนี้ผู้บริหารและครูจะต้องร่วมกันวางแผนบริหารความเสี่ยงในการนำนวัตกรรมไปทดลองใช้ ตลอดจนวางมาตรการรองรับในกรณีที่เกิดสถานการณ์นอกเหนือจากแผนการดำเนินงาน 4. การวิจัยและพัฒนา (Research & Development : R&D) เมื่อได้นวัตกรรมใหม่แล้วผู้บริหารจะต้องกระตุ้นให้ครูคิดค้นแนวคิด/วิธีการใหม่ๆ…

Continue Readingสิ่งที่ช่วยสร้างนวัตกรรมการทำงาน

New service business model

โมเดลธุรกิจบริการใหม่ (New service business model) มีแนวทางดังนี้   (1.1) โมเดลการสร้างรายได้จากบริการใหม่ (New Service Revenue Model)   (1.2) การสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อเพิ่มคุณค่า (Value Network Cooperation)   (1.3) การแบ่งส่วนตลาดใหม่ (New Market Segment) เป็นการพัฒนาบริการเพื่อตอบสนองกลุ่มลูกค้าเฉพาะ หรือปรับเปลี่ยนตําแหน่ง/ระดับการให้บริการลูกค้าจากที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

Continue ReadingNew service business model

Service Productivity

ผลผลิตการบริการ (Service Productivity) หมายถึง ปริมาณผลผลิตที่ได้จากการบริการต่อแรงงานที่ใช้     หรือ ผลผลิตการบริการ (Service Productivity) = ปริมาณผลผลิตที่ได้/ แรงงานที่ใช้ •ซึ่งผลผลิตที่ได้จากการบริการอาจวัดในรูปของจำนวนผู้ใช้บริการ จำนวนครั้งของการให้บริการ และยอดขายหรือรายได้ที่ได้จากการบริการ ส่วนแรงงานที่ใช้ อาจวัดเป็นจำนวนชั่วโมงการทำงาน หรือค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้ให้บริการ

Continue ReadingService Productivity