แนวทางในการจัดการการเงิน (How to do financial management?)

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

1) การปรับปรุงกระแสเงินสดของกิจการให้มีสภาพคล่อง สะท้อนถึงความสามารถของกิจการในการทำกำไรจากการดำเนินงาน (Operation Profit) หรือเรียกว่ากำไรก่อนต้นทุนทางการเงินและภาษีเงินได้ (Earnings Before Interest and Tax: EBIT) โดยจะต้องคำนึงถึงรายได้จากการขายหักค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานหลังภาษีเงินได้ โดยกิจการจะต้องควบคุมรายได้รวมให้สูงสุด และค่าใช้จ่ายรวมให้ต่ำสุด และเมื่อนำมาหักจำนวนเงินลงทุนในสินทรัพย์ที่ใช้ดำเนินงานก็จะได้เงินสดที่จะได้รับหรือจ่ายไป ซึ่งอาจเรียกว่า กระแสเงินสดอิสระ (Free Cash Flow: FCF) ที่จะส่งผลต่อสภาพคล่อง (Liquidity) ของกิจการได้ โดยสภาพคล่องของกิจการจะเกิดขึ้นเมื่อกิจการใช้ประเภทเงินทุนให้เหมาะสมในการลงทุนในสินทรัพย์แต่ละประเภท มีการควบคุมจังหวะเวลาของกระแสเงินสดรับและกระแสเงินสดจ่ายในปัจจุบันและในอนาคตให้สอดคล้องกัน เช่น กิจการมีการถือเงินสดหรือสินทรัพย์หมุนเวียนที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่ายและในปริมาณเพียงพอต่อการชำระหนี้สินหมุนเวียนที่ถึงกำหนดได้ ก็จะทำให้กิจการมีสภาพคล่องสูง…

Continue Readingแนวทางในการจัดการการเงิน (How to do financial management?)

วัตถุประสงค์ของการจัดการการเงิน (Objectives of Financial Management)

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

สำหรับการจัดการการเงินโดยทั่วไปจะมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญได้แก่ 1) สร้างความมั่งคั่งสูงสุดให้แก่ผู้ถือหุ้น (Stockholder Wealth Maximization) 2) สร้างกำไรสูงสุด (Profit Maximization) 3) มีการให้รางวัลสูงสุดในการบริหาร (Managerial Reward Maximization) 4) มีเป้าหมายเชิงพฤติกรรมของกิจการ (Behavioral Goals) 5) มีความรับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsibility) ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ด้านการสร้างความมั่งคั่งสูงสุดให้กับผู้ถือหุ้นถือได้ว่าเป็นวัตถุประสงค์ที่สำคัญมากที่สุด เนื่องจากถือว่าเป็นการทำให้ราคาตลาดของหุ้นสามัญให้สูงสุดนั่นเอง ส่วนวัตถุประสงค์อื่นที่กล่าวไปนั้นมีอิทธิพลต่อนโยบายของกิจการแต่ไม่สำคัญเท่าการสร้างความมั่งคั่งให้กับผู้ถือหุ้น (Shim and Siegel,…

Continue Readingวัตถุประสงค์ของการจัดการการเงิน (Objectives of Financial Management)

ความสำคัญของการจัดการการเงิน (Importance of Financial Management)

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

ในการดำเนินงานของธุรกิจในกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์การรูปแบบใดต่างต้องใช้เงินทั้งสิ้น เช่น การขยายหรือสร้างโรงงาน การซื้อที่ดิน การซื้อเครื่องจักร การซื้อวัตถุดิบ การรับพนักงาน เป็นต้น ผู้บริหารการเงินมักจะต้องตัดสินใจว่า การดำเนินงานใดสามารถปฏิบัติได้ และยังต้องคอยติดตามผลการดำเนินงานว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่ การตัดสินใจการเงินที่ผิดพลาดจะทำให้เกิดความเสียหายต่อกิจการ ถ้าเมื่อไรก็ตามที่การหมุนเวียนของเงินในธุรกิจหยุดชะงัก จะส่งผลให้การดำเนินงานของธุรกิจสิ้นสุดลงตามไปด้วย แต่ถ้าการจัดการการเงินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จะส่งผลให้กิจการนั้นเจริญเติบโต ซึ่งเป็นผลดีกับบุคคลทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น การจัดการการเงินจึงมีบทบาทที่สำคัญต่อธุรกิจเป็นอย่างมาก                   อีกทั้งในปัจจุบันธุรกิจยังต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มากมายในยุคโลกาภิวัฒน์ เช่น ภาวะเศรษฐกิจและการเงินที่ผันผวน การแข่งขันระหว่างธุรกิจที่รุนแรงมากขึ้น หรือการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม สังคมและเทคโนโลยี เป็นต้น…

Continue Readingความสำคัญของการจัดการการเงิน (Importance of Financial Management)