ความเป็นอิสระของโครงการ (Independence of Projects)

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

ความอิสระของโครงการ หมายถึง เสรีภาพที่โครงการนั้นๆ มีในการดำเนินการและตัดสินใจต่างๆ โดยไม่ได้รับความผูกพันหรือกำหนดจากโครงการอื่นๆ ทั้งนี้ การทราบความเป็นอิสระของโครงการจะสามารถช่วยให้การวิเคราะห์โครงการเพื่อประเมินความคุ้มค่าการลงทุนทำได้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น ความเป็นอิสระของโครงการสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทที่สำคัญ คือ โครงการเจาะจงเลือก (Mutually Exclusive)  และโครงการอิสระ (Independent project) 1. โครงการเจาะจงเลือก (Mutually Exclusive) หมายถึง การตัดสินใจลงทุนในโครงการหนึ่งจะมีผลกระทบต่อการตัดสินใจลงทุนต่ออีกโครงการหนึ่งได้ เช่น การตัดสินใจเลือกลงทุนในโครงการหนึ่งทำให้ไม่สามารถเลือกลงทุนโครงการที่สองได้จึงเห็นได้ว่าโครงการทั้งสองนี้เป็นโครงการที่มีความสัมพันธ์ที่ต้องวิเคราะห์ในลักษณะที่ผู้บริหารโครงการต้องเจาะจงเลือกโครงการใดโครงการหนึ่ง ตัวอย่างเช่น การลงทุนเพื่อสร้างสายพานลำเลียงวัตถุดิบในอาคารคลังสินค้าจะทำให้ไม่สามารถเลือกการลงทุนในรถขนย้ายสินค้าได้ เพราะการสร้างสายพานลำเลียงวัตถุดิบในอาคารจะทำให้ไม่มีพื้นที่เพียงพอที่จะใช้รถขนย้ายสินค้าเข้ามาวิ่งในอาคารได้ การตัดสินใจนี้จึงเป็นการตัดสินใจในทางเลือกโครงการใดโครงการหนึ่ง กล่าวคือ…

Continue Readingความเป็นอิสระของโครงการ (Independence of Projects)

การบริหารโครงการ (Project Management)

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

การบริหารโครงการ หรือเรียกว่า วงจรโครงการ หมายถึง การดำเนินงานโครงการตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดโครงการ โดยเริ่มตั้งแต่การกำหนดโครงการ การนำโครงการไปดำเนินการ จนกระทั้งสิ้นสุดโครงการ ซึ่งผู้วิเคราะห์โครงการควรศึกษารายละเอียดของโครงการ เพื่อเข้าใจวัตถุประสงค์ ขั้นตอน วิธีการดำเนินงาน เป้าหมาย งบประมาณ ระยะเวลาในการดำเนินงาน ตลอดจนตรวจสอบความสอดคล้องในประเด็นต่างๆ ของโครงการ เมื่อดำเนินการวิเคราะห์โครงการในด้านต่างๆ แล้ว ก็จะจัดทำข้อเสนอโครงการ แล้วเมื่อมีการนำโครงการไปดำเนินการ ก็จะต้องติดตามและประเมินผลโครงการเพื่อนำมาปรับปรุงการดำเนินโครงการเป็นระยะๆ หรือใช้ประโยชน์สำหรับปรับแก้ไขขั้นตอนอื่นๆ ก่อนหน้าได้ จนเมื่อโครงการสิ้นสุดลงก็ยังสามารถใช้ข้อมูลต่างๆ ของโครงการในการบริหารโครงการอื่นๆ ต่อไปได้ โดยการบริหารโครงการตั้งแต่ต้นจนสิ้นสุดโครงการอาจแบ่งออกเป็น 3 ช่วง…

Continue Readingการบริหารโครงการ (Project Management)

Enhancing the Service Quality by TQM

ธุรกิจการบริการได้นำแนวคิดของการบริหารคุณภาพแบบครบวงจร (Total Quality Management or TQM) มาใช้ในการยกระดับคุณภาพการบริการ คือ มุ่งเน้นคุณภาพในทุก ๆ ขั้นตอนหรือกระบวนการของการให้บริการที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการให้เกิดความพึงพอใจสูงสุด โดยผู้ให้บริการทุกคนได้มีส่วนร่วมในการออกแบบการบริการที่ไม่ทำให้เกิดข้อมูลผิดพลาด (Zero Defect) ซึ่งแนวคิดการบริหารคุณภาพแบบครบวงจร ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก คือ    1)  การกำหนดความต้องการของผู้รับบริการที่ถูกต้อง   2)  มีการกำหนดมาตรฐานของการปฏิบัติงาน   3)  มีการประเมินวัดผลงาน 

Continue ReadingEnhancing the Service Quality by TQM