ความสำคัญของการควบคุมต่อองค์การ

1. การควบคุมมีความสำคัญต่อหน้าที่ทางการบริหารอื่นๆในองค์การ 1) การควบคุมมีความสำคัญต่อการวางแผน กล่าวคือ การควบคุมทำให้เกิดการบรรลุเป้าหมายและวิธีการที่กำหนดไว้ในแผน ถ้ามีปัญหาอุปสรรคก็สามารถปรับปรุงแก้ไขได้ทันท่วงที และทำให้การทบทวนหรือปรับปรุงแผนใหม่ในอนาคตง่ายขึ้น เนื่องจากมีข้อมูลว่าแผนดังกล่าวบรรลุเป้าหมายหรือไม่ อย่างไร เช่น การควบคุมการดำเนินงานตามแผนประชาสัมพันธ์ทำให้การประชาสัมพันธ์ขององค์การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น  เป็นต้น  นอกจากนี้ ในระหว่างดำเนินการตามแผน ถ้ามีการควบคุมจะทำให้ทราบความก้าวหน้าของแผนว่าเป็นไปตามเป้าหมายหรือมาตรฐานที่กำหนดไว้หรือไม่ อย่างไรอีกด้วย       2) การควบคุมมีความสำคัญต่อการประสานงาน กล่าวคือ เพื่อให้การประสานงานของหน่วยงานภายในองค์การประสบความสำเร็จ ฝ่ายบริหารองค์การควรให้ความสำคัญกับการควบคุมเพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ปฏิบัติงานในความรับผิดชอบของตนเองได้บรรลุเป้าหมายตามแผน ซึ่งจะส่งผลดีต่อการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นๆ ในองค์การด้วย ในทางตรงกันข้าม ถ้าผู้บริหารองค์การไม่ควบคุมการปฏิบัติงานในส่วนที่ตนรับผิดชอบอยู่อาจส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นในองค์การ หรือสร้างปัญหาหรือความขัดแย้งกับหน่วยงานอื่น 2.…

Continue Readingความสำคัญของการควบคุมต่อองค์การ

The Controlling

การให้นิยามการควบคุมอยู่บนแนวคิดพื้นฐานที่สำคัญ  2 ประการ กล่าวคือ ประการที่ 1 การควบคุมเป็นการติดตามตรวจสอบการทำงานขององค์กร และประการที่ 2 การควบคุมมุ่งให้ผลการปฏิบัติงานเป็นไปตามมาตรฐานผลการปฏิบัติงานหรือวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้   ดังการให้นิยามของ ฟาโยล (Fayol, 1964 : 57) ซึ่งได้กล่าวถึงความหมายของการควบคุมว่า การควบคุม หมายถึง การตรวจสอบทุกสิ่งว่าสอดคล้องกับแผนและหลักการที่กำหนดไว้หรือไม่ โดยการควบคุมมีวัตถุประสงค์ คือ การค้นหาผิดพลาด เพื่อปรับปรุงแก้ไขและป้องกันไม่ให้เกิดการคลาดเคลื่อนจากวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ เช่นเดียวกับ รอบบินส์ และคูลเตอร์ (Robbins and Coulter,…

Continue ReadingThe Controlling

Public Policy as an Important Tool for National Development

Public Policy as an Important Tool for National Development: นโยบายสาธารณะในฐานะเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาประเทศ   นโยบายสาธารณะเป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศเพราะมีความสำคัญในฐานะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ ซึ่งสามารถพิจารณาประเด็นสำคัญในการเข้าไปมีส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศด้านต่างๆ ดังนี้ (1) การเป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการสร้างเศรษฐกิจ การพัฒนาประเทศภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ยืนอยู่บนพื้นฐานความสมดุล จะต้องเอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงระบบบริหารจัดการประเทศที่มุ่งสู่ประสิทธิภาพ คุณภาพ รู้เท่าทันและก้าวทันโลกด้วย โดยมีความสามารถเลือกใช้ความรู้และเทคโนโลยีอย่างคุ้มค่าและเหมาะสม มีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี และมีความยืดหยุ่นที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงควบคู่กันไปกับความมีคุณธรรมและความซื่อสัตย์สุจริต ดังนั้น นโยบายสาธารณะจึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญ (2) การเป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการสร้างสังคม นโยบายสาธารณะเป็นเครื่องมือในการพัฒนาสังคมที่พึงประสงค์กล่าวคือ การเป็นสังคมคุณภาพที่ยึดหลักความสมดุลและพึ่งพาตนเองได้ การเป็นสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้…

Continue ReadingPublic Policy as an Important Tool for National Development