Types of Coordination

การประสานงานเป็นวิธีการเชื่อมโยงการทำงานของส่วนต่างๆในองค์การเพื่อให้เกิดผลสำเร็จตามเป้าหมาย ถ้าส่วนต่างๆในองค์การมีความแตกต่างกันมาก (Differentation) ยิ่งมีความจำเป็นที่ต้องใช้รูปแบบการประสานงานที่เหมาะสม ในที่นี้ ผู้เขียนได้แบ่งรูปแบบของประสานงานในองค์การตามมิติการจัดองค์การ มิติโครงสร้าง มิติความเป็นทางการ และมิติพื้นที่              การประสานงานจำแนกตามมิติการจัดองค์การ การประสานงานจำแนกตามมิติการจัดองค์การ แบ่งเป็น 1) การประสานงานผ่านการจัดองค์การแบบพันธกิจ  หมายถึง การจัดองค์การโดยนำองค์การที่มีพันธกิจเหมือนกันรวมเข้าอยู่ด้วยกันเพื่อให้เกิดการประสานงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เช่น การนำกลุ่มนโยบายและยุทธศาสตร์ กลุ่มงานแผนงานและโครงการ และกลุ่มงานติดตามและประเมินมารวมอยู่ด้วยกันในสำนักนโยบายและแผนเพื่อให้การประสานงานด้านนโยบายและแผนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เป็นต้น                          2) การประสานงานผ่านการจัดตั้งหน่วยงานการบริหารเชิงกลยุทธ์ หมายถึง การจัดตั้งหน่วยงานการบริหารเชิงกลยุทธ์เพื่อทำหน้าที่ประสานงานและติดตามการดำเนินงานของหน่วยงานอื่นให้ดำเนินการตามกลยุทธ์ที่องค์การกำหนดไว้ เช่น การจัดตั้งหน่วยบริหารยุทธศาสตร์ในองค์การ เพื่อประสานงานการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ในแผนยุทธศาสตร์ขององค์การ เป็นต้น…

Continue ReadingTypes of Coordination

Coordinating

บุคคลในองค์การไม่ได้อยู่แบบโดดเดี่ยว แต่มีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นในรูปแบบต่างๆ ซึ่งในองค์การมีการแบ่งโครงสร้างออกเป็นหน่วยงานย่อยๆ หลายหน่วยงาน โดยเฉพาะองค์การขนาดใหญ่ โครงสร้างจะมีหน่วยงานย่อยๆจำนวนมากและมีความสลับซับซ้อนมาก ดังนั้น การประสานงานจึงยิ่งมีความสำคัญมากขึ้นเป็นลำดับ นอกจากนี้ การประสานงานถือได้ว่าเป็นหน้าที่ประการหนึ่งของผู้บริหารองค์การการประสานงาน (Coordinating) มีความเกี่ยวข้องกับการบริหารองค์การ และเป็นหน้าที่ประการสำคัญของนักบริหารดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น การให้นิยามการประสานงานมีแนวคิดพื้นฐานที่สำคัญ 2 ประการ คือ  1) การจัดระเบียบวิธีการทำงานและบุคลากรที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมมือปฏิบัติงานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  2) การมุ่งเน้นการปฏิบัติงานตามวัตถุประสงค์ขององค์การลูเธอร์ กูลิค และลินดัล เออร์วิกค์  (Luther Gulick and Lyndall Urwick, 1937)…

Continue ReadingCoordinating

Coordinating Principle

เพื่อให้เกิดการประสานงานในองค์การ อันส่งผลให้การปฏิบัติงานที่ราบรื่นและมีประสิทธิภาพ ควรคำนึงถึงหลักการประสานงานที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1.ด้านโครงสร้างองค์การ การประสานงานที่ดีจะเกิดขึ้นได้เมื่อองค์การมีโครงสร้างองค์การที่มีแบบแผน ชัดเจน ดังนั้น องค์การควรจัดทำแผนผังโครงสร้างองค์การ (Organizaiton Chart)   เพื่อให้บุคลากรทุกคนในองค์การทราบสายการบังคับบัญชาและหน้าที่ของแต่ละฝ่ายอย่างชัดเจน อันจะเอื้อต่อการประสานการทำงานของฝ่ายต่างๆในองค์การ 2. ด้านระบบงาน ระบบการทำงานที่มีขั้นตอนและผู้รับผิดชอบชัดเจน ทำให้บุคลากรทราบหน้าที่รับผิดชอบของแต่ละฝ่าย และวิธีการดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมาย สอดคล้องกับแนวคิดของฟาโยล (Fayol อ้างถึงใน สมยส นาวีการ, 2544 : 203)  ซึ่งได้กล่าวถึงหลักการประสานงานไว้ว่า แต่ละแผนกต้องทำงานประสานงานกับแผนกอื่นๆ แผนกพัสดุจะต้องรู้ว่าต้องจัดหาอะไรบ้าง แผนกผลิตจะรู้ว่าถูกคาดหวังให้ทำอะไรบ้าง งานทุกอย่างจะถูกดำเนินการอย่างมีระเบียบและแน่นอน …

Continue ReadingCoordinating Principle