กระบวนการตรวจสอบภายใน

การปฎิบัติงานงานตรวจสอบภายในมีขั้นตอนการดำเนินงานแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ประกอบไปด้วย ขั้นตอนที่ 1 การวางแผนและเตรียมการสำหรับการตรวจสอบภายใน  ขั้นตอนที่ 2 การปฎิบัติงานตรวจสอบภายใน และขั้นตอนที่ 3 การรายงานและติดตามผลการตรวจสอบภายใน ขั้นตอนที่ 1 การวางแผนและเตรียมการสำหรับการตรวจสอบภายใน               1.1 การวางแผนการตรวจสอบภายใน             หัวหน้างานตรวจสอบภายใน (Chief Audit Executive: CAE) ทำการวางแผนการตรวจสอบตามความเสี่ยง (Risk based Plan) ทั้งการวางแผนการตรวจสอบประจำปี และการวางแผนการตรวจสอบระยะยาว ซึ่งกระบวนการวางแผนการตรวจสอบภายในมีดังนี้ กำหนดวิธีการคัดเลือกผู้รับการตรวจสอบระบุผู้รับการตรวจสอบจัดอันดับผู้รับการตรวจสอบ เลือกผู้รับการตรวจสอบ                การเตรียมการสำหรับการตรวจสอบ ประกอบด้วยการศึกษาข้อมูลของหน่วยงานที่จะทำการตรวจสอบกำหนดวัตถุประสงค์และขอบเขตของงาน เลือกทีมตรวจสอบ การจัดทำแนวการตรวจสอบ การแจ้งผู้รับการตรวจสอบและบุคคลที่เกี่ยวข้องการกำหนดบุคคลที่ต้องส่งมอบผลรายงานการตรวจสอบ การขออนุมัติการตรวจสอบ ศึกษารายละเอียดขั้นตอนการวางแผนและการเตรียมการสำหรับการตรวจสอบภายใน ได้จากหน่วยที่ 10 ขั้นตอนที่ 2 การปฎิบัติงานตรวจสอบภายใน             การปฎิบัติงานตรวจสอบภายใน ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ การสำรวจเบื้องต้น และการสอบทานการควบคุมภายใน โดยมีขั้นตอนของแต่ละส่วนดังนี้             2.1 การสำรวจเบื้องต้นและการสอบทานการควบคุมภายใน                         2.1.1 การหาข้อมูลและทำความเข้าใจกระบวนการขอบเขตของหน่วยที่รับการตรวจสอบ…

Continue Readingกระบวนการตรวจสอบภายใน

ประเภทของการตรวจสอบภายใน

การตรวจสอบภายในถือได้ว่าเป็นกระบวนการหนึ่งที่สำคัญในการนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมาย ซึ่งมุ่งเน้นการสร้างและรักษาคุณค่าขององค์กรโดยการให้ความเชื่อมั่น คำแนะนำ ความเข้าใจที่เที่ยงธรรมและเป็นไปตามความเสี่ยง ดังนั้นการให้บริการตรวจสอบภายในได้จำแนกประเภทตามลักษณะการให้บริการ ประกอบด้วย 1) การให้บริการความเชื่อมั่น (Assurance Service) และ 2) การให้บริการคำปรึกษา (Consulting Service) ลักษณะการให้บริการการตรวจสอบภายใน             การบริการของการตรวจสอบภายใน มี 2 ลักษณะคือ การบริการให้ความเชื่อมั่น และการบริการให้คำปรึกษา ซึ่งไม่ว่าจะบริการในรูปแบบใดผู้ตรวจสอบภายในต้องยึดหลักการปฎิบัติงานวิชาชีพตรวจสอบภายใน (Core Principle for Professional Practice of Internal Auditing) นั่นก็คือ การปฎิบัติหน้าที่ทำด้วยความซื่อสัตย์ เที่ยงธรรม เป็นอิสระ มีความสามารถที่เหมาะสมกับงาน ระมัดระวังเยี่ยงวิชาชีพ ให้บริการที่สอดคล้องกับเป้าหมายและความเสี่ยงขององค์กร ซึ่งผลงานต้องแสดงให้เห็นถึงคุณภาพ…

Continue Readingประเภทของการตรวจสอบภายใน

เศรษฐกิจฟองสบู่

เศรษฐกิจฟองสบู่ (Bubble Economy) เกิดขึ้นในทุกภูมิภาคของโลก และเมื่อเกิดปัญหาฟองสบู่แตก จะเกิดปัญหาเศรษฐกิจหดตัวอย่างรุนแรงจนอาจถึงขั้นเกิดวิกฤติเศรษฐกิจดังวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง พ.ศ.2540 ของประเทศไทย และวิกฤติเศรษฐกิจซับไพร์ม หรืออาจเรียกว่าวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ในปี พ.ศ.2551 ในประเทศสหรัฐอเมริกา เศรษฐกิจกิจฟองสบู่ คือภาวะที่ราคาสินทรัพย์ต่างๆเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจึงทำให้เสมือนเศรษฐกิจของประเทศมีการเติบโต ซึ่งสินทรัพย์ที่มีราคาเพิ่มขึ้นส่วนมากเป็นสินทรัพย์ลงทุนที่มีผู้เข้ามาเก็งกำไร โดยคาดว่าเศรษฐกิจเติบโตขึ้นทำให้มีอุปสงค์ต่อสินทรัพย์นั้นเพิ่มขึ้นในอนาคตทำให้ราคาสินทรัพย์มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นในอนาคต ทำให้มีทั้งผู้ลงทุนและนักเก็งกำไรเข้ามาซื้อสินทรัพย์ลงทุนจำนวนมากจึงทำให้อุปสงค์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้สินทรัพย์ลงทุนมีราคาปรับเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสินทรัพย์ลงทุนที่มีนักเก็งกำไรเข้ามาเก็งกำไรอย่างมากมักจะเป็นสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น อนุพันธ์ และสินทรัพย์จริง เช่น อสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัย เป็นต้น โดยเฉพาะการเก็งกำไรที่ใช้การก่อหนี้เพื่อเก็งกำไรจะเป็นอัตรายต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจอย่างมาก เมื่อนักเก็งกำไรเห็นว่าสินทรัพย์ลงทุนมีราคาสูงมากแล้วจะเทขายเพื่อทำกำไร โดยเฉพาะเมื่อนักเก็งกำไรรายใหญ่ซึ่งถือครองสินทรัพย์จำนวนมากได้เทขายสินทรัพย์ทำกำไรเพราะเกรงว่าราคาจะลดลงในอนาคตเนื่องจากราคาได้ขึ้นมามากแล้ว การเทขายสินทรัพย์จำนวนมากนี้เป็นการเพิ่มอุปทานในตลาดทำให้ราคาตลาดของสินทรัพย์ลงทุนลดลงอย่างรวดเร็ว…

Continue Readingเศรษฐกิจฟองสบู่