แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการจัดองค์การและการจัดองค์การภาครัฐ

กระบวนการจัดองค์การ           สำหรับการจัดองค์การมีขั้นตอนที่ต้องดำเนินการอย่างเป็นกระบวนการตามลำดับก่อนหลังใน 7 ขั้นตอนดังนี้           1. การกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) เป็นการกำหนดภาพขององค์การที่พึงปรารถนาในอนาคต โดยผู้จัดการจะเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการกำหนดวิสัยทัศน์ ซึ่งถือเป็นการวางแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานขององค์การในอนาคตด้วย ในส่วนของการกำหนดวิสัยทัศน์นี้จะครอบคลุมถึงการกำหนดวัตถุประสงค์ ตลอดจนนโยบายและแผนขององค์การไว้ด้วย           2. การกำหนดพันธกิจ (Mission) จะเป็นการกำหนดภาระหน้าที่และความรับผิดชอบขององค์การเพื่อให้ทราบว่าองค์การควรดำเนินการในเรื่องใด และไม่ควรดำเนินการในเรื่องใดเพื่อการพัฒนาและแก้ปัญหาขององค์การ ซึ่งในส่วนของพันธกิจต่าง ๆ ขององค์การ โดยทั่วไปแล้วจะมีการกำหนดไว้ในกฎหมาย หรือระเบียบที่เกี่ยวข้องกับองค์การนั้น ๆ                   3. การจัดกลุ่มพันธกิจ…

Continue Readingแนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการจัดองค์การและการจัดองค์การภาครัฐ

หลักการใช้อำนาจของการบริหารราชการส่วนกลางในการบริหารราชการแผ่นดิน

          การบริหารราชการส่วนกลางในการบริหารราชการแผ่นดินมีลักษณะเป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งได้กำหนดให้การบริหารราชการของประเทศไทยมี 3 ส่วน ได้แก่ การบริหารราชการส่วนกลาง ภูมิภาค และท้องถิ่น กล่าวคือ           การบริหารราชการส่วนกลาง  ในการบริหารราชการจะใช้ “หลักการรวมอำนาจ” (Centralization) โดยให้อำนาจการบังคับบัญชาและการวินิจฉัยสั่งการสูงสุดอยู่ในส่วนกลาง คือกรุงเทพมหานครอันเป็นเมืองหลวงและศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐ  ในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ได้กำหนดให้แบ่งส่วนราชการของการบริหารราชการส่วนกลางนั้นประกอบด้วย (1) สำนักนายกรัฐมนตรี (2) กระทรวง หรือทบวงซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากระทรวง (3) ทบวง…

Continue Readingหลักการใช้อำนาจของการบริหารราชการส่วนกลางในการบริหารราชการแผ่นดิน

บทบาทและอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และปลัดกระทรวงในการบริหารราชการ

บทบาทและอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และปลัดกระทรวงในการบริหารราชการ           การดำเนินการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติมได้กำหนดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินสำหรับการบริหารราชการส่วนกลางในระดับกระทรวงที่เป็นความรับผิดชอบของนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และปลัดกระทรวงที่จะต้องบริหารราชการเพื่อผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์ โดยกำหนดอำนาจหน้าที่ของฝ่ายต่าง ๆ ไว้ดังนี้           1. นายกรัฐมนตรี  ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้                       (1) กำกับโดยทั่วไปซึ่งการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อการนี้จะสั่งให้ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และส่วนราชการซึ่งมีหน้าที่ควบคุมราชการส่วนท้องถิ่น ชี้แจงแสดงความคิดเห็น ทำรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการ ในกรณีจำเป็นจะยับยั้งการปฏิบัติราชการใด ๆ…

Continue Readingบทบาทและอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และปลัดกระทรวงในการบริหารราชการ