กฎหมายที่เกี่ยวกับการบริหารราชการที่สำคัญ และใช้เป็นกลไกพื้นฐานในการบริหารราชการไทย

          สำหรับกฎหมายที่เกียวกับการบริหารราชการที่สำคัญ และใช้เป็นกลไกพื้นฐานในการบริหารราชการ ได้แก่ กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน (รังสรรค์ ประเสริฐศรี, 2558) นอกจากนี้ยังมีกฎหมายที่ใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน กฎหมายที่เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ และกฎหมายที่เกี่ยวกับการบริหารอื่นๆ ซึ่งมีสาระที่สำคัญ ดังนี้ 1. กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน           สำหรับกฎหมายที่ใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน ได้แก่ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 (และที่แก้ไขเพิ่มเติมมาจนถึงฉบับปัจจุบัน)[1] ซึ่งได้กำหนดโครงสร้างและระเบียบปฏิบัติราชการที่ใช้เป็นหลักอยู่ขณะนี้ กล่าวคือ ในส่วนของโครงสร้าง ได้จัดแยกระเบียบบริหารราชการออกเป็น…

Continue Readingกฎหมายที่เกี่ยวกับการบริหารราชการที่สำคัญ และใช้เป็นกลไกพื้นฐานในการบริหารราชการไทย

แนวคิดรัฐธรรมนูญ แนวนโยบายแห่งรัฐ และยุทธศาสตร์ชาติที่ส่งผลต่อการบริหารราชการไทย

แนวคิดรัฐธรรมนูญ แนวนโยบายแห่งรัฐ และยุทธศาสตร์ชาติที่ส่งผลต่อการบริหารราชการไทย           รัฐธรรมนูญ แนวนโยบายแห่งรัฐ และยุทธศาสตร์ชาติได้ส่งผลต่อการบริหารราชการไทยโดยตรง ซึ่งสาระสำคัญเหล่านั้นจะเป็นกรอบ แนวทางและทิศทางการบริหารประเทศในระยะยาว สำหรับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ได้บัญญัติ หมวดที่ 6 แนวนโยบายแห่งรัฐที่กำหนดให้รัฐต้องจัดให้มียุทธศาสตร์ชาติ และจัดทำแผนยุทธศาสตร์ชาติ[1] และในมาตรา 65  สำหรับแนวนโยบายของรัฐบาล รัฐธรรมนูญได้กำหนดให้คณะรัฐมนตรีจะต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภา ตามมาตรา 162 นอกจากนี้ยังมีแนวคิดสำคัญอื่นๆที่ส่งผลต่อระบบราชการไทย อาทิ ระบบราชการไทย 4.0 และแนวคิดรัฐบาลดิจิทัล เป็นต้น สำหรับสาระสำคัญโดยสังเขป มีดังนี้ …

Continue Readingแนวคิดรัฐธรรมนูญ แนวนโยบายแห่งรัฐ และยุทธศาสตร์ชาติที่ส่งผลต่อการบริหารราชการไทย

แนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่ส่งผลต่อการบริหารราชการไทย

แนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่ส่งผลต่อการบริหารราชการไทย           แนวคิดและหลักการทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่ส่งผลต่อการบริหารราชการไทยมี 5 แนวคิด (จิรวัฒน์ เมธาสุทธิรัตน์,2564) ที่สำคัญดังนี้ คือ           1 แนวคิดรัฐประศาสนศาสตร์แนวดั้งเดิมหรือแนวเก่ากับการบริหารราชการไทย           แนวคิดรัฐประศาสนศาสตร์แนวดั้งเดิมหรือแนวเก่า (Old Public Administration: OPA) เป็นแนวคิด ทฤษฎีและหลักการเกี่ยวกับการบริหารงานภาครัฐ ตั้งแต่ ค.ศ.1887-1968 ซึ่งเป็นยุคหรือช่วงเวลาที่ให้ความสำคัญกับค่านิยมทางการบริหารตามหลัก 3E’s คือ ประสิทธิภาพ (Efficiency) ประสิทธิผล (Effectiveness) และประหยัด…

Continue Readingแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่ส่งผลต่อการบริหารราชการไทย