ปรัชญาแห่งศาสตร์ (ตอนที่ 3) : วิธีวิทยา

วิธีวิทยา (Methodology) เป็นวิธีการแสวงหาความรู้ความจริง หรือกระบวนการค้นหาความรู้ความจริงของศาสตร์แขนงต่างๆ ซึ่งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) นั้นมีวิธีวิทยาที่แตกต่างกันการวิจัยเชิงปริมาณใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแบบอนุมาน (Deductive Approach) เป็นการวิเคราะห์จากส่วนใหญ่ไปหาส่วนย่อยแล้วสรุปเป็นข้อค้นพบ (ทวีศักดิ์ นพเกษร, 2548 อ้างถึงใน นาคพล เกินชัย, 2559) สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (Social Sciences Research) นั้นมุ่งเน้นการหาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลลัพธ์ (Cause and Effect Relationship)…

Continue Readingปรัชญาแห่งศาสตร์ (ตอนที่ 3) : วิธีวิทยา

ปรัชญาแห่งศาสตร์ (ตอนที่ 2) : ญาณวิทยา

ญาณวิทยา (Epistemology) เป็นคำที่มาจากภาษาสันสกฤต โดย “ญาณวิทยา” หมายถึงปรัชญาสาขาหนึ่งที่ว่าด้วยบ่อเกิด ลักษณะ หน้าที่ ประเภท ระเบียบวิธี และความสมเหตุสมผลของความรู้ (ราชบัณฑิตยสถาน, 2554) เป็นปรัชญาที่ค้นคว้าหาคำตอบว่ามนุษย์รู้ความเป็นจริงของโลกและชีวิตนั้นได้อย่างไร (สุทัศน์ โชตนะพันธ์, ม.ป.ป.) ตามทัศนะของผู้เขียน ญาณวิทยา เป็นวิธีการค้นหาความรู้ความจริงที่เชื่อมโยงถึงความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับความจริง และความสัมพันธ์ระหว่างผู้วิจัยกับผู้ถูกวิจัย ในฐานะที่เป็นกระบวนการค้นหาความรู้ความจริงในยุคนวสมัย (Postmodern) ซึ่งมีวิธีการค้นหาความรู้ความจริงที่แตกต่างกันดังนี้1. สำนักปฏิฐานนิยม (Positivism) เป็นฐานคติที่สำคัญของการวิจัยในกลุ่มวิทยาศาสตร์ (Science) และเป็นการวิจัยกระแสหลักของกลุ่มสังคมศาสตร์ (Social…

Continue Readingปรัชญาแห่งศาสตร์ (ตอนที่ 2) : ญาณวิทยา

ปรัชญาแห่งศาสตร์ (ตอนที่ 1) : ภววิทยา

ภววิทยา (Ontology) เป็นคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต โดยคำว่า “ภว” (บาลี) หมายถึง สภาวะแห่งการดำรงอยู่ ส่วนคำว่า “วิทยา” (สันสกฤต) นั้นหมายถึง ความรู้ (นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ, 2564) ดังนั้น “ภววิทยา” จึงหมายถึง การมีอยู่หรือการดำรงอยู่ (Being) ของความรู้ (knowledge) ความจริง (Fact) วิชา (Subject) และศาสตร์ (Sciences) แขนงต่างๆ…

Continue Readingปรัชญาแห่งศาสตร์ (ตอนที่ 1) : ภววิทยา