ประเภทของนโยบายในการบริหารราชการไทย

          นโยบายในการบริหารราชการไทย สามารถแบ่งออกเป็น 5 ประเภท           1. นโยบายในการบริหารราชการไทยในฐานะแนวนโยบายแห่งรัฐ หรือแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ซึ่งได้กำหนดสาระสำคัญไว้ใน หมวดที่ 6 ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560ในมาตรา 64-78 ซึ่งเป็นแนวทางให้รัฐดำเนินการตรากฎหมายและกำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดินที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับการปฏิรูปประเทศ และครอบคลุมแนวนโยบายด้านต่างๆ อาทิ ด้านยุทธศาสตร์ ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ด้านการต่างประเทศ ด้านกระบวนการยุติธรรม ด้านเศรษฐกิจ ด้านการศาสนาและสังคม ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านการศึกษา ด้านการสาธารณสุข  รวมถึงด้านการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและศิลปวิทยาการ เป็นต้น…

Continue Readingประเภทของนโยบายในการบริหารราชการไทย

ความหมายของนโยบายการบริหารราชการไทย

มีคำที่สำคัญสองคำคือคำว่า “นโยบาย” (Policy) กับ คำว่า “การบริหารราชการไทย” (Thai Public Administration)           คำว่า “นโยบาย” (Policy) ส่วนมากในแวดวงวิชาการในทางรัฐประศาสนศาสตร์จะพบในรูปของคำว่า นโยบายสาธารณะ (Public Policy) ซึ่งนักวิชาการหลายท่านอย่าง อีสตัน (Easton,1953) ชาร์เคนสกี (Sharkansky,1970) และรวมถึง ฮอกวูดและกันท์ (Hogwood and Gunn,1984) ได้ให้ความหมายซึ่งสามารถสรุปความไปในทางเดียวกันได้ว่า นโยบายสาธารณะ เป็นสิ่งที่รัฐบาลตัดสินใจเลือกที่จะกระทำ…

Continue Readingความหมายของนโยบายการบริหารราชการไทย

มีเทคนิคและเครื่องมืออะไรบ้างที่จะใช้ธำรงรักษาทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นคนดี คนเก่งให้อยู่กับองค์การ

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

เฉลิมพงศ์ มีสมนัย[1]           การธำรงรักษาทรัพยากรมนุษย์ เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับการเก็บรักษา(retention) บุคลากรที่เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถสูง มีผลงานดีเด่นเป็นที่ปรากฏ มีพฤติกรรมการทำงานที่ดีและเป็นที่ยอมรับ มีความมุ่งมั่นในการทำงานให้ประสบความสำเร็จ มีสมรรถนะสูงในการปฏิบัติงาน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นคนดีคนเก่ง(knowledge worker) โดยการเก็บรักษาไว้กับองค์การเพื่อเป็นกำลังสำคัญในการดำเนินงานขององค์การให้บรรลุเป้าหมาย           การธำรงรักษาทรัพยากรมนุษย์มีเทคนิคและเครื่องมือที่สำคัญได้แก่ การบริหารค่าตอบแทน(compensation management)ที่มีประสิทธิภาพ การบริหารผลการปฏิบัติงาน(performance management) การกำหนดข้อบังคับ การวางระเบียบ การกำหนดกฎเกณฑ์ หรือ regulation เพื่อให้บุคลากรยึดถือปฏิบัติเป็นแนวเดียวกันเพื่อให้เกิดการประสานงาน ป้องกันความขัดแย้งและเกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการทำงานร่วมกันระหว่างองค์การกับบุคลากร การดำเนินการเกี่ยวกับวินัย การแรงงานสัมพันธ์(employee relation) สุขภาพและความปลอดภัย…

Continue Readingมีเทคนิคและเครื่องมืออะไรบ้างที่จะใช้ธำรงรักษาทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นคนดี คนเก่งให้อยู่กับองค์การ