ฐานภาษี

ฐานภาษีอากร (Tax Base) คือ สิ่งที่เป็นเกณฑ์ในการนำไปคำนวณเพื่อจัดเก็บภาษี หรือเป็นฐานในการประเมินภาษี  โดยใช้ฐานภาษีคูณอัตราภาษีจะได้จำนวนภาษีที่ต้องชำระ ประเภทของฐานภาษีอากรประกอบด้วย 4 ประเภทคือ ฐานเงินได้ (Income Base) ฐานการบริโภค (Consumption Base) ฐานทรัพย์สิน (Wealth Base)และฐานอื่น (Other Base) โดยมีรายละเอียดดังนี้ ฐานเงินได้           รายได้ของผู้มีเงินได้ใช้เป็นฐานที่เรียกเก็บภาษี ฐานเงินได้เป็นฐานภาษีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดฐานหนึ่ง เพราะเชื่อกันว่ารายได้เป็นเครื่องวัดความสามารถในการเสียภาษีอากร (Ability to Pay)…

Continue Readingฐานภาษี

การผลักภาระภาษี

          การผลักภาระภาษี (Tax Shifting) คือการที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามที่กฎหมายกำหนดแบ่งภาระภาษีบางส่วนหรือทั้งหมดไปให้กับบุคคลอื่น การผลักภาระภาษีโดยทั่วไปอาจมีวิธีการผลักภาระภาษี 2 วิธีคือ (1) การผลักภาระภาษีไปข้างหน้า (2) การผลักภาระภาษีไปข้างหลัง การผลักภาระภาษีไปข้างหน้า (Forward Shifting) เช่น ผู้ผลิตสินค้าซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีจากการผลิตสินค้า ผู้ผลิตอาจผลักภาระภาษีไปให้ผู้บริโภคสินค้าได้โดยการขึ้นราคาสินค้า เป็นต้นการผลักภาระภาษีไปข้างหลัง (Backward Shifting) เช่น ผู้ผลิตสินค้าซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีจากการผลิตสินค้า ผู้ผลิตอาจผลักภาระภาษีไปให้เจ้าของปัจจัยการผลิตที่ใช้ในการผลิตสินค้านั้นได้ เช่น การลดค่าจ้างแรงงาน หรือลดราคาปัจจัยการผลิต เป็นต้น             จากผลของการผลักภาระภาษีตามวิธีที่กล่าวมาแล้วข้างต้นจะเห็นได้ว่าภาระภาษีที่แท้จริงตามตัวอย่างนั้นจะกระทบต่อบุคคล…

Continue Readingการผลักภาระภาษี

ภาระภาษี

ภาระภาษี (Incidence or Burden of Taxation) หมายถึงภาระการชำระภาษีอากรของภาคเอกชนที่ให้กับรัฐ ซึ่งการจัดเก็บภาษีอากรก่อให้เกิดภาระกับเอกชน ปัญหาสำคัญในการพิจารณาเรื่องภาระภาษีนี้คือ ภาระดังกล่าวจะต้องตกอยู่กับผู้เสียภาษีอากร เป็นจำนวนภาษีที่คำนวณจากฐานภาษีคูณอัตราภาษี ซึ่งภาษีอากรที่รัฐเรียกเก็บนั้นไม่ว่าจะเรียกเก็บจากฐานภาษีใด หรือในลักษณะใดก็ตาม ผลของภาระภาษีในท้ายที่สุดจะกระทบต่อรายได้ของประชาชนซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาโดยทั่วไป อย่างไรก็ดีเนื่องจากผู้เสียภาษีมีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายอาจไม่ใช่ผู้รับภาระภาษีไว้ท้ายที่สุด ประเภทของภาระภาษีโดยการพิจารณาความหมายของคำว่าภาระภาษีจึงควรแยกพิจารณาเป็นสองนัย  คือ 1) ภาระภาษีตามกฎหมาย (Statutory Incidence) และ 2) ภาระภาษีทางเศรษฐกิจ (Economic Incidence)            1. ภาระภาษีตามกฎหมาย  หมายถึง…

Continue Readingภาระภาษี