การประมาณกระแสเงินสดที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (2)

กระแสเงินสดจ่ายลงทุนเริ่มแรก (Initial Cost Outlay: IO) หมายถึง กระแสเงินสดที่กิจการคาดว่าจะต้องจ่ายหากตัดสินใจลงทุนในโครงการนั้นๆ โดยทั่วไปกระแสเงินสดจ่ายลงทุนเริ่มแรกจะเกิดขึ้น ณ วันเริ่มต้นดำเนินโครงการ หรือหากนำความรู้เรื่องมูลค่าของเงินตามเวลาที่ได้ศึกษามาก่อนหน้านี้มาใช้ประกอบก็จะหมายถึงกระแสเงินสดจ่าย ณ ปีที่ 0 (หรือต้นปีที่ 1) นั่นเอง             กระแสเงินสดจ่ายลงทุนเริ่มแรกในแต่ละโครงการอาจมีรายละเอียดแตกต่างกันไป แต่ในที่นี้จะขออธิบายเพียงกระแสเงินสดจ่ายลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน โดยมีองค์ประกอบดังนี้          1. ต้นทุนการได้มาของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ต้นทุนดังกล่าวให้หมายรวมถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่จะทำให้สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่กิจการกำลังตัดสินใจซื้อพร้อมใช้งาน เช่น หากกิจการกำลังพิจารณาตัดสินใจซื้อเครื่องจักรใหม่ ต้นทุนของเครื่องจักรใหม่จะประกอบด้วย ราคาซื้อ…

Continue Readingการประมาณกระแสเงินสดที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (2)

การประมาณกระแสเงินสดที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (1)

กระบวนการในการตัดสินใจลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนจะเห็นว่า มีกระบวนการหนึ่งที่สำคัญคือ การประมาณกระแสเงินสดของการลงทุน เนื่องจากในขั้นตอนนี้จำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆ เพื่อให้กระแสเงินสดที่เกี่ยวข้องมีความถูกต้องและใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด ก่อนที่จะนำเอาข้อมูลกระแสเงินสดที่เกี่ยวข้องนั้นไปใช้ในกระบวนการถัดไปคือ การประเมินค่าการลงทุน          กระแสเงินสดที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจลงทุนมีหลักการที่สำคัญ 3 ประการคือ (1) กิจการจะให้ความสำคัญกับกระแสเงินสดมากกว่ากำไรทางบัญชี (2) กระแสเงินสดที่เกี่ยวข้องจะพิจารณาจากกระแสเงินสดส่วนเพิ่ม กล่าวคือ เป็นผลต่างระหว่างกระแสเงินสดที่จะเกิดขึ้นเมื่อกิจการตัดสินใจลงทุนกับกระแสเงินสดที่จะเกิดขึ้นหากกิจการไม่ตัดสินใจลงทุน และ (3) กระแสเงินสดที่เกี่ยวข้องจะพิจารณาจากกระแสเงินสดสุทธิหลังหักภาษีเท่านั้น          กระแสเงินสดที่เกี่ยวข้องกับโครงการนั้นประกอบด้วย          1. กระแสเงินสดจ่ายลงทุนเริ่มแรก          2. กระแสเงินสดสุทธิระหว่างดำเนินโครงการ          3.…

Continue Readingการประมาณกระแสเงินสดที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (1)

รัฐบาลมีรายได้มาจากไหน ?

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

รัฐบาลมีรายได้มาจากไหน[1]             ตามปกติรัฐบาลจะมีรายได้จากแหล่งรายได้ที่สำคัญ 4 แหล่งได้แก่ รายได้จากภาษีอากร รายได้จากรัฐพาณิชย์ รายได้จากการขายสิ่งของและบริการ ในกรณีที่รัฐบาลใช้นโยบายขาดดุลงบประมาณ รัฐบาลจำเป็นต้องก่อหนี้สาธารณะ แต่จะเป็นจำนวนมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับสภาวะทางเศรษฐกิจในปีงบประมาณนั้นๆ สำหรับรายได้ของรัฐบาลส่วนใหญ่จะมาจากภาษีอากรที่ส่วนราชการของกระทรวงการคลังเป็นผู้จัดเก็บ เช่น กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร และยังมีส่วนราชการอื่นที่จัดเก็บภาษีอากรตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นผู้จัดเก็บด้วยเช่นกัน สำหรับรายได้จากภาษีอากรนั้นรัฐจัดเก็บจากภาษีอากรประเภทต่างๆ หลายประเภท กล่าวคือ การจำแนกประเภทของรายได้รัฐบาลสามารถจำแนกได้หลายประเภทแล้วแต่ว่า จะใช้สิ่งใดเป็นเกณฑ์ในการจำแนกประเภท ในกรณีที่จำแนกตามองค์ประกอบของรายได้จะเห็นได้ว่ารายได้ของรัฐบาลจะประกอบด้วย 1) รายได้ประเภทภาษีอากร และ 2) รายได้ประเภทที่มิใช่รายได้ภาษีอากร กล่าวคือ…

Continue Readingรัฐบาลมีรายได้มาจากไหน ?