ทิศทางและแนวโน้มการทำงานในศตวรรษที่ 21 (2)

โดย อ.ดร.สุปัญญดา สุนทรนนธ์

5 ทิศทางและแนวโน้มการทำงานในศตวรรษที่ 21

1.มีการใช้เทคโนโลยีทดแทนมนุษย์มากขึ้น 

โลกปัจจุบันไม่ได้ต้องการเด็กที่ถูกปั๊มออกมาเหมือนๆ กันทุกคนจากแม่พิมพ์เดียวกันอีกต่อไป โลกกำลังผลัดเปลี่ยนจากยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมเดิม เข้าสู่ ‘โลกยุคดิจิตอล’ อย่างเต็มรูปแบบ และโลกไม่ได้ค่อยๆเปลี่ยนแต่เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน (Disruptive) เปลี่ยนอย่างรวดเร็วจนสะบัดคนที่ตามไม่ทันหลุดออกไปจากตลาดแรงงาน  (ยกตัวอย่าง ธนาคาร คนในโรงงานการผลิต CP)

2.รูปแบบและพฤติกรรมการทำงานเปลี่ยนไป  

หลายบริษัท หลายองค์กรมีแนวโน้มปรับตัวเกี่ยวกับพฤติกรรมการทำงานเพื่อตอบรับความต้องการของพนักงานมากขึ้น โดยรูปแบบและพฤติกรรมที่มีแนวโน้มได้รับความนิยมมากขึ้น ได้แก่ ค่านิยมการทำงานแบบพาร์ทไทม์ (Part-time) หรือการทำงานแบบไม่เต็มเวลา ค่านิยมการทำงานแบบยืดหยุ่น (Flexitime) คือระบบที่อนุญาตให้พนังงานสามารถกำหนดเวลาเข้างาน และเวลาเลิกงานเอง รูปแบบการทำงานที่บ้าน (WFH) หรือการทำงานที่บ้าน การแบ่งปันงาน (Job sharing) หรือแบ่งปันกันใช้ลูกจ้าง เช่น สำนักงานบางแห่งอาจมีบริษัทในชั้นเดียวกัน 3-4 บริษัท  แล้วจ้างแม่บ้าน ด้วยกัน

3.งานมีความหลากหลายแปลกใหม่  AI สามารถเพิ่มและทดแทนงานของมนุษย์บางส่วนได้ แต่ในขณะเดียวกันก็มีการสร้างงานใหม่ ๆ เกิดขึ้นด้วย

เช่น นักเขียนคอนเทนท์ (Digital Content Creator) นักพัฒนาโปรแกรม (Programing/ Data Developer) หรือธุรกิจสตาร์ทอัพ (Start Up) นักแข่งกีฬาอิเล็กทรอนิกส์ (Gamer/ E–Sport Athlete) ในที่นี้ขอยกตัวอย่างการทำงานหรืออาชีพที่เกิดจากการแข่งขันกีฬาอีเล็กทรอนิกส์ เช่น แคสเตอร์ ก็คือคนที่แคสเกม  รวมไปถึงอาชีพอย่างนักวิเคราะห์ข้อมูล Big Data Analyst เป็นต้น

4.การปรับใช้และพึ่งพาระบบดิจิทัลในการทำงานมากขึ้น

ในอนาคตทุกๆ ที่จะสามารถเข้าถึงแหล่งอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้ สามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้ จึงทำให้ขนาดออฟฟิศมีขนาดเล็กลง และการทำงานผ่านระบบคลาวด์ก็จะเป็นระบบการทำงานหลักของหลายบริษัท จึงจำเป็นที่องค์กรจะต้องปรับตัวอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงวัฒนธรรมขององค์กรด้วย จำเป็นต้องเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งในปัจจุบันการทำงานผ่านคลาวด์มีมากขึ้น เช่น Google G Suite หรือ Google Docs, Sheet, Slides ซึ่งเป็นการทำงานผ่านคลาวด์ แก้ไขงานได้พร้อมกัน  

5.การเติบโตของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และการมีอาชีพที่สองผ่านการขายของออนไลน์

ธุรกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ (E-Commerce) หรือการทำธุรกิจช่องทางออนไลน์เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยธุรกิจอี คอมเมิร์ซ โดยเฉพาะในไทยถึงโตมากที่สุดในอาเซียน เพราะคนไทยใช้เวลาไปกับอินเตอร์เน็ตมากที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลกและกิจกรรมที่ทำมากที่สุด 1 ใน 5 คือการช็อปปิ้งออนไลน์ นั่นส่งผลธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ เติบโตขึ้นจากเมื่อก่อนมากPlatform online สำเร็จรูป เช่น Shopee Lazada E-bay Amazon Facebook ทำให้ผู้ประกอบการเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายขึ้นจากหลากหลายช่องทาง