แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2561 – 2565)

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติถือเป็นแผนแม่บทยุทธศาสตร์ของชาติที่สำคัญมีผลผูกพันต่อการกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศของรัฐบาลในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งระยะเวลาใช้บังคับแผนฯ คือ 5 ปี นอกจากแผนฉบับแรกที่ใช้ชื่อว่าแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ (ไม่มี “และสังคม”) ใช้บังคับ 6 ปี ซึ่งฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2561 – 2565) ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้ (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2560) 1. กรอบแนวคิดและหลักการ ในช่วงของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2561 - 25645 ประเทศไทยจะยังคงประสบสภาวะแวดล้อมและบริบทของการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ…

Continue Readingแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2561 – 2565)

ร่างการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13

ในขณะที่เขียนเนื้อหาส่วนนี้อยู่ระหว่างกระบวนการจัดทำร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (2566 – 2570) เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้ต่อเนื่อง หลังจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ซึ่งจะสิ้นสุดระยะเวลาบังคับใช้ในปี พ.ศ. 2565 ซึ่งรัฐบาลโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธานได้เห็นชอบกรอบ “แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13” เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2564 ซึ่งมีรายละเอียดพอสังเขปดังนี้ กรอบยุทธศาสตร์หลักสำหรับร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ได้วางกรอบทิศทางการพัฒนาประเทศไทย มีจุดประสงค์ที่จะ “พลิกโฉมประเทศ” ให้เท่าทันและสอดคล้องกับพลวัตและบริบทของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป…

Continue Readingร่างการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13

แผนยุทธศาสตร์ชาติ

ยุทธศาสตร์ชาติ คือ เป้าหมายระยะยาวในการพัฒนาประเทศ เพื่อใช้เป็นกรอบในการกำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรีก่อนที่จะเข้ามาบริหารประเทศ และก่อนที่จะมีการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติและแผนระดับอื่นๆ รวมทั้งการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณของหน่วยงานภาครัฐด้วย (คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ, 2561) เหตุที่ได้มีการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ เพราะที่ผ่านมาประเทศไทยยังไม่เคยมีแผนการพัฒนาประเทศในระยะยาวที่ใช้เป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาประเทศ ขณะที่ในหลายประเทศที่พัฒนาแล้วให้ความสำคัญกับแผนระยะยาว เช่น ประเทศฝรั่งเศสที่ออกแบบแผนพัฒนาประเทศในระยะ 10 ปี หรือประเทศสิงคโปร์ที่วางยุทธศาสตร์ชาติเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะ 20 ปี ทั้งนี้เพื่อวางเป้าหมายร่วมกันในระยะยาวของประเทศและเพื่อเป็นกลไกเตรียมรับความท้าทายและสิ่งที่ต้องได้รับการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนเพื่อให้ภาคส่วนต่างๆ ใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนให้สอดคล้องและบูรณาการกัน ทั้งนี้สอดคล้องกับในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 65 ได้กำหนดให้รัฐจัดให้มียุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาลเพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนต่างๆ ให้สอดคล้องและบูรณาการกันเพื่อให้เกิดเป็นพลังผลักดันร่วมกันไปสู่เป้าหมายดังกล่าว…

Continue Readingแผนยุทธศาสตร์ชาติ