4 บทบาทของคณะกรรมการตรวจสอบในบริษัทจดทะเบียน

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

ตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ ทจ. 39/2559 คณะกรรมการบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จะแต่งตั้งอนุกรรมการชุดย่อยขึ้น เรียกว่า คณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งมีจำนวนอย่างน้อย 3 คน และต้องเป็นกรรมการอิสระทุกราย และมีความชำนาญหลากหลายเหมาะสมกับธุรกิจ เพื่อให้กรรมการทุกคนแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ ไม่ให้มีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดมีอำนาจเหนือการตัดสินใจของคณะกรรมการบริษัท โดยทั่วไปจำนวนคณะกรรมการตรวจสอบจะอยู่ระหว่าง 3 ถึง 5 ราย ขึ้นอยู่กับขอบเขตความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบในแต่ละบริษัท โดยคุณสมบัติของคณะกรรมการตรวจสอบ ได้แก่ 1 ถือหุ้นไม่เกิน 1% ของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิ์ของเสียงทั้งหมด โดยให้นับรวมหุ้นของผู้เกี่ยวข้องด้วย 2 ไม่เป็น หรือ ไม่เคยเป็นกรรมการ…

Continue Reading4 บทบาทของคณะกรรมการตรวจสอบในบริษัทจดทะเบียน

3 บทบาทของคณะกรรมการบริษัทจดทะเบียน

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

บทบาทประการสำคัญของคณะกรรมการบริษัทมหาชนที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือที่เรียกว่าบริษัทจดทะเบียน ได้แก่ การเป็นตัวแทนของผู้ถือหุ้นทั้งหมด ในการทำหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายและกลยุทธ์ที่สำคัญของกิจการ รวมถึงการดูแลฝ่ายจัดการว่าได้นำนโยบายและกลยุทธ์ไปปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหุ้นหรือไม่ โดยองค์ประกอบของคณะกรรมการบริษัทจดทะเบียน ได้แก่ 1 กรรมการที่มีส่วนร่วมในการบริหาร หมายถึง ผู้มีหน้าที่และรับผิดชอบในการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานประจำ หรือ มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท 2 กรรมการที่ไม่มีส่วนร่วมในการบริหาร ซึ่งมีทั้งกรรมการที่เป็นอิสระ และ กรรมการจากภายนอก โดยกรรมการอิสระ หมายถึง กรรมการที่เป็นอิสระจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้อง สามารถทำหน้าที่คุ้มครองผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นทุกรายได้อย่างเท่าเทียม ส่วนกรรมการจากภายนอก หมายถึง กรรมการที่เป็นอิสระจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือ ผู้บริหาร แต่อาจเป็นตัวแทนผู้ที่มีผลประโยชน์หรือผู้มีส่วนได้เสียกับบริษัท…

Continue Reading3 บทบาทของคณะกรรมการบริษัทจดทะเบียน

1 การปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อมุ่งสู่การเป็นบริษัทจดทะเบียน

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

บริษัทจำเป็นต้องมีการจัดโครงสร้างธุรกิจให้เป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีความชัดเจน มีการจัดโครงสร้างคณะกรรมการในฐานะตัวแทนของผู้ถือหุ้น ให้มีการถ่วงดุลอำนาจระหว่างกัน เพื่อประสิทธิภาพในการกำหนดนโยบาย ทิศทางธุรกิจ และการประเมินผลการดำเนินงานของฝ่ายจัดการ คำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสีย และเป็นประโยชน์สูงสุดของบริษัทอย่างสมดุลจากโครงสร้างธุรกิจเดิมที่ผู้บริหารมีความเกี่ยวข้องกัน เช่น ตนเองเป็น CEO ภรรยาเป็นผู้ควบคุมด้านการเงิน พี่ๆน้องๆเป็นผู้อำนวยการฝ่ายต่างๆ ต้องปรับเปลี่ยนให้โครงสร้างธุรกิจมีความชัดเจน ป้องกันการเอาเปรียบผู้ถือหุ้นรายย่อย มีการดำเนินงานที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ โดยมีประเด็นที่น่าสนใจ ได้แก่ 1 จัดโครงสร้างบริษัทที่ทำธุรกิจพึ่งพิงกัน (Business Value Chain) ให้อยู่ในกลุ่มเดียวกันก่อนเข้าตลาด ถ้ามีบริษัทของผู้ถือหุ้นใหญ่ที่ต้องซื้อขายสินค้า กับกลุ่มบริษัทในปริมาณที่สูงเป็นประจำ ควรต้องนำบริษัทเข้ามาอยู่ในกลุ่มบริษัทที่จะเข้าจดทะเบียน เช่น…

Continue Reading1 การปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อมุ่งสู่การเป็นบริษัทจดทะเบียน