ระบบคอนติเนนท์ (Continental System)

       การบริหารและการปกครองท้องถิ่นในระบบคอนติเนนท์ มีรากฐานและวิวัฒนาการมาจากประวัติศาสตร์การจัดการปกครองและการบริหารท้องถิ่นของฝรั่งเศส  ซึ่งเน้นหลักการรวมอำนาจและเอกภาพแห่งรัฐมาตั้งแต่อดีต  โดยถือว่ารัฐบาลมีอำนาจเต็มในการปกครองและบริหารประเทศ  การปกครองและการบริหารท้องถิ่นเกิดจากการกระจายอำนาจของรัฐบาล  โดยรัฐบาลมอบหมายอำนาจบางประการให้แก่ท้องถิ่น  ท้องถิ่นจะมีอำนาจปกครองตนเองและมีความเป็นอิสระมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลเป็นสำคัญ การปกครองท้องถิ่นในระบบคอนติเนนท์  รัฐบาลซึ่งเป็นผู้กระจายอำนาจให้ท้องถิ่น จะเป็นผู้กำหนดรูปแบบ โครงสร้าง ขนาด ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของท้องถิ่น ตลอดจนระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องเป็นส่วนใหญ่  การจัดระเบียบการปกครองและบริหารท้องถิ่นค่อนข้างจะเป็นระบบที่ชัดเจน  มีความเป็นเอกรูป (uniformity) คือ จัดแบบเดียวกันทั่วทั้งประเทศ ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมความเป็นเอกภาพของประเทศ ในระบบคอนติเนนท์ดั้งเดิม  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับรัฐบาล  ทั้งนี้ ประเทศที่ใช้ระบบคอนติเนนท์มักจะมีการใช้อำนาจบริหารโดยการรวมอำนาจ แบ่งอำนาจ และกระจายอำนาจไปพร้อมๆ กัน  องค์กรของรัฐที่เกิดจากการแบ่งอำนาจ อันได้แก่…

Continue Readingระบบคอนติเนนท์ (Continental System)

Anglo-Saxon System

ระบบแองโกล-แซกซอน มีรากฐานและวิวัฒนาการมาจากประวัติศาสตร์การจัดการปกครองและการบริหารท้องถิ่นอันยาวนานของอังกฤษ ซึ่งถือว่าการปกครองท้องถิ่นเกิดขึ้นก่อนที่จะมีการรวมตัวกันเป็นชาติ และประเทศอังกฤษเกิดจากการรวมตัวกันของท้องถิ่นต่างๆ โดยท้องถิ่นยังคงสงวนอำนาจบางประการของท้องถิ่นไว้ ดังนั้น ท้องถิ่นจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง การปกครองท้องถิ่นในระบบแองโกล-แซกซอน เป็นแบบอย่างของการปกครองที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองและบริหารท้องถิ่นของตนอย่างกว้างขวาง แต่ละท้องถิ่นมีอำนาจปกครองตนเองและมีความเป็นอิสระ มีรูปแบบและวิธีการในการดำเนินการปกครองและบริหารตามแบบอย่างของตนเอง ตามจารีตประเพณีของท้องถิ่นซึ่งถือปฏิบัติสืบต่อกันมา จะเห็นได้จากการเรียกชื่อท้องถิ่นในระดับเดียวกันแตกต่างกัน เช่น ท้องถิ่นระดับดิสทริคท์ (District) บางแห่งเรียกว่า ดิสทริคท์ บางแห่งเรียกว่า เบอเรอะ (Borough) บางแห่งเรียกว่า ซิตี้ (City) หรือท้องถิ่นระดับแพริช (Parish) บางแห่งเรียกว่า ทาวน์ (Town) บางแห่งเรียกว่าคอมมิวนิตี…

Continue ReadingAnglo-Saxon System

ทฤษฎีที่ใช้อธิบายผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้น IPO (1)

รองศาสตราจารย์ ดร.กัลยานี ภาคอัต             ทฤษฎีที่นำมาใช้ในการธิบายผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้น IPO หรือผลตอบแทนวันแรกนี้  มีความแตกต่างจากทฤษฎีหรือแบบจำลองที่ใช้ในการวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ เช่น Capital Asset Pricing Model (CAPM)  เนื่องจากประเด็นสำคัญคือ  การลงทุนในหุ้น IPO เป็นการลงทุนในหุ้นที่เสนอขายครั้งแรก  มิใช่หุ้นที่มีการซื้อขายเป็นปกติในตลาดหลักทรัพย์  ดังนั้น แนวคิดของทฤษฎีน่าจะเกี่ยวข้องกับการตั้งราคาเสนอขายของหุ้น IPO ดังนั้น แบบจำลองดังเช่น CAPM  จึงไม่สามารถอธิบายผลตอบแทนที่ผิดปกติได้             เมื่อกล่าวถึงผลตอบแทนที่สูงผิดปกติของการลงทุนในหุ้น IPO จากการศึกษาของ…

Continue Readingทฤษฎีที่ใช้อธิบายผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้น IPO (1)