การบริหารขององค์การชั้นนำสู่ห่วงโซ่อุปทานสีเขียวเต็มตัว

ปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นภาวะโลกร้อน ฝุ่น PM 2.5 หรือการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตและผู้จัดจำหน่ายสินค้าในกระบวนการต่างๆ ล้วนแต่เป็นที่มาสำคัญในการสร้างมลภาวะให้กับโลกใบนี้ ส่งผลให้สังคมออกมาเรียกร้องความรับผิดชอบจากทั้งผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายเหล่านั้นโดยมักนำเรื่องดังกล่าวมาใช้ประกอบในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการ ในขณะเดียวกันคู่ค้าจากหลายประเทศก็ได้เรียกร้องให้ผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายเหล่านั้นปฏิบัติตามมาตรฐานสากลว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเช่นกัน ด้วยเหตุนี้หลายองค์การจึงตระหนักถึงศักยภาพด้านโอกาสและความเสี่ยงจากการจัดการห่วงโซ่อุปทานในตลาดโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากระบบดั้งเดิมเป็นระบบการจัดการสมัยใหม่ที่มีแบบแผนพฤติกรรม บทบาทลูกค้าที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้น มีนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ถูกนํามาใช้ การแลกเปลี่ยนความรู้และข่าวสารกันอย่างรวดเร็วจากสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งจะนําไปสู่ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการดําเนินธุรกิจคือ การลดต้นทุน การเพิ่มมูลค่า การสร้างสรรค์นวัตกรรม และการส่งเสริมการตลาด องค์การจึงได้นําแนวปฏิบัติการพัฒนาอย่างยั่งยืนและอุดมการณ์ในการดําเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรมภายใต้หลักบรรษัทภิบาลมาใช้เป็นกลไกและกลยุทธ์ในการพัฒนาการจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนภายใต้แนวคิดห่วงโซ่อุปทานเพื่อสิ่งแวดล้อม (Green Supply Chain) คือ การบริหารในมิติที่เกี่ยวกับการลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรมโลจิสติกส์ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่แหล่งที่มาและกระบวนการจัดหาวัตถุดิบ การออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการ กระบวนการผลิต การจัดการสินค้าคงคลัง การบริหารคลังสินค้า กระบวนการขนส่งทั้งภายในและภายนอกองค์การ…

Continue Readingการบริหารขององค์การชั้นนำสู่ห่วงโซ่อุปทานสีเขียวเต็มตัว

การประเมินสถานการณ์ขนส่งทางทะเล สำหรับปี พ.ศ.2564

หากย้อนไปดูการขนส่งระหว่างประเทศทางตู้คอนเทนเนอร์ทางทะเล จุดเริ่มต้นก็เกิดจากโควิดทำให้เกิดความไม่สมดุลของการนำเข้า-ส่งออกของหลายๆ ประเทศ โดยเฉพาะประเทศผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุดของโลกอย่างสหรัฐอเมริกา ที่ผู้ส่งออกส่วนใหญ่คือสินค้าเกษตรได้น้อยลง และยังได้รับผลกระทบอย่างหนักจากคนงานบางส่วนติดโควิด ทำให้การเคลียร์สินค้าออกจากท่าเรือทำได้ช้ากว่าปกติมากๆ กลายเป็นตู้เรือสินค้าค้างอยู่กลางทะเลเลยไม่สามารถหมุนเวียนตู้กลับมาทางฝั่งเอเชียได้ เช่น ท่าเรือในลอสแองเจลลิส สหรัฐฯ มีเรือสินค้ามากกว่า 30 ลำ และมีตู้สินค้ารออยู่กว่า 300,000 TEU ที่รอคอยโหลดของอยู่ โดยปัญหาก็คือ ตัวเลขสัปดาห์ที่แล้ว คนงานที่ท่าเรือติดโควิดไป 700 กว่าคน จากแรงงานทั้งหมด 9,000 คน ต้องรอกันไป 10-14 วัน แต่หากมองย้อนกลับไปเมื่อ…

Continue Readingการประเมินสถานการณ์ขนส่งทางทะเล สำหรับปี พ.ศ.2564

มอเตอร์เวย์บางปะอิน-โคราช ทางหลวงพิเศษหมายเลข 6

โครงการมอเตอร์เวย์บางปะอิน–นครราชสีมา กำลังจะเปิดให้บริการในปี พ.ศ.2564 นั้นจะทำให้ประชาชนได้รับความสะดวกรวดเร็วในการเดินทาง จากกรุงเทพฯ ไปนครราชสีมาสะดวกขึ้นโดยใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง โครงการมอเตอร์เวย์บางปะอิน–นครราชสีมาซึ่งเป็นเส้นทางมอเตอร์เวย์ลำดับที่ 3 ของประเทศและเส้นทางแรกของภาคอีสาน เส้นทางสายบางปะอิน – สระบุรี – นครราชสีมา นี้มีระยะทาง 196 กิโลเมตร ขนาด 4 และ 6 ช่องจราจร มีการควบคุมการเข้าออกตลอดเส้นทาง แนวเส้นทางเริ่มต้นที่จุดเชื่อมต่อบริเวณทางแยกต่างระดับบางปะอินขนานไปกับเส้นทางใหม่ถนนพหลโยธินและถนนมิตรภาพ มีจุดสิ้นสุดบรรจบกับทางเลี่ยงเมืองนครราชสีมา ด่านเก็บค่าผ่านทางจะมีทั้งหมด 9 ด่านประกอบด้วย…

Continue Readingมอเตอร์เวย์บางปะอิน-โคราช ทางหลวงพิเศษหมายเลข 6