ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

Daniel (1961, pp. 111-121) ใช้ปัจจัยแห่งความสำเร็จเป็นเครื่องมือในการจัดการด้านธุรกิจภายใต้วิกฤติโดยเขียนลงในบทความเรื่อง “Management Information Crisis” ตีพิมพ์ในวารสาร Harvard Business Review ในปี 1961 ซึ่งถือเป็นนักวิชาการคนแรกที่เสนอแนวคิดเกี่ยวกับปัจจัยแห่งความสำเร็จ (CSFs) จากการวิเคราะห์ธุรกิจได้ชี้ว่า การมีข่าวสารข้อมูลมากเกินไปโดยปราศจากการเน้นปัจจัยสำคัญ จะทำให้ฝ่ายจัดการเสียเวลาในการวิเคราะห์และผลที่ได้ยังนำไปสู่ข้อสรุปทางการตลาดที่ผิดพลาดอีกด้วย และในที่สุดก็จะนำไปสู่การลดขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์การ การลดภาระจากการรวบรวม วิเคราะห์ และตัดสินใจ ทางธุรกิจบนข้อมูลต่างๆ ทำให้ Daniel ได้กำหนดปัจจัยสำคัญที่จำเป็นเพื่อมากำหนดว่า ปัจจัยแห่งความสำเร็จของธุรกิจปัจจัยใดบ้างที่อยู่ในการควบคุมขององค์กรและปัจจัยใดเป็นปัจจัยภายนอก ซึ่งจำเป็นที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือภาครัฐต้องสร้างความร่วมมือระหว่างสมาชิกของธุรกิจในการแก้ไขปัญหาให้ลุล่วงไปได้ Daniel…

Continue Readingปัจจัยแห่งความสำเร็จ

อุตสาหกรรมไทย 4.0

การที่จะทำให้ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ถูกนำไปดำเนินการในภาคอุตสาหกรรมอย่างเป็นรูปธรรมและจริงจัง รัฐบาลจึงมอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมเป็นเจ้าภาพในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ดังกล่าวผ่านกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยกำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมายที่จะพัฒนาเป็นลำดับแรก 4 สาขา ได้แก่ 1. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 2. อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่และชิ้นส่วน 3. อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร และ 4. อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ซึ่งอุตสาหกรรมทั้ง 4 สาขาถือเป็นอุตสาหกรรมนำร่องในการนำยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 มาใช้เป็น 4 สาขาแรกของประเทศไทย หนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่จะพัฒนาเป็นลำดับแรก 4 สาขาข้างต้น คือ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ซึ่งนับว่าเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญของไทย…

Continue Readingอุตสาหกรรมไทย 4.0

ประเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0)

ในปี 2558 ภายใต้การบริหารประเทศของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ริเริ่มนโยบายการปฏิรูปขึ้นในหลายๆ ด้าน นโยบายที่ได้รับความสนใจและถือเป็นหนึ่งในนโยบายหลักของรัฐบาลนี้คือ นโยบาย “ประเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0)” ซึ่งเป็นโมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภายใต้วิสัยทัศน์ “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” ตามแนวคิดเรื่องอุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) จากประเทศเยอรมนี ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาระบบการผลิตอัจฉริยะ โดยใช้ระบบอัตโนมัติและใช้ระบบไร้สายในการควบคุมการผลิตทั้งหมด ปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ “Value–Based Economy” หรือ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม”…

Continue Readingประเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0)