หลักการของระบบการผลิตแบบลีน

จากการพัฒนาของการผลิตในยุคต่างๆ จะเห็นว่าการผลิตแต่ละรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการผลิตแบบช่างฝีมือหรือการผลิตแบบจำนวนมากนั้น ต่างก็มีความเหมาะสมในแต่ละยุคของการผลิตนั้นๆ การผลิตแบบลีนได้รับพัฒนาขึ้นจากการรวบรวมข้อดีของแต่ละยุคการผลิตแล้วนำมาปรับให้เข้ากับสภาวการณ์การผลิตในปัจจุบัน นั่นคือ ลักษณะที่ดีของการผลิตแบบช่างฝีมือคือการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสูง (high quality) และสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างเฉพาะเจาะจงและสินค้ามีรูปแบบเฉพาะ (individualized and custom-made) และลักษณะที่ดีของการผลิตแบบจำนวนมากคือการผลิตในปริมาณมากเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าส่วนใหญ่ ณ ระดับราคาต่ำ โดยระบบการผลิตแบบลีนมีหลักการสำคัญ 5 ประการ คือ                 (1) คุณภาพตั้งแต่เริ่มต้น (First-time quality) โดยมุ่งลดของเสียจากกระบวนการผลิต โดยการตรวจสอบคุณภาพด้วยตนเองของผู้ปฏิบัติงานในทุกกระบวนการผลิต โดยผู้ปฏิบัติงานจะเป็นผู้ตรวจสอบงานของตน และหากพบข้อบกพร่องหรือสิ่งผิดปกติอันอาจจะนำไปสู่ปัญหาในการผลิตก็จะทำการหาสาเหตุเพื่อทำการแก้ไขอย่างทันที ณ จุดปฏิบัติงาน…

Continue Readingหลักการของระบบการผลิตแบบลีน

Preparing to competition era with Lean Production

ปัจจุบันสภาพแวดล้อมทางธุรกิจได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก มีการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น มีทางเลือกของสินค้าที่หลากหลาย และลูกค้ามีความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าและองค์การธุรกิจ ทำให้ลูกค้ามีบทบาทที่สำคัญต่อความอยู่รอดของธุรกิจ ลูกค้าเป็นผู้กำหนดความต้องการซึ่งผู้ผลิตที่สามารถออกแบบและวางแผนการผลิตให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดีที่สุดจะเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินการธุรกิจ จากการที่ปัจจุบันทางเลือกของสินค้ามีมากขึ้น ดังนั้นลูกค้าจึงแสวงหาสินค้าที่ดีที่สุดสำหรับตนเองทั้งในด้านคุณภาพ บริการและการส่งมอบ ทำให้ผู้ผลิตจะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าทั้งในด้านผลิตภาพ คุณภาพ และต้นทุนการผลิต และระบบการผลิตที่ได้รับการพัฒนามาเพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการดังกล่าวที่จะได้กล่าวถึงในเรื่องนี้ก็คือระบบการผลิตแบบลีน (Lean Production System) นั่นเองระบบการผลิตแบบลีนได้รับการพัฒนาขึ้นจากสาเหตุต่างๆ หลายประการ ได้แก่ (1) มุมมองทางเศรษฐศาสตร์ที่เปลี่ยนแปลงไป(2) การแข่งขันที่สูงขึ้นและทรัพยากรการผลิตมีราคาแพงขึ้น (3) ความคิดเชิงระบบ ระบบการผลิตแบบลีนจึงเป็นระบบที่ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงแนวคิดทางการผลิตต่างๆ ดังกล่าว

Continue ReadingPreparing to competition era with Lean Production

การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมของประเทศ

กระทรวงอุตสาหกรรม (2559, น. 7-15) การพัฒนาประเทศให้หลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลาง แล้วก้าวไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูงนั้น จำเป็นต้องมีการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอันเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิต และเป็นอุตสาหกรรมที่มีการพัฒนาในด้านความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมต่างๆ โดยปกติแล้วเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ จะมีวงจรชีวิตของนวัตกรรม (Innovation Lifecycle) ซึ่งอธิบายได้ด้วยกราฟเส้นโค้งรูปตัวเอส หรือ S-curve โดยเป็นกราฟแสดงการเติบโตของ เทคโนโลยี ที่ใช้อธิบายถึงประสิทธิภาพและความประหยัดต้นทุนของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลาที่ผ่านไป ในระยะแรกที่เทคโนโลยีเพิ่งได้รับการคิดค้นขึ้นมาใหม่นั้น เทคโนโลยีดังกล่าวยังต้องการการ ปรับปรุงประสิทธิภาพหลายอย่างซึ่งต้องใช้ทั้งเงินลงทุนและเวลา เมื่อพัฒนาต่อไป ประสิทธิภาพของเทคโนโลยีก็จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนถึงจุดที่เทคโนโลยีเริ่มมีการอิ่มตัว ซึ่งองค์กรต้องแสวงหานวัตกรรม เทคโนโลยีใหม่ หรือ S-curve…

Continue Readingการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมของประเทศ